ในบางพื้นที่ของประเทศไทยเกิดปัญหาการระบาดของปลาหมอสีคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ปลาหมอสีคางดำเป็นปลาที่ถูกนำเข้ามาเพื่อเลี้ยงในตู้ปลาสวยงาม แต่ด้วยเหตุผลบางประการ ปลาชนิดนี้ได้หลุดออกไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติและเริ่มมีการขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว
การระบาดของปลาหมอสีคางดำในแหล่งน้ำธรรมชาติมีผลกระทบที่สำคัญดังนี้:
การจัดการปัญหานี้จำเป็นต้องมีการร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและชุมชนในพื้นที่ในการควบคุมและกำจัดปลาหมอสีคางดำจากแหล่งน้ำธรรมชาติ รวมถึงการให้ความรู้และการตระหนักถึงความสำคัญของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางน้ำ
แต่มีบางคนถามว่า "ปลาหมอสีคางดำ" กินได้ไหม คำตอบคือ "สามารถกินได้" แต่ไม่ได้เป็นปลาที่นิยมรับประทาน เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงเพื่อความสวยงามมากกว่าที่จะนำมาบริโภค
นอกจากนี้ เนื้อปลาหมอสีคางดำอาจมีรสชาติและเนื้อสัมผัสที่ไม่เป็นที่นิยมเหมือนกับปลาชนิดอื่นที่นิยมรับประทาน
หากต้องการนำปลาหมอสีคางดำมารับประทาน ควรพิจารณาปัจจัยดังนี้:
สพ.ญ.วรรณา ศิริมานะพงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์คลินิกและการสาธารณสุข คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยถึงแนวทาง แนวทางในการแก้ปัญหา การแพร่ระบาดสัตว์น้ำต่างถิ่นต้องมีการศึกษาวิจัย วางแผนจัดการแบบองค์รวม ในฐานะนักวิชาการแบ่งเป็น 3 ระยะ
การกำจัดจะเกิดปัญหาหรือไม่ ไกลกว่าพื้นที่ที่ทดลอง ในส่วนการทดลองหรือการทำวิจัย มีข้อจำกัดว่าเป็นปลาที่นำเข้ามา ถ้าทดลองเสร็จแล้วต้องมีการแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึงผลสำเร็จ ทั้งนี้คาดว่ามาตรการของรัฐบาลก็มีความหละหลวมบางอย่างในการติดตามของสัตว์เอเลียนสปีชีส์ในเรื่องของการนำเข้า ซึ่งถ้าไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์เช่นนี้เกิดขึ้นต้องเพิ่มมาตรการทางภาครัฐเข้ามาเกี่ยวข้องติดตามการนำเข้าของสัตว์ต่างถิ่น ทั้งสัตว์น้ำและสัตว์ชนิดอื่นๆ ด้วย เพื่อให้เกิดการภาวะของระบบนิเวศที่จะสูญเสียระบบสมดุลไปมากกว่านี้
สิ่งที่เกิดขึ้นที่ส่งผลต่อระบบนิเวศ มีวิธีป้องกันได้ระดับหนึ่ง การเตรียมน้ำเพาะเลี้ยง ต้องฆ่าสิ่งที่ไม่ต้องการ โดยวิธีธรรมชาติก็จะมีวิธีการจัดการโดยวิธีการพักบ่อ ตากบ่อ กรองน้ำ หรือใช้สารบางอย่างช่วยในการจัดการปรสิต หรือตัวปลาอื่นๆที่ไม่เกี่ยวกับที่เพาะในบ่อเลี้ยง
แต่ถ้าแหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่ได้มีการกรองน้ำ ไม่ได้มีการพักน้ำ หรือใช้สารในการจัดการ เมื่อปลาพวกนี้โตไวกว่า ก็จะกินสัตว์ที่เลี้ยงได้
เกษตรกรในบางพื้นที่ ทั้งกินและกำจัดควบคู่กันไป หรือการหาปลานักล่ามาปล่อย แต่ทำให้ต้นทุนที่สูงขึ้น
ทั้งนี้การปล่อยปลานักล่า ได้รับการส่งเสริมระดับหนึ่ง แต่ปลานักล่าก็จะกินสัตว์ในบ่อด้วยเช่นกัน ซึ่งต้องมีอัตราส่วนที่ที่เหมาะสมกัน ยังไม่มีใครบอกได้ว่าจุดที่เหมาะสมยังไม่ยืนยันว่าควรจะเป็นสัดส่วนเท่าไหร่
ระยะยาว ต้องวางนโยบาย ระดมความคิด หน่วยงานหลายๆส่วนมาร่วมมือช่วยกัน การสร้างสมดุลที่สุดคือ อย่างน้อยแม้จะจบออกไปไม่หมด แต่จำกัดให้อยู่ในวงแคบได้ หรือสามารถที่จะทำให้เกิดมูลค่าได้ในเศรษฐกิจได้