"Nissan" เดินหน้าผลิตแบตเตอรี่ "Solid-State" สำหรับรถ EV ใน 5 ปี

17 เม.ย. 2567 | 06:36 น.
อัปเดตล่าสุด :17 เม.ย. 2567 | 07:06 น.

"Nissan" เดิมพันใหม่ เดินหน้าผลิตแบตเตอรี่โซลิดสเตตสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า เสริมการใช้เครื่องหล่อ Gigacasting เพิ่มประสิทธิภาพ-ลดต้นทุน เล็งจับมือ "Honda" รุกคู่แข่ง EV

นิสสัน มอเตอร์ (Nissan Motor) แบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ยักษ์ใหญ่ของญี่ปุ่น ประกาศเมื่อวันที่ 16 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ว่าจะเริ่มเดินหน้าแผนผลิต แบตเตอรี่โซลิดสเตต (Solid-State Battery) สำหรับยานยนต์ไฟฟ้าในวงกว้างภายในต้นปี 2572 หรืออีก 5 ปีนับจากนี้ และจะมีการใช้เครื่องหล่อขนาดใหญ่ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและลดต้นทุนสำหรับโมเดลรุ่นอนาคต

โดยถือเป็นการวางเดิมพันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีของนิสสัน เพื่อป้องกันการแข่งขันที่รุนแรงจากผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้า EV คู่แข่ง อย่าง Tesla ของสหรัฐฯ และ BYD ของจีน ที่ได้กรุยทางด้านการผลิตยานยนต์ที่ใช้พลังงานจากแบตเตอรี่แซงหน้าไปแล้ว

แบตเตอรี่โซลิดสเตต (Solid-State Battery) คือ เทคโนโลยีแบตเตอรี่ที่ใช้อิเล็กโทรไลต์ (Electrolytes) ในรูปของแข็ง ซึ่งมีความปลอดภัยสูง เนื่องจากโอกาสติดไฟต่ำ มีเสถียรภาพ และมีความหนาแน่นของพลังงานสูง รวมถึงมีประสิทธิภาพในการกักเก็บพลังงานที่เหนือกว่า แบตเตอรี่ลิเธียมไอออน และมีคุณสมบัติการชาร์จไฟได้อย่างรวดเร็ว 

หลัง นิสสัน ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่อันดับ 3 ของญี่ปุ่นได้พิจารณาตามคุณค่า (Volume) จากการเดินหน้าแผนพัฒนาในครั้งนี้ จะมีการเริ่มทำการทดสอบต้นแบบและพัฒนาแบตเตอรี่โซลิดสเตต (Solid-State Battery) ที่โรงงานนำร่องที่ตั้งอยู่ในเมืองโยโกฮาม่า ประเทศญี่ปุ่น ทว่า ยังคงอยู่ในกระบวนการก่อสร้างให้แล้วเสร็จ ก่อนที่จะเพิ่มกำลังการผลิต แบตเตอรี่โซลิดสเตตที่คาดว่าจะชาร์จพลังงานได้เร็วกว่า และมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่าแบตเตอรี่ทั่วไป

ทั้งนี้ นิสสันคาดว่าจะผลิตแบตเตอรี่โซลิดสเตตแห่งแรกที่ไซต์งาน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ปี 2568 และวางแผนจะใช้พนักงานจำนวน 100 คนต่อกะ เพื่อเพิ่มปริมาณการผลิตเป็น 100 เมกะวัตต์ชั่วโมงต่อเดือน ตั้งแต่ปีงบประมาณที่จะเริ่มในเดือนเมษายน ปี 2571

นอกจากนี้ นิสสันจะใช้เครื่องจักรแบบ Heavy-Force Machines ที่มีกำลังเดินเครื่องหนักในการผลิตพื้นด้านหลังของรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่มีแผนจะออกจำหน่ายตั้งแต่ปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นกระบวนการที่จะลดต้นทุนการผลิตลง 10% และลดสัดส่วนน้ำหนักของส่วนประกอบต่างๆ ลง 20% โดย โทชิงิ ฮิเดยูกิ ซากาโมโตะ รองประธานบริหารฝ่ายการผลิตและการจัดการด้านซัพพลายเชน (Supply Chain) เผยว่า นิสสันจะใช้แผ่นหล่อชนิดเดียวกับที่ใช้สำหรับผลิตชิ้นส่วนโครงสร้างของเครื่องปรับอากาศด้านหน้ามานานกว่า 15 ปี จากโรงงานในเมืองโทชิงิ 

เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับการผลิตตัวถังรถยนต์ในหลากหลายด้าน จึงตัดสินใจจะใช้เครื่อง Gigacasting ขนาด 6,000 ตัน สำหรับหล่อโครงสร้างตัวถัง EV ด้วยการหล่ออะลูมิเนียม โดยนิสสันวางแผนที่จะเปิดตัวรถยนต์รุ่นใหม่จำนวน 30 รุ่นภายใน 3 ปีข้างหน้า และจะมีรถยนต์ที่ใช้ระบบไฟฟ้า 16 คัน ซึ่งจะรวมไปถึงรถยนต์ที่ใช้แบตเตอรี่ทั้งหมด 8 คัน และรถยนต์ปลั๊กอินไฮบริด 4 คัน

ในฐานะผู้ผลิตรถยนต์ที่เป็นผู้บุกเบิกด้านรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่ง Nissan Leaf ใช้พลังงานแบตเตอรี่ในการขับเคลื่อนทั้งหมด กำลังพยายามที่จะลดต้นทุนด้านการผลิตของรถยนต์รุ่นต่อไปลง 30% เพื่อให้เทียบเคียงได้กับรุ่นเครื่องยนต์สันดาปภายใน ภายในปี 2573 

ทั้งนี้ นิสสัน มอเตอร์ (Nissan Motor) กำลังพิจารณาความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับคู่แข่งในประเทศรายใหญ่ อย่าง ฮอนด้า มอเตอร์ (Honda Motor) เพื่อให้เกิดการทำงานร่วมกันในการสร้างส่วนประกอบสำคัญสำหรับ EV และปัญญาประดิษฐ์ AI ในแพลตฟอร์มซอฟต์แวร์ยานยนต์เพิ่มเติมอีกด้วย

 

ที่มา : สำนักข่าวรอยเตอร์ (Reuters)