เตือนพื้นที่เสี่ยงภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้รับมือน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง

08 ต.ค. 2567 | 04:27 น.
อัปเดตล่าสุด :08 ต.ค. 2567 | 04:36 น.

น้ำท่วม 2567 ปภ.เตือนพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้ รับมือน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก เช็ครายชื่อจังหวัดเสี่ยงอุทกภัยที่นี่

วันที่ 8 ตุลาคม 2567 กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)แจ้งเตือนพื้นที่เสี่ยงน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง พื้นที่เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้น โดยจะมีพิกัดพื้นที่ใดบ้าง สามารถตรวจสอบได้ดังต่อไปนี้ 

เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

  •  ลำพูน

เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำท่วมขังในระยะสั้น

  • พังงา ภูเก็ต กระบี่ และยะลา

เฝ้าระวังน้ำล้นตลิ่ง น้ำท่วมขัง

  • เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง ตาก สุโขทัย พิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี สุพรรณบุรี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม สงขลา และยะลา

เตือนพื้นที่เสี่ยงภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้รับมือน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง

ทั้งนี้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ได้รายงานสรุปข้อมูล สถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 8 ตุลาคม 2567 พบมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ 19 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง ตาก พิษณุโลก นครสวรรค์ สุโขทัย อุดรธานี กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ มหาสารคาม อุบลราชธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และสงขลา รวม 65 อำเภอ 325 ตำบล 1,556หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 66,202 ครัวเรือน 
 

ภาคเหนือ รวม 8 จังหวัด 29 อำเภอ 115 ตำบล 551 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 37,759 ครัวเรือน 

  1. เชียงราย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่สาย อ.เมืองฯ อ.แม่ลาว อ.เวียงป่าเป้า อ.เวียงชัย และ อ.เชียงแสน รวม 17 ตำบล 80 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,046 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  2. เชียงใหม่ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.แม่วาง อ.ดอยหล่อ อ.หางดง อ.สันป่าตอง อ.แม่แตง อ.เมืองฯ และ อ.สารภี รวม 33 ตำบล 187 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 28,367 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  3. ลำพูน เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ อ.เมืองฯ รวม 8 ตำบล 45 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,721 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  4. ลำปาง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเถิน รวม 1 ตำบล 1 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 20 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  5. ตาก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.สามเงา และ อ.บ้านตาก รวม 7 ตำบล 47 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,547 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  6. พิษณุโลก เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.พรหมพิราม อ.บางระกำ อ.เมืองฯ อ.บางกระทุ่ม อ.วังทอง อ.นครไทย และ อ.วัดโบสถ์ รวม 27 ตำบล 104 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 1,749 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  7. สุโขทัย เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 4 อำเภอ ได้แก่ อ.สวรรคโลก อ.ศรีสำโรง อ.เมืองฯ และ อ.ศรีสัชนาลัย รวม 20 ตำบล 85 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 2,239 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  8. นครสวรรค์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอเมืองฯ รวม 2 ตำบล 2 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 70 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

เตือนพื้นที่เสี่ยงภาคเหนือ อีสาน กลาง ใต้รับมือน้ำท่วม น้ำล้นตลิ่ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 5 จังหวัด 14 อำเภอ 51 ตำบล 259 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 603 ครัวเรือน 

  1. อุดรธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สร้างคอม รวม 8 ตำบล 34 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 225 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  2. กาฬสินธุ์ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ อ.ยางตลาด อ.หนองกรุงศรี อ.ท่าคันโท อ.สหัสขันธ์ และ อ.ฆ้องชัย รวม 12 ตำบล 15 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 68 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
  3. ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.คอนสวรรค์ อ.จัตุรัส และ อ.ซับใหญ่ รวม 15 ตำบล 87 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 81 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
  4. มหาสารคาม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.กันทรวิชัย รวม 13 ตำบล 118 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 39 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง
  5. อุบลราชธานี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.เมืองฯ และ อ.สว่างวีระวงศ์ รวม 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 190 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง

ภาคกลาง รวม 5 จังหวัด 21 อำเภอ 152 ตำบล 714 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 27,447 ครัวเรือน 

  1. สิงห์บุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.อินทร์บุรี อ.เมืองฯ และ อ.พรหมบุรี รวม 4 ตำบล 9 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 102 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
  2. สุพรรณบุรี เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 6 อำเภอ ได้แก่ อ.เดิมบางนางบวช อ.บางปลาม้า อ.สองพี่น้อง อ.ศรีประจันต์  อ.สามชุก และ อ.เมืองฯ รวม 27 ตำบล 96 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 3,195 ครัวเรือน ระดับน้ำทรงตัว
  3. อ่างทอง เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเศษชัยชาญ อ.ไชโย และ อ.เมืองฯ รวม 15 ตำบล 43 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 653 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  4. พระนครศรีอยุธยา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 7 อำเภอ ได้แก่ อ.บางบาล อ.ผักไห่ อ.เสนา อ.พระนครศรีอยุธยา อ.บางปะอิน อ.บางไทร และ อ.บางปะหัน รวม 96 ตำบล 545 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 23,497 ครัวเรือน ระดับน้ำเพิ่มขึ้น
  5. นครปฐม เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ 2 อำเภอ ได้แก่ อ.นครชัยศรี และ อ.สามพราน รวม 10 ตำบล 21 หมู่บ้าน ระดับน้ำทรงตัว

ภาคใต้ รวม 1 จังหวัด 1 อำเภอ 7 ตำบล 32 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 393 ครัวเรือน 

  1. สงขลา เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อำเภอสะบ้าย้อย รวม 7 ตำบล 32 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 393 ครัวเรือน ระดับน้ำลดลง