ล่าสุดความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังแรงขึ้น ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน
กรมอุตุนิยมวิทยา จึงออกประกาศเตือน เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบนฉบับที่ 6 (126/2566) โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน
ส่งผลให้วันนี้(วันที่ 30 เมษายน 2566) มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดรวม 52 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพและปริมณฑล
โดยศูนย์ป้องกันน้ำท่วม กรุงเทพมหานคร เผยว่า วันที่ 30 เมษายน 2566 ตั้งแต่ 07:00 น. เป็นต้นมา เกิดฝนตกเล็กน้อยถึงปานกลางในหลายพื้นที่ของกรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ ณ เวลา 07.45 น. ของวันนี้เกิดฝนเล็กน้อยถึงปานกลางในกทม.รวม 7 เขตกทม.มีฝนตก ได้แก่
โดยต่อเนื่อง จ. สมุทรปราการ เคลื่อนตัวทิศเหนือ แนวโน้มคงที่ ปริมาณฝนสูงสุดเขตยานนาวา 14.5 มิลลิเมตร
ขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศเตือน เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบนฉบับที่ 6 (126/2566)
(มีผลกระทบถึงวันที่ 1 พฤษภาคม 2566) พบว่าช่วงวันที่ 30 เมษายน - 1 พฤษภาคม 2566 ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน
โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ส่วนเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย
โดยในวันที่ 30 เมษายน 2566 มีจังหวัดที่ได้รับผลกระทบทั้งหมดรวม 52 จังหวัด รวมถึงกรุงเทพและปริมณฑล ดังนี้