ช่วง วันหยุดยาวสงกรานต์ 2567 ในบรรยากาศแห่งการท่องเที่ยวและเดินทาง การตั้งวงสังสรรค์ตามสถานที่ต่างๆ มีข้อพึงระวัง ตาม พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 นั้น มีหลายมาตราที่เกี่ยวข้อง หากพลั้งเผลออาจเข้าข่ายละเมิดฝ่าฝืน มีโทษถึงจำคุก โดยเฉพาะการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ตาม “สถานีบริการน้ำมัน” หรือตาม “สวนสาธารณะ” แม้ซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มาจากที่อื่น ก็นำมาดื่มในบริเวณดังกล่าวนี้ไม่ได้ ถือว่ามีความผิด
เรามาดูรายละเอียดกันว่า สถานที่ใดบ้างที่ “ห้ามนำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้าไปดื่ม”
มาตรา 31 ห้ามมิให้ผู้ใดบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในสถานที่หรือบริเวณ ดังต่อไปนี้
ฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
นักดื่มหลายคนอาจเข้าใจผิดว่า สามารถซื้อเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จากที่อื่นๆ มาดื่มในบริเวณปั๊มน้ำมันได้เพราะหลายแห่งก็จัดสวนหย่อมมีโต๊ะเก้าอี้สำหรับนั่งพักผ่อนเอาไว้ให้อย่างสวยงามและสะดวกสบาย แต่ถ้าทำเช่นนั้น ก็จะเป็นการผิดกฎหมาย โดยในส่วนของปั๊มน้ำมันเอง หากมีร้านค้าภายในปั๊มจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ประชาชน ก็จะผิดตามพ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ.2551 ในมาตรา 27 (6) ที่ห้ามขายเหล้าในสถานีบริการน้ำมัน ส่วนประชาชนหากนำเหล้าเบียร์เข้าไปดื่มในบริเวณปั๊มน้ำมัน ก็จะผิดมาตรา 31 (5) ดังกล่าวไว้ข้างต้น
ทั้งสองกรณี มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ปั๊มน้ำมัน หรือสถานีบริการน้ำมัน ที่เป็นที่ตั้งของร้านค้าเอง ก็อาจถูกกระทรวงมหาดไทยเพิกถอนใบอนุญาตสถานประกอบการน้ำมันได้ด้วย
ส่วนการขับรถขณะมึนเมา หรือการเมาแล้วขับ ถือเป็นพฤติกรรมที่อันตรายและมีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยของตัวผู้ขับขี่เองและผู้อื่นบนท้องถนน จึงต้องมีกฎหมายเมาแล้วขับออกมาเพื่อเป็นการควบคุมนักดื่มทั้งหลาย โดยโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน มีตั้งแต่การจ่ายค่าปรับ ถูกเพิกถอนใบอนุญาตขับขี่ และจำคุก
กรณีเมาแล้วขับ
มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 5,000 - 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ รวมทั้งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่ต่ำกว่า 6 เดือน สำหรับผู้ที่มีการตรวจพบปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือด ดังนี้
การปฏิเสธเป่า(เครื่องมือตรวจวัดแอลกอฮอล์)
จะถือเป็นการเมาแล้วขับ มีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับ 10,000 - 20,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน และศาลสามารถสั่งพักใบอนุญาตขับรถ หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ และสามารถยึดรถไว้ไม่เกิน 7 วัน
กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บ
จำคุกตั้งแต่ 1-5 ปี ปรับ 20,000-100,000 บาท และถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 6 เดือน หรือเพิกถอนใบอนุญาตขับรถ
กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บสาหัส
จำคุก 2-6 ปี ปรับ 40,000-120,000 บาท ระงับใบอนุญาตขับรถไม่น้อยกว่า 2 ปี
กรณีเมาแล้วขับจนทำให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
จำคุก 3-10 ปี ปรับตั้งแต่ 60,000-200,000 บาท และเพิกถอนใบอนุญาตขับรถทันที
ข้อมูลอ้างอิง: สำนักงานกิจการยุติธรรม/สำนักสวัสดิภาพการขนส่งทางบก กรมการขนส่งทางบก