ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ พระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมาน-อุ้มหาย เตรียมมีผลหลังประกาศในราชกิจจานุเบกษา 120 วัน เพื่อคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพการบังคับใช้กฎหมาย โดยให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมรักษาการตาม พ.ร.บ.นี้
แบบไหนเข้าข่ายการกระทำผิด
มาตรา 5 ผู้ใดเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐกระทำด้วยประการใดให้ผู้อื่นเกิดความเจ็บปวดหรือความทุกข์ทรมานอย่างร้ายแรงแก่ร่างกายหรือจิตใจ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
หากกระทำที่ไม่เป็นไปตามมาตรา 5 ให้ถือว่า กระทำความผิดฐานกระทำการโหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามมาตรา 6
มาตรา 7 หากมีการปกปิดชะตากรรมหรือสถานที่ จนส่งผลให้คนนั้นไม่ได้รับการคุ้มครองตามกฎหมาย จะถือว่า "ฐานกระทำให้ผู้อื่นสูญหาย"
มาตรา 8 ผู้ใดกระทำความผิดฐานกระทำทรมานตามมาตรา 5 ความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามมาตรา 6 หรือความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหายตามมาตรา 7 นอกราชอาณาจักร ต้องรับโทษในราชอาณาจักรตามที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.นี้ โดยให้นำความในมาตรา 10 แห่งประมวลกฎหมายอาญา มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
มาตรา 9 การกระทำความผิดฐานกระทำทรมานตามมาตรา 5 และการกระทำความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหายตามมาตรา 7 มิให้ถือว่าเป็นความผิดที่มีลักษณะทางการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน และความผิดทางการเมืองตามกฎหมายว่าด้วยความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องทางอาญา
มาตรา 10 ในคดีความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหายตามมาตรา 7 ให้ดำเนินการสืบสวนจนกว่าจะพบบุคคลซึ่งถูกกระทำให้สูญหายหรือปรากฏหลักฐานอันน่าเชื่อว่าบุคคลนั้นถึงแก่ความตายและทราบรายละเอียดของการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด
มาตรา 11 ในคดีความผิดฐานกระทำทรมานตามมาตรา 5 หรือความผิดฐานกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ตามมาตรา 6 ซึ่งผู้เสียหายไม่อยู่ในฐานะที่จะร้องทุกข์หรือกล่าวโทษด้วยตนเองได้ หรือความผิดฐานกระทำให้บุคคลสูญหายตามมาตรา 7 ให้สามี ภริยา ผู้บุพการี ผู้สืบสันดาน ผู้ซึ่งอยู่กินกันฉันสามีภริยาซึ่งมิได้จดทะเบียนสมรส ผู้อุปการะ และผู้อยู่ในอุปการะของผู้ถูกกระทำทรมาน ผู้ถูกกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือผู้ถูกกระทำให้สูญหายตาม พ.ร.บ.นี้ แล้วแต่กรณี เป็นผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาด้วย
มาตรา 12 พฤติการณ์พิเศษใดๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะสงครามหรือภัยคุกคามที่จะเกิดสงคราม ความไม่มั่นคงทางการเมืองภายในประเทศ หรือสถานการณ์ฉุกเฉินสาธารณะอื่นใด ไม่อาจนำมาอ้างเพื่อให้การกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.นี้เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมาย
มาตรา 13 ห้ามมิให้หน่วยงานของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐขับไล่ ส่งกลับ หรือส่งบุคคลเป็นผู้ร้ายข้ามแดนไปยังอีกรัฐหนึ่ง หากมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าบุคคลนั้นจะไปตกอยู่ในอันตรายที่จะถูกกระทำทรมาน ถูกกระทำการที่โหดร้าย ไร้มนุษยธรรม หรือย่ำยีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ หรือถูกกระทำให้สูญหาย
บทกำหนดโทษ
ผู้บังคับบัญชารับผิดแแบบไหน
นอกจากนี้ ในบทเฉพาะกาล มาตรา 43 ระบุด้วยว่า ให้นำความในมาตรา 10 มาใช้บังคับแก่การกระทำให้บุคคลสูญหายก่อนวันที่ พ.ร.บ.นี้ใช้บังคับโดยอนุโลม