“วันแรงงานแห่งชาติ” ตรงกับวันที่ 1 พ.ค. ของทุกปี ถือเป็นวันหยุดประจำปี วันเเรงงานเรียกตามสากลว่า เป็น วันเมย์เดย์ (May Day) เมย์ แปลว่า เดือน พ.ค. เพื่อให้ทุกคนได้รำลึกถึงความสำคัญของแรงงาน "ฐานเศรษฐกิจ" ได้รวบรวมประวัติความเป็นมาของวันเเรงงานสากล เเละ วันแรงงานของไทย มาไว้ที่นี่
วันแรงงานแห่งชาติ หยุดไหม
หน่วยงานราชการ เปิดทำงานและให้บริการตามปกติ ส่วนที่มีการหยุดงานจะเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจและหน่วยงานเอกชน
วันหยุดยาวเดือนพฤษภาคม
ประวัติวันแรงงานสากล หรือ วันเมย์เดย์ (May Day)
ประเทศในแถบยุโรป ถือว่า วันเมย์เดย์ หรือ 1 พ.ค. เป็นวันเริ่มต้นฤดูใหม่ทางเกษตรกรรม จึงมีการเฉลิมฉลอง ขอให้ปลูกพืชได้ผลดี รวมถึงขอให้ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข มีกิจกรรมร้องเพลง และเต้นรำไปรอบๆ เสาเมย์โพล (Maypole)
เมื่อระบบอุตสาหกรรมเริ่มเข้าสู่หลายประเทศ จึงเปลี่ยนเป็นวันหยุดตามประเพณีทั่วไป เพื่อให้เห็นความสำคัญของผู้ใช้แรงงาน ที่เป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ปี 2433 หลายประเทศทางตะวันตก เรียกร้องให้ วันที่ 1 พ.ค. เป็นวันแรงงานสากล
ประวัติวันแรงงานในประเทศไทย
ในปี 2475 ซึ่งตรงกับสมัย จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี เริ่มมีการจัดการบริหารแรงงาน ตลอดจนคุ้มครองและดูแลสภาพการทำงานของแรงงาน
วันที่ 20 เม.ย. 2499 คณะกรรมการจัดงานที่ระลึกแรงงาน เห็นควรกำหนดให้วันที่ 1 พ.ค. เป็นวันที่ระลึกถึงแรงงานไทย ทำให้ วันที่ 1 พ.ค. เป็นวันกรรมกรแห่งชาติ เเละเปลี่ยนชื่อ วันแรงงานแห่งชาติ ในเวลาต่อมา
ปี 2500 ประกาศใช้ พ.ร.บ.กำหนดวิธีระงับข้อพิพาทแรงงาน จากนั้น 18 เดือน ก็ถูกยกเลิก มีประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 19 มาแทน และให้อำนาจกระทรวงมหาดไทย ออกประกาศกำหนดเรื่องการคุ้มครองแรงงาน กำหนดให้วันกรรมกร เป็นวันหยุดตามประเพณี
ปี 2517 เปิดโอกาสให้มีการเฉลิมฉลองตามสมควร จัดงานฉลองวันแรงงานแห่งชาติขึ้นที่สวนลุมพินี มีการจัดให้ทำบุญตักบาตร นิทรรศการแแสดงความรู้ เเละกิจกรรมอื่นๆ