กราดยิงหนองบัวลำภู กลายเป็นโศกนาฎกรรม หนองบัวลำภู ครั้งสำคัญที่เป็นอุทาหรณ์ให้ทุกฝ่ายตื่นตัวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
เนื่องจากเรื่องดังกล่าวได้สร้างความสั่นสะเทือนใจให้กับคนไทย และเป็นกระแสที่ถูกพูดถึงไปทั่วโลก
ล่าสุด นายกมล กมลตระกูล นักวิชาการอิสระ โพสเฟสบุ๊กส่วนตัว (กมล กมลตระกูล) โดยมีข้อความระบุว่า มหาโศกนาฏกรรมที่หนองบัวลำภู : ถึงเวลาปฏิรูปตำรวจไทย ศึกษาจากอเมริกา ระบบตำรวจอเมริกัน : ระบบการกระจายอำนาจ
นายกมล กล่าวไว้ว่า ระบบตำรวจอเมริกันมีชั้นยศน้อยมาก แต่แบ่งอำนาจความรับผิดชอบตามหน้าที่มากกว่า คล้ายๆกับพนักงานของบริษัท อเมริกาไม่มีระบบหรือโครงสร้างตำรวจแห่งชาติ แต่มีการแบ่งอำนาจและหน้าที่เป็นส่วนงานตามภูมิศาสตร์ 5 โดย มี 5 หน่วยงานหลักดังนี้
หน้าที่หลักๆของตำรวจมี 3 ด้าน คือ
ชั้นยศและตำแหน่งของตำรวจอเมริกัน
ตำรวจอเมริกันไม่ได้มีชั้นยศหรือตำแหน่งแบบข้าราชการ แต่แบ่งตามหน้าที่และความรับผิดชอบ ตำแหน่งต่อไปนี้ใช้โดยทั่วไปในสำนักงาน กรม หรือ กอง ของตำรวจทั้งในระดับรัฐและระดับเมือง
ตำแหน่งสูงสุดของตำรวจซึ่งมีหลายชื่อที่เรียกกัน คือ Police Commissioner/Chief of Police/Superintendent: ถ้าแปลเป็นไทย คือ หัวหน้าตำรวจ มีหน้าที่ 4 ด้าน คือ
Assistant Chief: ผู้ช่วยหัวหน้าตำรวจ
เป็นตำแหน่งอันดับสอง ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสำนักงานตำรวจในระดับรัฐที่ดูแลหลายเมือง
Deputy Chief/Deputy Commissioner/ Deputy Superintendent: รองหัวหน้าตำรวจ
เป็นตำแหน่งอันดับสาม มีหน้าที่แล้วแต่จะได้รับการมอบหมายจากหัวหน้าตำรวจ
ตำแหน่งอื่นๆ
เสียงเรียกร้องให้ปฏิรูปสำนักงานตำรวจแห่งชาติและระบบโครงสร้างตำรวจอย่างทั่วด้าน เพราะว่าตำรวจไทยยังติดยึดอยู่กับมายาคติเก่าที่ว่า “ไม่มีอะไรภายใต้ดวงอาทิตย์นี้ ที่ตำรวจไทยจะทำไม่ได้" แม้ว่าตำรวจที่ดีจะมีมาก แต่บทบาทของตำรวจเลวกับเด่นกว่าและทำให้ภาพลักษณ์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติและตำรวจโดยรวม “เน่าไปทั้งข้อง”
ปัญหาหลักนั้นเกิดจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่ไม่มีการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่น การวมศูนย์อำนาจการบังคับบัญชามาอยู่ที่ส่วนกลาง ซึ่งนำไปสู่การรับผลประโยชน์ในหลายๆรูปแบบ จึงเกิดการซื้อขายตำแหน่งกันด้วยเงินก้อนมหาศาลในแต่ละตำแหน่ง
ดังนั้นการปรับโครงสร้างโดยการกระจายอำนาจ และตัดลดงานให้เหลือเฉพาะ 3 ด้านแบบระบบอเมริกัน คือ การรักษาความสงบสุข การบังคับใช้กฎหมาย ( มิใช่เป็นผู้ละเมิดเสียเอง) และการให้บริการฉุกเฉินเพียงเท่านี้ และยกเลิกยศตำแหน่งทั้งหมดให้เป็นตำแหน่งตามหน้าที่ของงานที่รับผิดชอบเหมือนภาคเอกชน
ในด้านการบริหารให้โอนไปขึ้นกับงบประมาณขององค์การบริหารส่วนท้องถิ่นโดยมีการสรรหาคณะกรรมการตำรวจประจำจังหวัดมาเป็นผู้กำกับนโยบาย ให้ตำรวจทำหน้าที่ “ผู้พิทักษ์สันติราษฎรที่แท้จริง” มิใช่ตรงกันข้ามอย่างทุกวันนี้