วันพุธที่ 30 ส.ค. จะเกิดปรากฏการณ์ “ซูเปอร์บลูมูน” (Super Bleue Moon) โดยจะมีผลทำให้ดวงจันทร์เข้าใกล้โลกแบบเต็มดวงอีกครั้ง และจะมีการ "ถ่ายทอดสด"
สำหรับซูเปอร์บลูมูน จะเกิดขึ้นคืนวันที่ 30 ถึงเช้าวันที่ 31 สิงหาคม 2566
ทั้งนี้ Super Full Moon คือ ดวงจันทร์เต็มดวงใกล้โลกที่สุดในรอบปี มีระยะห่างจากโลกประมาณ 357,334 กิโลเมตร
และในคืนดังกล่าวยังเป็นดวงจันทร์เต็มดวงครั้งที่สองของเดือน หรือ บลูมูน (Blue Moon)
ในคืนดังกล่าวดวงจันทร์เต็มดวงจะมีขนาดปรากฏใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย
หากเปรียบเทียบกับดวงจันทร์เต็มดวงช่วงเวลาปกติ จะมีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 7% และความสว่างเพิ่มขึ้นประมาณ 15%
เวลาที่เหมาะสมในการสังเกตปรากฏการณ์เกี่ยวกับดวงจันทร์ในครั้งนี้ ได้แก่
ช่วงเย็นวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่เวลาประมาณ 18:09 น. เป็นต้นไป จนถึงรุ่งเช้า ของวันที่ 31 สิงหาคม 2566
ดูได้ด้วยตาเปล่าทางทิศตะวันออก
นอกจากนี้ ยังมีดาวเสาร์ปรากฏสว่างเคียงข้างดวงจันทร์ด้วย
อย่างไรก็ดี สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (NARIT) เตรียมจัดสังเกตการณ์ “ซูเปอร์บลูมูน” ในคืนวันที่ 30 สิงหาคม 2566 ตั้งแต่เวลา 18:00-22:00 น.
ณ จุดสังเกตการณ์หลักทั้ง 4 แห่งของ สดร.
อย่างไรก็ตาม หรือรับชมถ่ายทอดสด (LIVE) ปรากฏการณ์ ได้ทางเฟซบุ๊ก NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ ที่นี่