ทะเบียนบ้านมีกี่แบบ แต่ละประเภทมีความสำคัญอย่างไรที่นี่มีคำตอบ

18 ก.พ. 2567 | 18:33 น.

ทะเบียนบ้านมีกี่แบบ แต่ละประเภทมีความสำคัญและมีความหมายอย่างไร ส่วนเจ้าบ้าน มีหลักเกณฑ์อย่างไร และ มีหน้าที่อย่างไรบ้าง คลิกอ่านรายละเอียด

ทะเบียนบ้านมีกี่แบบ สำนักบริหารการทะเบียนบ้าน สังกัดกระทรวงมหาดไทย ได้ทำการชี้แจงดังนี้

ทะเบียนบ้านจะแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ดังนี้

ทะเบียนบ้าน หมายความว่า ทะเบียนประจำบ้านแต่ละบ้าน ซึ่งแสดงเลขประจำบ้านและ รายการของคน ทั้งหมดผู้อยู่ในบ้าน แยกเป็นหลายลักษณะ คือ

  • ทะเบียนบ้านชั่วคราว

ทะเบียนบ้านที่ออกให้ไว้ก่อนในหลายๆกรณี เช่น ผู้ขอทะเบียนไม่ได้ขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร ไม่มีเอกสารขออนุญาตควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือก่อสร้างบนที่สาธารณะ หรือป่าสงวน เป็นต้น

 

 

ทะเบียนบ้าน (ท.ร.13) เล่มเหลือง

  • เป็นทะเบียนบ้านสำหรับคนต่างด้าว ที่เข้าเมืองถูกกฎหมาย และไม่ถูกกฎหมาย

ทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เล่มน้ำเงิน

  • ทะเบียนบ้านสำหรับบุคคลที่มีสัญชาติไทย และ บุคคลต่างด้าวที่มีใบประจำตัวคนต่างด้าว

ทะเบียนบ้านชั่วคราวของสำนักทะเบียน

  • เป็นทะเบียนบ้านที่ออกโดยสำนักงานทะเบียนจัดทำขึ้น เพื่อใช้ลงรายการของบุคคลซึ่งขอแจ้งย้ายออกจากทะเบียนบ้าน (ท.ร.14) เพื่อเดินทางไปต่างประเทศ  และให้ทุกบ้านมีเลขประจำบ้าน บ้านใดไม่มีเลข เจ้าบ้านต้องแจ้งต่อนายทะเบียนภายใน 15 วัน นับจากวันที่บ้านหลังนั้นสร้างเสร็จ

ทะเบียนบ้านกลาง

  • ไม่ใช่ทะเบียนบ้าน แต่เป็นทะเบียนที่ไว้สำหรับลงชื่อบุคคลที่ไม่อาจมีชื่อในทะเบียนบ้าน

ทะเบียนบ้าน

เจ้าบ้านและการมอบหมาย

หลักเกณฑ์

  • เจ้าบ้าน หมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเป็นเจ้าของ ผู้เช่า หรือในฐานะ อื่นใดก็ตาม ในกรณีที่ไม่ปรากฏเจ้าบ้าน หรือเจ้าบ้านไม่อยู่ ตาย สูญหาย สาบสูญ หรือไม่สามารถปฏิบัติ กิจการได้ ให้ถือว่าผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านในขณะนั้นเป็นเป็นเจ้าบ้าน

หน้าที่ของเจ้าบ้าน

  • เจ้าบ้าน เป็นผู้มีหน้าที่ต้องแจ้งเกี่ยวกับการต่าง ๆ ที่ได้บัญญัติไว้ตาม พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534 เช่น การแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายที่อยู่ หรือเรื่องอื่น ๆ เกี่ยวกับบ้าน โดยอาจมอบหมายให้ผู้อื่นไปดำเนินการแทนได้ หากเจ้าบ้านไม่อยู่ เช่น ไปต่างประเทศ หรืออยู่แต่ไม่สามารถปฏิบัติภารกิจได้ ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านผู้หนึ่งผู้ใดสามารถ ดำเนินการแจ้งโดยทำหน้าที่เจ้าบ้านได้ โดยนายทะเบียนบ้านจะบันทึกถ้อยคำ  ให้ได้ข้อเท็จจริงว่า บุคคลดังกล่าวเป็น ผู้มีหน้าที่ดูแลบ้านแทนเจ้าบ้านในขณะนั้น
เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
    1. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้านระบุรายละเอียดชัดเจนว่ามอบให้ใครทำอะไร และลงชื่อผู้มอบ
    2. สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้าน
    3. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
    4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับมอบหมาย หรือผู้ทำหน้าที่เป็นเจ้าบ้าน

ขั้นตอนการติดต่อ
    1. ไปติดต่อ ณ สำนักทะเบียนที่ปรากฏหลักฐานตามทะเบียนบ้าน
    2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และดำเนินการตามความประสงค์ของผู้แจ้ง
    3. คืนหลักฐานแก่ผู้แจ้ง

การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้าน

หลักเกณฑ์
    การจำหน่ายชื่อและรายการบุคคลออกจากทะเบียนบ้านมีหลายกรณี ได้แก่

  •   ผู้มีชื่อในทะเบียนบ้านถึงแก่ความตาย
  •  กรณีบุคคลมีชื่อซ้ำในทะเบียนบ้านเกินกว่า 1 แห่ง
  •  กรณีบุคคลมีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบด้วยกฎหมายและระเบียบ


เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

  • สำเนาทะเบียนบ้านฉบับเจ้าบ้านที่มีรายการบุคคลชื่อซ้ำเกินกว่า 1 แห่ง หรือบุคคลที่มีชื่อในทะเบียนบ้านโดยมิชอบ หรือบุคคลที่ตายไปนานแล้ว หรือบุคคลที่ตายในต่างประเทศ
  •  บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้านหรือผู้แจ้ง
  • ใบมรณบัตร (ถ้ามี)
  • หลักฐานการตายซึ่งออกโดยสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทยในต่างประเทศ หรือหลักฐานการตายที่ออกโดยรัฐบาลของประเทศนั้นซึ่งได้แปลและรับรองว่าถูกต้องโดยกระทรวงการต่างประเทศ

ขั้นตอนในการติดต่อ

  • ยื่นเอกสารหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่ปรากฏรายการบุคคลที่ต้องการจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน
  •  นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐานสอบสวนเจ้าบ้านและพยานบุคคลที่น่าเชื่อถือให้ปรากฏข้อเท็จจริง
  •  รวบรวมหลักฐานเสนอผู้มีอำนาจในการอนุมัติแล้วจำหน่ายชื่อออกจากทะเบียนบ้าน
  •  คืนหลักฐานแก่ผู้แจ้ง.

หมายเหตุ: สำนักบริหารการทะเบียน