กราดยิงหนองบัวลำภู หรือโศกนาฏกรรมหนองบัวลำภู นำมาซึ่งความสะเทือนใจไปทั้งประเทศ และทั่วโลก
อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญที่ตามมาจากเหตุการณ์ดังกล่าวคือบทเรียน และความพยายามหาคำอธิบายถึงเหตุการณืที่เกิดขึ้น ความเชื่อมโยง รวมถึงแรงจูงใจ และวิธีป้องกัน
น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ (หมอเฉลิมชัย) รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา โพสต์ blockdit ส่วนตัว "ร้อยแปดพันเก้ากับหมอเฉลิมชัย" เกี่ยวกับเหตุการณ์ "โศกนาฏกรรมหนองบัวลำภู" เกี่ยวกับอาวุธปืนในประเทศไทยที่น่าสนใจว่า
จากเหตุการณ์ที่ศูนย์เด็กเล็กหนองบัวลำภู ทำให้สาธารณะทราบว่าคนไทยมีปืนอันดับที่ 13 ของโลก จำนวนกว่า 10 ล้านกระบอก เสียชีวิตเป็นอันดับที่ 15 ปีละ 2800 คน แต่ถ้าคิดเป็นสัดส่วนประชากรการเสียชีวิตอยู่อันดับที่ 46
หลังจากที่มีเหตุสังหารหมู่ ที่ศูนย์เด็กเล็กจังหวัดหนองบัวลำภู ทำให้สังคมไทย ตลอดจนประเทศต่างๆทั่วโลกหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการสังหารหมู่ รวมทั้งปัญหาเรื่องอาวุธที่ใช้ก่อความรุนแรงกันมาก
โดยพบว่าปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการสังหารหมู่ จะมีหลากหลายปัจจัย จากการศึกษาวิเคราะห์ ซึ่งยังไม่สามารถสรุปได้ว่าปัจจัยใดเป็นหลักนั้น พบว่า
วันนี้เราจะลองมาดูสถิติต่างๆ เฉพาะในประเด็นที่เกี่ยวกับอาวุธปืน ที่สามารถใช้ในการก่อเหตุสังหารคนได้เป็นจำนวนมากของประเทศไทย ว่าเป็นอย่างไรบ้าง เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศต่างๆทั่วโลก พบรายละเอียดดังนี้
1.จำนวนปืนที่มีอยู่ในครอบครอง พบว่าทั่วโลกมีปืนอยู่ทั้งสิ้น 800 ล้านกระบอก ต่อจำนวนประชากร 7,000 ล้านคน (11กระบอก/100คน)
โดยที่สหรัฐอเมริกามีปืนมากเป็นอันดับหนึ่ง 393 ล้าน กระบอก(118กระบอก/100คน)
อันดับ 2 อินเดีย 71 ล้านกระบอก
อันดับ 3 จีน 50 ล้านกระบอก
โดยไทยมีปืนอยู่ในครอบครองเป็นอันดับที่ 13 จำนวน 10.3 ล้านกระบอก(15กระบอก/100คน)
โดยแยกเป็นปืนที่มีทะเบียน 6.2 ล้านกระบอก เป็นปืนสั้น 3.7 ล้านกระบอก ปืนยาว 2.5 ล้านกระบอก และเป็นปืนที่ไม่มีทะเบียนอีก 4.1 ล้านกระบอก
2.การเสียชีวิตจากปืน พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากอาวุธปืนทั่วโลก 250,000 คน/ปี
โดยที่ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 15 เสียชีวิต 2800 คน
แต่ถ้าดูจำนวนผู้เสียชีวิตต่อแสนประชากร จะพบว่า
โดยไทยอยู่ในอันดับที่ 46 จำนวน 3.91 ซึ่งน้อยกว่าสหรัฐอเมริกาที่ 3.96
อย่างไรก็ตาม ประเทศที่มีความปลอดภัยสูง ตัวเลขจะต่ำมากคือแคนาดา 0.47 สหราชอาณาจักร 0.04 และญี่ปุ่น 0.02
ในประเด็นดังกล่าวจะพบว่าสัดส่วนการเสียชีวิตจากอาวุธปืนที่สูงมากมักเกิดในประเทศกลุ่มลาตินอเมริกา เพราะมีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องแก๊งสเตอร์ผู้มีอิทธิพล และเรื่องกระบวนการค้ายาเสพติด ซึ่งจะตัดสินกันโดยใช้ความรุนแรง
ส่วนในประเทศญี่ปุ่น ที่มีอัตราเสียชีวิตน้อยมาก เนื่องจากมีกฎหมายที่เข้มแข็งมาก การเข้าถึงอาวุธปืนหรือครอบครองปืนทำได้ยากมาก แม้กระทั่งกรณีสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีอาเบะ ก็ยังต้องใช้ปืนที่ประดิษฐ์ขึ้นเอง
3.ข้อมูลอื่นๆที่น่าสนใจ พบว่าผู้ที่เสียชีวิตจากการใช้ปืนนั้น 71% จะเป็นการฆาตกรรม 21% เป็นการฆ่าตัวตาย และ 8% เกิดจากความประมาทและเป็นอุบัติเหตุปืนลั่น
โดยในกลุ่มที่เสียชีวิตจากการฆาตกรรมนั้น 90% จะเป็นผู้ชายที่มีอายุ 20-24 ปี ในขณะที่กลุ่มที่มีการฆ่าตัวตายสูง จะอยู่ในช่วงอายุ 55-59 ปี
และจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยอาวุธปืนในประเทศสหรัฐอเมริกา ราวสองในสามเกิดจากการฆ่าตัวตาย
หมอเฉลิมชัย บอกอีกว่าสัดส่วนของการใช้ปืนเพื่อฆ่าตัวตายพบสูงเป็นอันดับหนึ่งที่กรีนแลนด์ตามด้วยสหรัฐอเมริกา อุรุกวัย ซานมารีโน มอนเตเนโกร อาร์เจนตินา ฟินแลนด์ โมนาโก ฝรั่งเศส และเวเนซุเอลาตามลำดับ
จึงเห็นได้ว่าการเสียชีวิตที่เกิดจากเหตุรุนแรงด้วยการใช้อาวุธ รวมทั้งการสังหารหมู่ที่เกิดขึ้นในประเทศไทย นอกจากจะมีปัจจัยมาจากเรื่องอาวุธปืนแล้ว คงไม่ใช่ปัจจัยเดียว เนื่องจากจำนวนการเสียชีวิตจากอาวุธปืนของไทยอยู่ในอันดับที่ 46 และการครอบครองปืนอยู่ในอันดับที่ 13
จึงควรต้องให้ความสนใจเรื่องภาวะกดดันบีบคั้นที่เรื้อรังและรุนแรง ตลอดจนถึงการเข้าถึงยาเสพติดประเภทต่างๆ และการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสม ก็จะทำให้เหตุการณ์สังหารหมู่หรือการเสียชีวิตจากความรุนแรงโดยใช้อาวุธพอที่จะลดลงได้ตามสมควร