กลุ่มเสี่ยง
- ติดตามพยากรณ์อากาศ
- ดื่มน้ำสะอาดบ่อย 1 ไม่ต้องรอให้กระหาย
- สำหรับเด็ก 0-6 เดือน ดื่มน้ำนมแม่อย่างเดียวก็เพียงพอ)
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ ชา กาแฟ และเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง
- งดการทำกิจกรรมกลางแจ้ง ในช่วงที่มีอากาศร้อนจัด
- ควรอยู่ในสถานที่ที่มีเครื่องปรับอากาศ หากไม่มีเครื่องปรับอากาศ แนะนำใช้พัดลม เปิดแบบส่าย เพื่อระบายอากาศที่ร้อน
- สวมเสื้อผ้าสีอ่อน หลวม มีน้ำหนักเบา และระบายอากาศได้ดี
- ผู้มีโรคประจำตัว ควรเตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อม ระมัดระวังการกินยาบางชนิดที่อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและเกลือแร่ได้ง่ายขึ้น
- สังเกตอาการผิดปกติของตนเอง หากมีอาการผิดปกติให้รีบแจ้งผู้ดูแลและรีบไปพบแพทย์
- ห้ามปล่อยให้ทารกและเด็กเล็กอยู่ในรถที่จอดตากแดดตามลำพังโดยเด็ดขาด
- หากมีเหตุฉุกเฉินให้รีบติดต่อสถานพยาบาลที่ใกล้ที่สุด หรือติดต่อสายด่วน 1669
รู้จัก ดัชนีความร้อน
ดัชนีความร้อน หรือ Heat Index คือ อุณหภูมิที่รู้สึกได้ในขณะนั้น (Apparent Temperature) โดยนำเอาค่าอุณหภูมิของอากาศที่ตรวจวัดได้จริงและความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศมาทำการวิเคราะห์หาค่าที่เป็นตัวแทนของอุณหภูมิที่คนเรารู้สึกได้ในสภาวะอากาศขณะนั้น
ค่าดัชนีความร้อน ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ แบ่งได้เป็น 4 ระดับ ดังนี้
- เฝ้าระวัง : 27-32.9 องศาเซลเซียส (สีเขียว) ทำให้อ่อนเพลียวิงเวียน คลื่นไส้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามตัวจากการสัมผัสความ ออกกำลังกาย หรือการใช้แรงงานกลางแจ้งท่ามกลางอากาศร้อน
- เตือนภัย : 33-41.9 องศาเซลเซียส (สีเหลือง) เกิดภาวะตะคริวจากความร้อน และเกิดอาการเพลียแดด หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
- อันตราย : 42-51.9 องศาเซลเซียส (สีส้ม) มีอาการตะคริวที่น่อง ต้นขา หน้าท้อง หรือไหล่ ทำให้ปวดเกร็ง มีอาการเพลียแดด และอาจเกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก หากสัมผัสความร้อนเป็นเวลานาน
- อันตรายมาก : มากกว่า 52 องศาเซลเซียส (สีแดง) เกิดภาวะลมแดด หรือ ฮีทสโตรก