กรมอุตุฯเตือนไทยรับมือพายุฤดูร้อน -ใต้ฝนเพิ่ม เรือเล็กงดออกจากฝั่ง

07 พ.ค. 2566 | 17:54 น.

พยากรณ์อากาศล่วงหน้า ก่อนเลือกตั้ง 66 กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนไทยตอนบนรับมือพายุฤดูร้อน ใต้ฝนเพิ่มกับฝนตกหนักบางแห่ง เรือเล็กงดออกจากฝั่ง พร้อมจับตา พายุหมุนเขตร้อน

กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานสภาพอากาศวันนี้ -13 พฤษภาคม 2566 (พยากรณ์อากาศล่วงหน้า) วันที่ 8 - 10 พ.ค. 66 ประเทศไทยตอนบน มีอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ต่อมาในช่วงวันที่ 11 - 13 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยตอนบนยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง

 

สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 7 - 8 พ.ค. 66 ลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ 

 

ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 13 พ.ค. 66 ลมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยทะเลอันดามันตอนบนมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

 

อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8 – 13 พ.ค. 66 หย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมบริเวณอ่าวเบงกอลตอนล่าง มีแนวโน้มจะทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุหมุนเขตร้อน คาดว่าจะเคลื่อนผ่านอ่าวเบงกอลตอนกลาง และทะเลอันดามันตอนบน หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 11 – 13 พ.ค. 66 จะเคลื่อนเข้าใกล้ชายฝั่งประเทศเมียนมา

 

กรมอุตุฯเตือนไทยรับมือพายุฤดูร้อน -ใต้ฝนเพิ่ม เรือเล็กงดออกจากฝั่ง
 

ข้อควรระวัง
วันที่ 8 - 10 พ.ค. 66

  • ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ไม่ควรสวมใส่โลหะ และหลีกเลี่ยงการใช้โทรศัพท์มือถือขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง 
  • เกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยง 

วันที่ 11 – 13 พ.ค. 66 

  • ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมาก ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง
  • เรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันตอนบนควรงดออกจากฝั่งในช่วงวันที่ 9 - 13 พ.ค. 66 

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดหมายอากาศรายภาคระหว่างวันที่ 7 – 13 พฤษภาคม  2566
ภาคเหนือ
วันที่ 8 – 10 พ.ค. 66

  • พายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

วันที่ 11 – 13 พ.ค. 66 

  • มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม.อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 – 38 องศาเซลเซียส

กรมอุตุฯเตือนไทยรับมือพายุฤดูร้อน -ใต้ฝนเพิ่ม เรือเล็กงดออกจากฝั่ง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วันที่ 8 – 10 พ.ค. 66 

  • พายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

วันที่ 11 – 13 พ.ค. 66 

  • มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 35 องศาเซลเซียส 

กรมอุตุฯเตือนไทยรับมือพายุฤดูร้อน -ใต้ฝนเพิ่ม เรือเล็กงดออกจากฝั่ง

ภาคกลาง
วันที่ 8 – 10 พ.ค. 66 

  • พายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

วันที่ 11 – 13 พ.ค. 66 

  • มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 – 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 38 องศาเซลเซียส

ภาคตะวันออก
วันที่ 8 - 10 พ.ค. 66 

  • พายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

วันที่ 11 - 13 พ.ค. 66

  • มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 70 ของพื้นที่ ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 37 องศาเซลเซียส

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
วันที่ 7 – 8 พ.ค. 66 

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 – 39 องศาเซลเซียส

วันที่ 9 – 13 พ.ค. 66

  • มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
วันที่ 7 – 8 พ.ค. 66 

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่อุณหภูมิต่ำสุด 23 – 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 – 37 องศาเซลเซียส

วันที่ 8 พ.ค. 66 

  • ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

วันที่ 9 - 13 พ.ค. 66 

  • มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
  • ตั้งแต่ จ.ภูเก็ต ขึ้นมา ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 – 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร
  • ตั้งแต่ จ.กระบี่ ลงไป ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพและปริมณฑล
วันที่ 8 - 10 พ.ค. 66 

  • พายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ลมใต้ ความเร็ว 10 – 20 กม./ชม.

วันที่ 11 - 13 พ.ค. 66 

  • มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 – 30 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 24 – 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 – 37 องศาเซลเซียส


พยากรณ์อากาศล่วงหน้า กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนไทยตอนบนรับมือพายุฤดูร้อน ใต้ฝนเพิ่ม