วันนี้ (3 ตุลาคม 2566) ที่ทำเนียบรัฐบาล นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (กระทรวง พม.) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้า เตรียมหารือกับนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เพื่อร่วมกันพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหา “คนไร้บ้าน” ซึ่งข้อมูล ณ ปัจจุบันพบว่า ในพื้นที่ กทม. มีปริมาณของคนไร้บ้านมากขึ้น
ทั้งนี้หนึ่งในแนวทางการช่วยเหลือและแก้ปัญหานั้น ปัจจุบัน กระทรวง พม. มีโครงการ “ที่อยู่อาศัยคนละครึ่ง” เป็นนโยบายการช่วยออกค่าเช่าบ้านหรือ ค่าเช่าห้องคนละครึ่ง เพื่อสนับสนุนชาวบ้านให้มีที่อยู่อาศัยที่เหมาะสม โดย นายวราวุธ ระบุว่า ที่ผ่านมา กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ดำเนินการมา 1 ปี มีผู้เข้าโครงการเพียงไม่ถึง 100 คน
โดยเงื่อนไขที่จะเข้าร่วมโครงการ ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีที่อยู่อาศัย และไม่มีงานทำ โดยหากไม่มีงานทำกระทรวงจะร่วมมือกับภาคเอกชนออกเงินค่าเช่าบ้านให้ครึ่งหนึ่ง พร้อมจัดหางานให้ เพื่อช่วยลดปัญหาให้ประชาชนที่ไม่มีที่อยู่อาศัย โดยผู้ที่เข้าเงื่อนไขสามารถสมัครเข้าโครงการได้ ซึ่งตามแผนของกระทรวง พม. ตั้งเป้าหมายของกระทรวง ภายในปี 2579 ทุกคนที่ไร้บ้านจะต้องมีที่อยู่อาศัย
สำหรับข้อมูลของคนไร้บ้านทั้งประเทศในปี 2566 จากข้อมูลของเว็บไซต์ Penguin Homeless รวบรวมข้อมูลของคนไร้บ้านทั่วประเทศ ณ เดือนพฤษภาคม 2566 พบว่า มีคนไร้บ้านกระจายอยู่ทั่วประเทศครอบคลุม 75 จังหวัด คิดเป็นจำนวนที่พบ 2,499 คน โดยกรุงเทพฯ พบจำนวนมากที่สุด 1,271 คน
สำหรับข้อมูลจำนวนคนไร้บ้านทั่วประเทศ 5 จังหวัดแรกที่มีสูงที่สุด ประกอบด้วย
ขณะที่ข้อมูลของ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ พบว่า ปัจจุบัน จากการสำรวจคนไร้ที่พึ่งในประเทศไทย มีจำนวน11.189 ล้านคน คิดเป็น 16.93% ของประชากรทั้งหมด 66.09 ล้านคน (ข้อมูลจากสำานักทะเบียนกลาง ณ วันที่ 31ธันวาคม 2565) และมีแนวโน้มจะเพิ่มจากปีก่อนมากขึ้นทุกปี สาเหตุส่วนใหญ่มาจากตกงาน ไม่มีงานทำ หรือมีอาการเจ็บป่วยทางจิตและร่างกาย
สถานการณ์ที่น่าห่วงใย คือ การเป็นบุคคลไร้รัฐไร้สัญชาติ รวมทั้งบุคคลที่ไม่มีเลขประจำตัวประชาชน 13 หลัก อาจทำให้บุคคลเหล่านั้นไม่สามารถเข้าถึงสิทธิและสวัสดิการต่าง ๆ จึงมีการดำาเนินการให้บุคคลเหล่านี้เข้าถึงสิทธิสถานะทางทะเบียน ราษฎร์มีบัตรประชาชน จำนวน 1,215 คน และพากลุ่มเปราะบาง เข้าถึงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ 155,443 คน
ส่วนคนขอทาน ได้มีคณะกรรมการควบคุมการขอทานตามแผนปฏิบัติการตามแผนขับเคลื่อนการควบคุมการขอทาน ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2566 – 2570) เพื่อควบคุม คุ้มครองและพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ทำการขอทานตลอดจนการส่งเสริมและสนับสนุนผู้แสดงความสามารถให้มีรายได้มีงานทำาอยู่ในสังคมได้อย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ซึ่งปัจจุบนมีคนขอทานอยู่จำนวน 6,835 คน