เปิดปม "ย้ายอุเทนถวาย" เหตุจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

16 ก.พ. 2566 | 11:12 น.
อัปเดตล่าสุด :17 ก.พ. 2566 | 12:48 น.

เปิดปม "ย้ายอุเทนถวาย" หลังจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด แม้ศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันย้ำชัดไม่ประสงค์จะย้ายที่เรียนจากพื้นที่เดิม

ปะทุอีกรอบสำหรับ การ "ย้ายอุเทนถวาย" หลังศาลปกครองสูงสุด ที่ตัดสินให้ มทร.ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ย้ายออกจากพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 

ขณะที่วันนี้(16ก.พ.)ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย มี สมาคมผู้ปกครองและครูอุเทนถวาย สมาคมศิษย์เก่าอุเทนถวาย คณะพิทักษ์ศิษย์เพื่อการศึกษาโรงเรียนช่างก่อสร้างอุเทนถวาย (คพศ.) และนักศึกษาปัจบัน กว่า 500 คน ร่วมชุมนุมคัดค้านถึง รศ.ดร.ฤกษ์ชัย ฟูประทีปศิริ รักษาการอธิการบดี มทร.ตะวันออก  และนายกสภา มทร.ตะวันออก และแสดงเจตจำนงค์ไม่เห็นด้วย และไม่ขอย้ายอุเทนถวายออกจากพื้นที่

เปิดปม \"ย้ายอุเทนถวาย\" เหตุจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

อย่างไรก็ตามจากการทำการสำรวจความเห็นพบว่ากลุ่มนักศึกษาปัจจุบัน ไม่ย้าย  98.70% , ย้าย  1.30%  2.กลุ่มศิษย์เก่า ไม่ย้าย  98.7%  , ย้าย  1.3%  และ 3.กลุ่มคณาจารย์และบุคลากรสายสนับสนุน ไม่ย้าย 25.9% ,  ย้าย 35.2% และอื่น ๆ 39.9% 

เปิดปม \"ย้ายอุเทนถวาย\" เหตุจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

จากการสำรวจความต้องการของประชาคมอุเทนถวาย มีความเห็น "ไม่ย้าย" คิดเป็น 74.43%   สมาคมผู้ปกครองและครูอุเทนถวาย ขอสนับสนุนแนวคิดความต้องการของประชาคมอุเทนถวาย ในเจตนารมณ์เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนของนักศึกษา  ในวิทยาเขตอุเทนถวาย ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และ ปริญญาเอก ในพื้นที่ปัจจุบันต่อไป

เปิดปมความขัดแย้ง

ตลอดระยะเวลากว่า 38 ปี  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตอุเทนถวาย ได้เจรจาตกลงเรื่องการขอคืนพื้นที่อุเทนถวาย ที่ตั้งอยู่ย่านพญาไท เนื่องด้วยจุฬาฯ จะนำพื้นที่ดังกล่าวมาใช้เป็นพื้นที่การศึกษา

ขณะที่กลุ่มนักศึกษาอุเทนถวาย-ศิษย์เก่า ออกมาเรียกร้องขอใช้พื้นที่ปัจจุบัน ด้วยสาเหตุว่าพื้นที่ดังกล่าวเปรียบเสมือนบ้าน พอใจในพื้นที่เล็กๆ ที่ผลิตบัณฑิตสายช่างก่อสร้างมาเกือบ 80 ปี ไม่อยากย้ายไปไหน จนเกิดการออกมาเคลื่อนไหวเรียกร้องของกลุ่มนักศึกษา และศิษย์เก่าอุเทนถวาย

ทั้งนี้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2518 เป็นต้นมา จุฬาฯ ได้เริ่มเจรจาขอคืนพื้นที่มาโดยตลอดจนถึงปัจจุบัน เนื่องด้วยจุฬาฯ มีแผนที่จะพัฒนาพื้นที่ที่เป็นที่ตั้งของวิทยาเขตอุเทนถวาย จำนวน 20 ไร่ 3 งาน 29 ตารางวา ให้เป็น ศูนย์นวัตกรรมงานสร้างสรรค์เพื่อชุมชนยั่งยืนเพื่อเตรียมความพร้อมที่จะสร้างนวัตกรรมใหม่ในการเสริมสร้าง

เปิดปม \"ย้ายอุเทนถวาย\" เหตุจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

เปิดปม \"ย้ายอุเทนถวาย\" เหตุจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

การแข่งขันของประเทศ รวมไปถึงการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน โดยกำหนดให้เป็นพื้นที่การศึกษาที่จะไม่เข้าไปแตะต้อง จะไม่มีการนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์เด็ดขาด

โดยที่ผ่านมา จุฬาฯ ได้ประสานกับกระทรวงศึกษาธิการ กรมธนารักษ์ ขอความอนุเคราะห์จัดหาพื้นที่ให้อุเทนถวาย โดยปี พ.ศ.2545 กรมธนารักษ์จัดหาพื้นที่ให้จำนวน 36 ไร่ ที่ ต.บางปิ้ง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ  ครม.จัดสรรงบฯ ให้เพื่อการก่อสร้างและขนย้ายประมาณ 200 ล้านบาท อุเทนถวายได้ทำบันทึกข้อตกลงกับจุฬาฯ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2547 จะขนย้ายและส่งมอบพื้นที่คืนให้จุฬาฯ ภายในวันที่ 30 กันยายน 2548 หากจำเป็นก็จะผ่อนผันให้ไม่เกิน 1 ปีเท่านั้น

เปิดปม \"ย้ายอุเทนถวาย\" เหตุจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

เปิดปม \"ย้ายอุเทนถวาย\" เหตุจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

เปิดปม \"ย้ายอุเทนถวาย\" เหตุจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

เปิดปม \"ย้ายอุเทนถวาย\" เหตุจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

ต่อมาปี 2548 ได้ทำบันทึกข้อตกลง ว่า อุเทนถวายจะย้ายไปก่อสร้างสถาบันใหม่ที่ ต.บางปลา อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ พร้อมย้ายบุคลากรและนักศึกษาให้เสร็จสิ้นภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2548 แต่การย้ายก็ไม่ประสบความสำเร็จ ปี 2550 สำนักงานอัยการสูงสุดได้ตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาชี้ขาดการยุติในการดำเนินคดีแพ่งของส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง(กยพ.) ซึ่งระหว่างนั้นสโมสรนักศึกษาอุเทนถวาย ได้ทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา 2 ครั้ง

และปี 2552 กยพ.มีมติชี้ขาดให้อุเทนถวายขนย้ายทรัพย์สินและคืนพื้นที่ให้จุฬาฯ และชำระค่าเสียหายปีละล้านบาทเศษ จนกว่าจะส่งมอบพื้นที่เสร็จ ส่วนผลการทูลเกล้าฯ ถวายฎีกา สำนักราชเลขาธิการได้มีหนังสือยืนยันผลชี้ขาดตามมติของ กยพ. และทางจุฬาฯ ก็ไม่ได้ทวงเงินค่าเสียหายจากอุเทนถวายแต่อย่างใด

เปิดปม \"ย้ายอุเทนถวาย\" เหตุจุฬาฯขอคืนพื้นที่ ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด

ภายหลังที่มีคำสั่งให้อุเทนถวายย้ายออกจากบริเวณที่ตั้งในปัจจุบัน ทางฝ่ายผู้บริหารของอุเทนถวายก็ประสานกับกรมธนารักษ์เพื่อเจรจาขอพื้นที่ในจังหวัดต่างๆ ที่เหมาะสมมาตลอด ล่าสุดได้ขอพื้นที่ในส่วนของ ต.บางปิ้ง อ.บางพลี จ.สมุทรปราการ ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 1,200 ไร่ แต่ทางอุเทนถวายคงไม่ได้ใช้พื้นที่ทั้งหมดเพียงแห่งเดียว เพราะพื้นที่ดังกล่าว ม.ศิลปากร ก็ขอใช้เช่นเดียวกัน ส่วนจะได้พื้นที่กี่ไร่ ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของกรมธนารักษ์ จ.สมุทรปราการ สำหรับงบประมาณที่ใช้ ฝ่ายผู้บริหารก็ไม่ได้มีการวางแผนใดๆ  เพราะยังไม่ได้พื้นที่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องใช้งบฯ เท่าใด

จากนี้ไปคงต้องติดตามดูอย่างใกล้ชิดว่าผู้บริหารของอุเทนถวายจะดำเนินการอย่างไรต่อไปเพราะชัดเจนแล้วว่าทั้งศิษย์เก่าและศิษย์ปัจจุบันไม่ประสงค์จะย้ายที่เรียนจากพื้นที่เดิม