งานประเพณีรับบัว 2566 งานโยนบัว หลวงพ่อโต จังหวัดสมุทรปราการ 1 เดียวในประเทศไทย จังหวัดสมุทรปราการ จัดงาน 9 วัน 9 คืน เริ่มตั้งแต่วันที่ 22 - 30 ตุลาคม 2566 ณ วัดบางพลีใหญ่ใน พระอารามหลวง
19 ต.ค. 66
22 ต.ค. 66
25 ต.ค. 66
26 ต.ค. 66
27 ต.ค. 66
28 ต.ค. 66
29 ต.ค. 66
30 ต.ค.66
ที่มาของประเพณีรับบัว มีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า คนมอญปากลัด ซึ่งในปัจจุบันคือ อำเภอพระประแดง คนกลุ่มนี้ได้ทำนาอยู่ที่บางแก้ว ในปัจจุบันคือ อำเภอบางพลี โดยในสมัยก่อน อำเภอบางพลี จะมีคนอาศัยอยู่ 3 กลุ่มดวยกันคือ คนไทย คนลาว และคนรามัญ หรือชาวมอญปากลัด
เมื่อถึงช่วงเทศกาลออกพรรษา คนมอญกลุ่มนี้จะกลับไปทำบุญที่อำเภอพระประแดง และมักจะมีการล่องเรือมาเก็บดอกบัวหลวงที่อำเภอบางพลี โดยชาวบางพลีก็จะช่วยอำนวยความสะดวกด้วยการเก็บดอกบัวไว้รอมอบให้คนมอญเพื่อนำไปถวายพระ ในปีต่อมาช่วงวันออกพรรษา ชาวไทยและชาวมอญ ต่างพายเรือมาเก็บดอกบัวที่อำเภอบางพลี และไปนมัสการองค์หลวงพ่อโตพร้อมกัน โดยตลอดเส้นทางจากพระประแดงไปบางพลี เป็นระยะทางที่ไกลพอสมควร เพื่อให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน เรือแต่ละลำก็จะร้องรำทำเพลงมาตลอดเส้นทาง
ปกติจะรับส่งดอกบัวกันมือต่อมือ แต่หากสนิทคุ้นเคย ก็จะโยนให้กัน จึงเป็นที่มาของประเพณีที่เรียกว่า "รับบัว" จนถึงทุกวันนี้
สำหรับหลวงพ่อโตวัดบางพลีใหญ่ใน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (ปางสะดุ้งมาร) ศิลปะสมัยสุโขทัย ลักษณะเบิกเนตร ขัดสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง 3 ศอก 1 คืบ ตามตำนานกล่าวว่า ประมาณ 200 กว่าปี หลวงพ่อโตลอยน้ำมาจากทางเหนือ พร้อมหลวงพ่อพุทธโสธร และหลวงพ่อบ้านแหลม โดยหลวงพ่อโตลอยเข้ามาตามคลองสำโรง ชาวบ้านได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐาน ณ วัดบางพลีใหญ่ใน พระอารามหลวง เป็นที่เคารพบูชาของชาวจังหวัดสมุทรปราการ และจังหวัดใกล้เคียง.
พิกัด (คลิก)