สำนักข่าวอิศรา รายงานว่า เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น.ของวันศุกร์ที่ 22 มี.ค.2567 มีรายงาน กลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง ได้ก่อเหตุสร้าง สถานการณ์ความไม่สงบ ขึ้นพร้อมกันหลายจุด ใน พื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ดังนี้
จ.ยะลา เกิดเหตุขึ้น 11 จุดในพื้นที่ 5 อำเภอ ประกอบด้วย
จ.ปัตตานี เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น 3 จุด ในพื้นที่ 3 อำเภอ ประกอบด้วย
จ.นราธิวาส เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบขึ้น 3 จุด ในพื้นที่ 2 อำเภอ ประกอบด้วย
เป็นที่สังเกตว่า เหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในห้วงคืนที่ 10 ต่อเนื่องวันที่ 11 ของเดือนรอมฎอน หรือเดือนแห่งการถือศีลอดของพี่น้องมุสลิม ซึ่งฝ่ายความมั่นคงมีแผนปฏิบัติการ “รอมฎอนสันติสุข” ควบคุมไม่ให้เกิดเหตุรุนแรง และมีการตกลงกรอบการทำงานร่วมกันกับกลุ่มบีอาร์เอ็นบนโต๊ะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ แต่ไม่มีการประกาศอย่างเป็นทางการออกมา
รายงานข่าวระบุว่า ก่อนหน้านี้ฝ่ายความมั่นคงโดย พล.ท.ปราโมทย์ พรหมอินทร์ แม่ทัพน้อยที่ 4 เคยออกมาประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าว่า ปีนี้อาจไม่เกิด “รอมฎอนสันติสุข” เพราะมีการสร้างสถานการณ์ความรุนแรงของกลุ่มก่อความไม่สงบ ขณะที่ฝ่ายภาคประชาสังคมก็ประเมินว่า การที่ฝ่ายความมั่นคงปฏิบัติการปิดล้อม ตรวจค้น และยิงปะทะ ก่อนวิสามัญฆาตกรรมผู้ต้องหาคดีความมั่นคง 2 รายในพื้นที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 14 มี.ค.67 สุ่มเสี่ยงจะทำให้เกิดการตอบโต้จากบีอาร์เอ็น
เมื่อวันอังคารที่ 19 มี.ค.67 ศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (ศปป.5 กอ.รมน.) นำโดย พล.ท.ธัชพล เปี่ยมวุฒิ ผู้อำนวย ศปป.5 ได้นำคณะสื่อมวลชนจากส่วนกลางลงพื้นที่ไปเป็นสักขีพยานในพิธีมอบทุนการศึกษาและอุปกรณ์การกีฬาแก่เยาวชนจังหวัดชายแดนภาคใต้ พร้อมรับทราบปัญหา และขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของหน่วยงานความมั่นคง
หลังกิจกรรมดังกล่าว ได้มีการปิดห้องเพื่อบรรยายสรุปสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ โดยเน้นในห้วงเดือนรอมฎอน ซึ่งเริ่มต้นวันแรกของเดือน เมื่อวันที่ 12 มี.ค.ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ รายงานของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ระบุว่ามีเหตุยิงปะทะระหว่างเจ้าหน้าที่กับกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงที่ อ.สายบุรี จ.ปัตตานี ทำให้ฝ่ายผู้ก่อเหตุรุนแรงเสียชีวิต 2 ราย
จากนั้นมีการแห่ศพ มีไลฟ์สดทางสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้มีมวลชนเข้าร่วมจำนวนมาก มีการสร้างกระแสกันอย่างกว้างขวาง มีการเปิดรับบริจาคเงินจาก “ชมรมพ่อบ้านใจกล้า” เพื่อช่วยครอบครัวผู้เสียชีวิต สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงและแนวร่วมที่ยังดำรงความมุ่งหมายในการต่อต้านรัฐ เรียกร้องเอกราชกันอย่างเปิดเผย และมีฝ่ายการเมือง กับภาคประชาสังคม ออกมาเคลื่อนไหวสอดรับและขยายผลอย่างชัดเจน
รายงานของ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ระบุด้วยว่า หากมองในมิติความมั่นคง และการดูแลความปลอดภัยพื้นที่ จะเห็นได้ว่ายังมีสมาชิกกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงเข้ามาหลบซ่อนตัวเพื่อเตรียมก่อเหตุร้ายในห้วงเดือนรอมฎอนจริง และจากการตรวจสอบความเคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรง พบความเคลื่อนไหวถึง 184 ภาพข่าว หรือพูดง่ายๆ คือ 184 จุด สะท้อนถึงความพยายามก่อความไม่สงบ แม้จะยังไม่เกิดเหตุรุนแรงขึ้นในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม
ที่มา: สำนักข่าวอิศรา