การชำระภาษีรถยนต์ประจำปี หรือ การต่อภาษีรถยนต์ประจำปี นั้น เป็นหน้าที่ของเจ้าของรถที่ต้องดำเนินการเป็นประจำทุกปี ซึ่งหากรถยนต์ที่ใช้อยู่นั้นยังมีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี หรือรถจักรยานยนต์มีอายุการใช้งานไม่เกิน 5 ปี เจ้าของรถสามารถ ชำระภาษีรถประจำปีผ่านระบบออนไลน์ ของ กรมการขนส่งทางบก ได้ทันที ส่วนรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ที่มีอายุใช้งานนานกว่า 7 ปี สามารถยื่นชำระผ่านช่องทางออนไลน์ได้เช่นกัน แต่ต้องเจ้าของต้องนำรถไป “ตรวจสภาพรถ” จากสถานตรวจสภาพรถ (ตรอ.) ก่อน จึงจะสามารถชำระภาษีรถประจำปีออนไลน์ได้ ทั้งที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th หรือผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
ส่วน การต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ผ่านแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax สามารถดาวน์โหลดแอปฯ เพื่อทำการต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ โดยดาวน์โหลดได้ทั้ง Android (Google Play Store) และ IOS (App Store) จากนั้น ก็ดำเนินการตามกระบวนการในแอปพลิเคชัน
ถ้าหากเจ้าของรถกดคลิกเข้าไปที่เว็บไซต์ https://eservice.dlt.go.th จะพบประกาศกรมการขนส่งทางบกว่า ตั้งแต่วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป ระบบยื่นต่อภาษีรถยนต์ประจำปีของกรมการขนส่งทางบก จะเชื่อมต่อกับระบบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เพื่อตรวจสอบรถที่ค้างชำระค่าปรับใบสั่งจราจร ดังนั้น หากประสงค์จะชำระภาษีรถยนต์ประจำปีผ่านระบบออนไลน์ ก็จะต้องชำระค่าภาษีประจำปี พร้อมค่าปรับใบสั่งจราจรที่ค้างชำระอยู่ (ถ้ามี) ซึ่งถ้าจำไม่ได้ว่า มีค้างค่าปรับใบสั่งหรือไม่ ก็สามารถตรวจสอบค่าปรับใบสั่งจราจรที่ค้างชำระได้ที่เว็บไซต์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ https://ptm.police.go.th/eTicket/#/
การต่อภาษีรถยนต์สามารถดำเนินการและชำระเงินได้ที่ กรมการขนส่งทางบก แต่ในปัจจุบัน ยังมีช่องทางอื่นๆ ในการดำเนินการที่หลากหลายมากขึ้น เพื่อมอบความสะดวกสบายและช่วยเพิ่มความรวดเร็วให้กับผู้ใช้งาน ซึ่งนอกจากทางออนไลน์และแอปพลิเคชันดังกล่าวมาแล้ว ยังสามารถเลือกดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ได้ตามช่องทางต่างๆ ดังนี้
การคิดอัตราภาษีรถยนต์ มีดังนี้
1. ค่าใช้จ่ายต่อภาษีรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ไม่เกิน 7 คน เช่น รถเก๋งทั่วไป หรือ กระบะ 4 ประตู
รถยนต์ที่มีป้ายทะเบียนพื้นขาวตัวหนังสือดำ เป็นรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง มีการคำนวณภาษีรถขึ้นอยู่กับขนาดของเครื่องยนต์ โดยมีอัตราภาษีรถยนต์ต่อ cc ดังนี้
2.ค่าใช้จ่ายต่อภาษีรถเก่าจะมีค่าลดหย่อนภาษีรถยนต์ ดังนี้
3.ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเมื่อใช้ระบบต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์
สำหรับรถยนต์ ขึ้นอยู่กับประเภทรถ (ไม่รวมVAT 7%) ดังนี้