“เต่ามะเฟือง” ทำความรู้จักที่นี่ หลังชาวบ้านพบวางไข่ 108 ฟอง

12 ธ.ค. 2565 | 05:30 น.
อัปเดตล่าสุด :12 ธ.ค. 2565 | 12:34 น.

“เต่ามะเฟือง” leatherback turtle ทำความรู้จักที่นี่ หลังชาวบ้านพบวางไข่หาดไม้ขาว จังหวัดภูเก็ต จำนวน 108 ฟอง

วันนี้ 12 ธันวาคม 2565  จากกรณีที่อุทยานแห่งชาติสิรินาถ ได้รับแจ้งจากศูนย์ปฏิบัติการอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่ 2 จังหวัดภูเก็ ว่ามีชาวบ้านตำบลไม้ขาว พบร่องรอย “เต่ามะเฟือง” ขึ้นวางไข่ และ ช่วยกันขุด

  • พบไข่เต่าทั้งหมด จำนวน 108 ฟอง
  • เป็นไข่ดี จำนวน 79 ฟอง (แตก 3 ฟอง เหลือ 76 ฟอง)
  • ไข่ลม จำนวน 29 ฟอง

 

ทำความรู้จัก “เต่ามะเฟือง” leatherback turtle

“ฐานเศรษฐกิจ” ได้ทำการสืบค้นที่มาที่ไปของ “เต่ามะเฟือง”  ชื่อภาษาอังกฤษ leatherback turtle

โดยกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)  ได้เผยแพร่บทความทางวิชการว่า  เต่ามะเฟือง จัดอยู่ในกลุ่ม สัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) เป็นเต่าทะเล ตัวเต็มวัยมีขนาด 1.5-2.5 เมตร น้ำหนัก 800-900 กิโลกรัม จัดเป็นเต่าที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

ลักษณะเด่น

  • กระดองมีลักษณะเป็นหนังหุ้ม ไม่แข็งเหมือนเต่าชนิดอื่น มีร่องสันนูนตามยาว 7 สัน มองดูคล้ายกับผลมะเฟือง ครีบคู่หน้าไม่มีเล็บ หัวใหญ่ไม่สามารถหดเข้าไปในกระดองได้

 

การขยายพันธุ์

  • เต่ามะเฟืองเพศเมียจะขึ้นมาวางไข่บนชายหาด ประมาณ 66-104 ฟอง/รัง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัจจัยในการวางไข่ เช่น อายุ สภาพอากาศ สภาพแวดล้อมของสถานที่วางไข่ ใช้เวลาในการฟักตัวประมาณ 60-70 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของสภาพแวดล้อม ซึ่งมีประมาณ 85% ที่ฟักตัวได้ โดย เต่ามะเฟือง สามารถดำน้ำได้ลึกถึง 1,280 เมตร

 

“เต่ามะเฟือง” leatherback turtle

อาหาร

  • แมงกะพรุน แพลงก์ตอน สาหร่ายน้ำลึก

การกระจายพันธุ์

  • เขตร้อนและเขตอบอุ่นทั่วโลก ในประเทศไทยมีรายงานการพบเต่ามะเฟืองทั้งฝั่งอ่าวไทย และอันดามัน

การอนุรักษ์

  • สถานภาพการอนุรักษ์ในระดับโลก โดยการจัดอันดับของ IUCN (2018) คือ Vulnerable (VU) หรือ มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์
  • สถานภาพการอนุรักษ์ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าสงวน ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562.

 

ที่มา: อุทยานแห่งชาติสิรินาถ จังหวัดภูเก็ต , กลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 5 (นครศรีธรรมราช)