พายุโซนร้อน โคอินุ (KOINU) กรมอุตุฯ อัปเดตเส้นทาง 1 ต.ค.66

01 ต.ค. 2566 | 13:06 น.
อัพเดตล่าสุด :01 ต.ค. 2566 | 13:06 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา อัปเดตเส้นทาง พายุโซนร้อน โคอินุ (KOINU) เช้าวันที่ 1 ต.ค.66 ชี้ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือ มุ่งสู่ทางตอนใต้ของเกาะไต้หวัน คาดมาไม่ถึงประเทศไทย

กรมอุตุนิยมวิทยา เผยภาพถ่ายดาวเทียมแบบเคลื่อนไหวเช้าตรู่วันนี้ (1 ต.ค.66) ยังมีเมฆฝนปกคลุมทางด้านตะวันตกของประเทศไทย และ อัปเดตเส้นทาง พายุโซนร้อน โคอินุ (KOINU) ศก.ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกเฉียงเหนือ มุ่งสู่ทางตอนใต้ของเกาะไต้หวัน ติดตามเป็นระยะๆ เบื้องต้นคาดว่าพายุมาไม่ถึงประเทศไทย พายุโซนร้อน โคอินุ (KOINU) กรมอุตุฯ อัปเดตเส้นทาง 1 ต.ค.66

สำหรับพายุโซนร้อน "โคอินุ (KOINU)" (ความหมาย "ลูกสุนัข" ตั้งชื่อโดยประเทศญี่ปุ่น ) มีแนวโน้มจะเคลื่อนตัวทางทางตะวันตกเฉียงเหนือในระยะแรกไปทางตอนใต้ของเกาะไต้หวัน (5 ต.ค.66) จะทวีกำลังแรงขึ้นอีกเป็นพายุไต้ฝุ่นได้ (ยังอยู่ในทะเล) และเคลื่อนตัวตามแนวขอบชายฝั่งของประเทศจีนมาทางเกาะฮ่องกงและเกาะไหลหลำ คาดว่าจะอ่อนกำลังก่อนจะเคลื่อนเข้าสู่อ่าวตังเกี๋ย จะไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย

ทั้งนี้ เนื่องจากมีมวลกาศเย็นแผ่ลงมาปกคลุมประเทศจีนตอนใต้ทำให้พายุอ่อนกำลังลง แต่ฝนที่เกิดขึ้นมาจากร่องมรสุมและหย่อมความกดอากาศต่ำ และขอบของลมพัดเข้าไปสู่พายุ (ข้อมูลนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามข้อมูลนำเข้าใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของปีที่เกิดปรากฎการเอลนีโญ ซึ่งทำให้สภาวะฝนและพายุเปลี่ยนแปลงไป ใช้เพื่อประกอบการตัดสินใจ)

พายุโซนร้อน โคอินุ (KOINU) กรมอุตุฯ อัปเดตเส้นทาง 1 ต.ค.66

ขณะที่ ภาพเคลื่อนไหว พยากรณ์ฝนสะสม ราย 6 ชม. และโอกาสการก่อตัวพายุหมุนเขตร้อน (Tropical Cyclone Genesis) จาก ศูนย์พยากรณ์อากาศยุโรประยะกลาง (ECMWF) วันนี้ 1 ต.ค.(66) หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณชายฝั่งประเทศเมียนมา ทำให้ด้านตะวันตกของภาคเหนือ ยังมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนภาคอื่นๆ ฝนน้อยลงบ้าง แต่ยังมีฝนเกิดขึ้นได้ตามแนวร่องมรสุม คลื่นลม บริเวณอันดามันมีกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรง แต่อ่าวไทย มีกำลังอ่อนลงบ้าง

และยังต้องติดตามพายุโซร้อน "โคอินุ (KOINU)" ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ติดตามเป็นระยะๆ อย่าพึ่งตื่นตระหนกกับข่าวลือ พายุนี้ยังเปลี่ยนแปลง ทิศทางเมื่อเคลื่อนตัวเข้าใกล้เกาะไต้หวันและเกาะฮ่องกง ตามลำดับ คาดว่าจะไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย เนื่องจากมีมวลอากาศเย็นแผ่ซึมลงมาปกคลุมด้านหน้าของพายุ