แจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้า-ออก เปิดหลักเกณฑ์และเอกสารที่ต้องดำเนินการ

26 ต.ค. 2566 | 00:05 น.

แจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้า – ออก เปิดหลักเกณฑ์และเอกสารที่ต้องดำเนินการ หลังจากย้ายออกเพื่อไปอยู่บ้านใหม่ ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้างเพื่อไปแจ้งสำนักงานเขตมัดรวมให้แล้ว

แจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้า – ออก ถือว่าเป็นภารกิจที่หลายคนไม่ควรละเลยหากมีการซื้อบ้านใหม่ หรือ ออกจากทะเบียนบ้านหลังเก่า จะต้องแจ้งที่ทำการเขตที่มีรายชื่อในทะเบียนบ้าน

ย้ายทะเบียนบ้าน ประโยชน์ที่ควรรู้

กรมการปกครอง นิยามทะเบียนบ้าน คือ เอกสารที่ใช้แสดงเลขประจำของแต่ละบ้าน รวมทั้งรายชื่อของผู้อยู่อาศัยภายในบ้านหลังนั้น ๆ ซึ่งทะเบียนบ้านหนึ่งหลังจะมีจำนวนคนอยู่อาศัยได้มากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับขนาดพื้นที่ของที่อยู่อาศัย ซึ่งตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข พ.ศ. 2535 กำหนดให้มีคนอยู่อาศัยได้ 1 คน ต่อพื้นที่ 3 ตารางเมตร ทั้งนี้ทั้งนั้น เจ้าบ้านในทะเบียนบ้านจะมีได้แค่ 1 คน

ประโยชน์หลักของทะเบียนบ้าน คือ การแสดงตัวตนของผู้อยู่อาศัย รวมทั้งการนำไปใช้เป็นเอกสารทางราชการเพื่อดำเนินการธุรกรรมต่าง ๆ เช่น การใช้ทะเบียนบ้านตัวจริงเป็นหลักฐานในการยืนยันตัวตนสำหรับการขอเปลี่ยนชื่อ หรือระบุตัวตนให้ตรงกับบัญชีรายชื่อเพื่อมอบสิทธิ์ในการเลือกตั้ง เป็นต้น

การแจ้งย้ายเข้า

หลักเกณฑ์

เมื่อมีผู้ย้ายที่อยู่เข้าอยู่ในบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายเข้าภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ย้ายเข้า อยู่ในบ้าน หากไม่ปฏิบัติตามการแจ้งย้ายเข้า 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้านหากไม่ปฏิบัติตาม เมื่อพ้นกำหนดเวลาตาม เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายให้กำหนดค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้

  1. การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายไม่เกินหกเดือน คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 30 บาท
  2. การแจ้งหรือพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 50 บาท
  3. การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจาก (2) แล้วต้องไม่เกิน 500 บาทเศษของเดือน ถ้าเกินสิบห้าวันให้นับเป็นหนึ่งเดือน

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน
  5. ใบแจ้งการย้ายที่อยู่ (ท.ร. 6) ตอนที่ 1 และ 2 ซึ่งเจ้าบ้านลงนามยินยอมให้ย้ายเข้าแล้ว

ขั้นตอนในการติดต่อ

  1. ยื่นเอกสาร และหลักฐานต่อนายทะเบียนแห่งท้องที่ที่จะย้ายเข้า
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการใบแจ้งการย้ายที่อยู่และเพิ่มชื่อในทะเบียนบ้าน และสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยตรวจสอบรายการให้ถูกต้องตรงกัน แล้วมอบสำเนาทะเบียนบ้านและ หลักฐานคืนให้ผู้แจ้ง

 

แจ้งย้ายทะเบียนบ้านเข้า-ออก

การแจ้งย้ายออก  

เอกสารที่ใช้ในการติดต่อ
    เมื่อผู้อยู่ในบ้านย้ายที่อยู่จากบ้าน ให้เจ้าบ้านแจ้งการย้ายออกภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ผู้อยู่ในบ้านย้ายออก หากไม่ปฏิบัติตามการแจ้งย้ายออก 15 วันนับแต่วันที่ย้ายเข้าอยู่ในบ้านหากไม่ปฏิบัติตาม เมื่อพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายให้กำหนดค่าธรรมเนียมดังต่อไปนี้

  1. การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายไม่เกินหกเดือน คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 30 บาท
  2. การแจ้งหรือพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกินหกเดือนแต่ไม่เกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียม ครั้งละ 50 บาท
  3. การแจ้งหรือขอที่พ้นกำหนดเวลาตามกฎหมายเกินหนึ่งปี คิดค่าธรรมเนียมเพิ่มจาก (2) แล้วต้องไม่เกิน 500 บาทเศษของเดือน ถ้าเกินสิบห้าวันให้นับเป็นหนึ่งเดือน

หลักฐาน

  1. สำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน)
  2. บัตรประจำตัวประชาชนของเจ้าบ้าน
  3. หนังสือมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีผู้แจ้งย้ายไม่ใช่เจ้าบ้าน)
  4. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ที่ได้รับมอบหมายจากเจ้าบ้าน (กรณีมอบหมาย)
  5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ย้ายที่อยู่กรณีแจ้งย้ายที่อยู่ของตนเอง

ขั้นตอนการติดต่อ

  1. ยื่นเอกสารและหลักฐานต่อนายทะเบียนท้องที่ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน (ถึงแม้ว่าเจ้าบ้านไม่สามารถไปแจ้ง ย้ายออกให้ได้ผู้ที่ย้ายอยู่สามารถขอทำหน้าที่เจ้าบ้านเพื่อย้ายชื่อตนเองออกได้
  2. นายทะเบียนตรวจสอบหลักฐาน และรายการบุคคลที่จะย้ายออกลงรายการในใบแจ้งการย้ายที่อยู่ และจำหน่าย รายการบุคคลที่ย้ายออกในทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้าน (ฉบับเจ้าบ้าน) โดยจะประทับคำว่า "ย้าย" สีน้ำเงินไว้หน้ารายการ ฯ และระบุว่าย้ายไปที่ใด
  3. นายทะเบียนมอบหลักฐานการแจ้งคืนผู้แจ้ง พร้อมทั้งใบแจ้งย้ายที่อยู่ตอนที่ 1 และ 2 เพื่อนำไปแจ้งย้ายเข้าต่อไป.

ที่มา: สำนักบริหารทะเบียน