พยากรณ์อากาศวันมาฆบูชา 2567 ไทยมีพายุฝนฟ้าคะนอง กทม.ฝน 10 %

24 ก.พ. 2567 | 02:34 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ก.พ. 2567 | 02:48 น.

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศวันมาฆบูชา 2567 ไทยรับมือพายุฤดูร้อน เช็คพื้นที่เสี่ยงภัยฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตกที่นี่

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567 วันมาฆบูชา กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย แบ่งออกเป็นรายภาคต่างๆ (เวลา 06.00 วันนี้ ถึง 06:00 น. วันพรุ่งนี้)พร้อมทั้งออกประกาศกรมอุตุฯเตือนภัยพื้นที่เสี่ยง "พายุฤดูร้อน"โดยจังหวัดใดต้องรับมือพายุฝนฟ้าคะนอง สามารถตรวจสอบได้ดังต่อไปนี้ 

กรุงเทพและปริมณฑล

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่
  • อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส 
  • ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. 
     

ภาคเหนือ

  • ตอนบน : อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน
  • ตอนล่าง : อากาศร้อน กับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง 
  • บริเวณจังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
  • อุณหภูมิต่ำสุด 13-23 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส 
  • ลมใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม.

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

  • อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง 
  • บริเวณจังหวัดเลย หนองคาย อุดรธานี หนองบัวลำภู บึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 36-39 องศาเซลเซียส 
  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

ภาคกลาง

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
  • บริเวณจังหวัดลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และราชบุรี
  • อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 36-38 องศาเซลเซียส 
  • ลมใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม.

 

ภาคตะวันออก

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง
  • บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว
  • อุณหภูมิต่ำสุด 25-28 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส 
  • ลมใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. 
  • ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร 

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดสงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
  • อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 33-35 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

  • อากาศร้อนในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ 
  • ส่วนมากบริเวณจังหวัดพังงา กระบี่ ตรัง และสตูล
  • อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส 
  • อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
  • ลมตะวันออก ความเร็ว 10-30 กม./ชม.
  • ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งและบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

 

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์อากาศวันมาฆบูชา 2567 ไทยรับมือพายุฤดูร้อน

 

พื้นที่เสี่ยงภัยพายุฝนฟ้าคะนอง

อนึ่งกรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 4 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน มีผลกระทบจนถึงวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567 ทั้งนี้เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมด้านตะวันออกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนหลายพื้นที่ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยและทะเลจีนใต้เข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน

 

ลักษณะเช่นนี้จะทำให้ภาคเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่

 

จึงขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าวระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่อาจจะเกิดขึ้น โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง สำหรับเกษตรกรควรเตรียมการป้องกันและระวังความเสียหายที่จะเกิดต่อผลผลิตทางการเกษตรและอันตรายต่อสัตว์เลี้ยงในช่วงวันและเวลาดังกล่าวไว้ด้วย

 

สำหรับพื้นที่ที่จะได่รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อน มีดังนี้

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2567

  • ภาคเหนือ: จังหวัดอุตรดิตถ์ พิษณุโลก กำแพงเพชร พิจิตร และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดเลย หนองคาย บึงกาฬ หนองบัวลำภู อุดรธานี สกลนคร นครพนม มุกดาหาร อำนาจเจริญ นครราชสีมา ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • ภาคตะวันออก: จังหวัดฉะเชิงเทรา นครนายก ปราจีนบุรี และสระแก้ว

วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2567

  • ภาคเหนือ: จังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย ตาก กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ:จังหวัดเลย หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
  • ภาคตะวันออก:จังหวัดนครนายก สระแก้ว ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี และตราด
  • ภาคกลาง: จังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2567

  • ภาคเหนือ:  จังหวัดตาก สุโขทัย กำแพงเพชร พิษณุโลก พิจิตร และเพชรบูรณ์
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: จังหวัดชัยภูมิ และนครราชสีมา
  • ภาคกลาง:  จังหวัดกาญจนบุรี ราชบุรี สมุทรสงคราม สมุทรสาคร นครปฐม พระนครศรีอยุธยา รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
  • ภาคตะวันออก: จังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง

 

จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น.

 

ประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 4 เรื่อง พายุฤดูร้อนบริเวณประเทศไทยตอนบน