วันนี้ (1 ตุลาคม 2566) เวลา 19.00 น.ณ ห้องประชุมศูนย์ปฎิบัติการน้ำอัจฉริยะ กรมชลประทาน ถนนสามเสน กรุงเทพฯ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เดินทางไปติดตามสถานการณ์น้ำ พร้อมรับฟังบรรยายสรุปสภาพอากาศ จากว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ เอี่ยมอนันชัย รองอธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา และรับฟังบรรยายสรุปภาพรวมสถานการณ์น้ำ และการแก้ปัญหา น้ำท่วม ในหลายพื้นที่ของประเทศ
ว่าที่ร้อยตรี ธนะสิทธิ์ รายงานสรุปสภาพอากาศว่า ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากร่องมรสุมพุดผ่านส่งผลให้ให้ภาคเหนือ และภาคอีสานได้รับผลกระทบจากน้ำฝน มีน้ำท่วมขัง และดินสไลด์บางพื้นที่ หลังจากนี ตั้งแต่วันที่ 3 - 7 กันยายน นี้ น้ำฝนจะลดน้อยลง มวลอากาศเย็นเข้ามาแทนที่ และฝนกลับมาตกจำนวนมากอีกครั้ง ตั้งแต่วันที่ 7 กันยายน เป็นต้นไป ส่วนข้อกังวลเรื่องพายุโคอินุ ประเทศไทยจะไม่ได้รับผลกระทบ
นายสุริยพล นุชอนงค์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวบรรยายสรุปสถานการณ์น้ำว่า ภาพรวมจากปริมาณฝนที่ตกหนักอย่างต่อเนื่องในพื้นที่ตอนบนของประเทศ โดยเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากอิทธิพลของร่องมรสุมที่พาดผ่านประเทศไทย ตั้งแต่กลางเดือนกันยายน 2566 เป็นต้นมา
ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลายพื้นที่ได้รับผลกระทบจากปริมาณ น้ำล้นตลิ่งและน้ำท่วมขังในพื้นที่ ดังนี้
ภายหลังรับฟังบรรยายสรุป นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณเจ้าหน้าที่ จากทุกหน่วยงาน ที่ ร่วมกันทำงานอย่างหนัก ตลอด 24 ชั่วโมง ในช่วงที่ผ่านมา เพื่อติดตามสถานการณ์และดูแลพี่น้องประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอย่างเต็มที่ ตนเองได้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดมาตลอด และเป็นห่วงพี่น้องประชาชน
วันนี้จึงต้องมาดูด้วยตัวเองที่ศูนย์ปฏิบัติการน้ำแห่งนี้ ทั้งเพื่อติดตามสถานการณ์น้ำแบบ Real-time รับฟังข้อติดขัดในการปฏิบัติงาน เพื่อช่วยให้ท่านได้ทำงานอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพที่สุด ที่สำคัญก็อยากมาให้กำลังใจผู้ปฏิบัติงานทุกท่าน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้ ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาประชุมร่วมกันผ่านระบบ Video conference เพื่อไม่เป็นการรบกวนหน้างานของท่านที่ทำงานหนักอยู่ในพื้นที่ โดยมีสำนักงานชลประทานทั่วประเทศ กรมอุตุฯ และ ปภ. มาร่วมกันประเมินสถานการณ์น้ำและร่วมกันแก้ปัญหา เพื่อให้การทำงานคล่องตัวที่สุด เบื้องต้น จากที่ได้รับฟังรายงาน เป็นห่วงสถานการณ์ในจังหวัดลำปาง แพร่ และอุบลฯ ที่ถึงแม้สถานการณ์จะคลี่คลายลงบ้าง แต่ก็ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด
รวมทั้งต้องดูแล ฟื้นฟูและซ่อมแชมบ้านเรือนที่อยู่อาศัยของพี่น้องประชาชนอย่างเรงด่วน โดยเฉพาะ ณ ขณะนี้จังหวัดสุโขทัย น่าเป็นห่วงที่สุด เพราะต้องรองรับมวลน้ำที่ไหลลงมาจากจังหวัดแพร่ ซึ่งไหลเข้าท่วมทั้งในพื้นที่เกษตรกรรมและตัวเมืองบางส่วนแล้ว
“เรื่องสำคัญที่ต้องหารือ คือการวางแผนรับมือกับมวลน้ำที่จะเข้ามาอีกระลอก ซึ่งจะซ้ำเติมสถานการณ์ให้แย่ลงไปกว่าเดิม การประชุมวันนี้ขอให้ทุกท่านให้ความเห็นอย่างเต็มที่ ติดขัดอะไรขอให้พูดกันตรง ๆ เพื่อแก้ปัญหาได้ตรงจุดและทันสถานการณ์” นายกฯ ระบุ
ทั้งนี้ นายกฯ ยังได้สั่งการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปเร่งดำเนินการในเรื่องที่เกี่ยวข้อง 5 ด้าน ดังนี้
1. สถานการณ์น้ำ ให้กรมชลประทานบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จัดจราจรน้ำในลุ่มน้ำชี-มูล ลุ่มน้ำยม-น่าน และลุ่มน้ำเจ้าพระยา
2. ให้หน่วยงาน ได้แก่ จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ กรมชลประทาน ตรวจสอบความมั่นคงของพนังกั้นน้ำ สะพาน และอาคารชลประทาน ให้มีความมั่นคง และพร้อมใช้งานตลอดช่วงฤดูน้ำหลาก
3. การช่วยเหลือ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกหน่วยงานร่วมกันช่วยเหลือผู้ประสบภัยและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนเช่น เร่งซ่อมแชมที่ อยู่อาศัย กำจัดขยะที่ มากับน้ำ และตามที่ประชาชนร้องขอโดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย บูรณาการระดมสรรพกำลังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กองทัพหน่วยงานท้องถิ่น
4. พยากรณ์อากาศ ให้กรมอุตุวิทยาติดตามสภาพอากาศ และแจ้งไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและแจ้งเตือนสภาพอากาศกับประชาชน เพื่อเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด
5. และการแจ้งเตือน ให้กรมชลประทานร่วมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมประชาสัมพันธ์ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ประชาสัมพันธ์ไปยังประชาชนในพื้นที่ให้ทราบสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง