วันที่ 9 ตุลาคม 2567 กรมชลประทาน รายงานสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยา เวลา 07.00 น. (คลิกดูสถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยาแบบเรียลไทม์ ที่นี่)
ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนเจ้าพระยา บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ลุ่มต่ำนอกคันกั้นน้ำ ระดับน้ำทรงตัว บริเวณ
ส่วนที่สถานี C.29A อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา มีปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลี่ย 1,791 ลบ.ม./วินาที (ไม่ส่งผลกระทบต่อกรุงเทพฯและปริมณฑล แต่ต้องเฝ้าระวังน้ำทะเลหนุนสูงในระยะนี้)
หากระดับน้ำทางตอนบนเพิ่มสูงขึ้น และจะส่งผลให้มีปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเพิ่มมากขึ้น จะแจ้งให้ทราบเป็นระยะๆ ต่อไป
ด้านสถานการณ์น้ำอ่างเก็บน้ำในภาพรวม ข้อมูลปัจจุบันปริมาณน้ำรวม 78% ของความจุเก็บกัก (62,728 ล้าน ลบ.ม.) ปริมาณน้ำใช้การ 66% (38,538 ล้าน ลบ.ม.)
ขณะที่สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้ประกาศให้ 7 จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และสมุทรสงครามเฝ้าระวัง น้ำทะเลหนุนสูง ช่วงวันที่ 13 – 24 ตุลาคม 2567
เนื่องจากอิทธิพลของน้ำทะเลหนุนสูง ประกอบกับมวลน้ำหลากจากตอนบนของลุ่มน้ำไหลลงมาสมทบส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำเพิ่มสูงขึ้น เสี่ยงน้ำท่วมบริเวณพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน และแม่น้ำแม่กลอง ชุมชนนอกแนวคันกั้นน้ำและแนวเขื่อนชั่วคราวบริเวณที่ไม่มีแนวป้องกันน้ำถาวร (แนวฟันหลอ)
ที่มาข้อมูล-ภาพ