จากกรณีที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบในหลักการการขอยกเว้นการยื่นรายการตามแบบรายการของคนต่างด้าวซึ่งเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักร (แบบ ตม.6) ที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นการชั่วคราว ระหว่างวันที่ 15 เมษายน 2567 - 15 ตุลาคม 2567 ตามที่กระทรวงการต่างประเทศ เสนอ ไปก่อนหน้านี้นั้น
สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ได้ทำหนังสือด่วนที่สุด ที่ นร.0807/2545 ลงวันที่ 5 เมษายน 2567 ระบุว่า สมช. พิจารณาแล้วไม่ขัดข้องในหลักการการยกเว้นการยื่นรายการตาม แบบ ตม.6 อย่างไรก็ตาม สมช. มีข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ดังนี้
1. เพื่อให้ทางการไทยยังสามารถติดตามและป้องกันปัญหาอาชญากรรม หรือปัญหาความมั่นคงอื่น ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นจากผู้ที่ได้รับการยกเว้นการยื่นแบบ ตม.6 ตามมาตรการฯ นี้ ไทยจึงควรมีมาตรการหรือแนวปฏิบัติอื่นเพื่อทดแทนการใช้แบบ ตม.6 เช่น การใช้ระบบ Electronic Travel Authorization (ETA) ของ กต. หรือการใช้ E-Arrival Registration เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ติดตาม และสืบสวนของชาวต่างชาติที่อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ระบบ E-Arrival Registration เป็นระบบที่ไม่ซับซ้อนและสะดวกต่อผู้ที่ต้องการเดินทางเข้าประเทศและไม่ได้เพิ่มภาระต่อผู้เดินทาง ในปัจจุบันมีหลายประเทศใช้ E-Arrival Card แทนการกรอกแบบฟอร์มการเข้าเมืองเป็นจำนวนมาก อาทิ สิงค์โปร์ มาเลเซีย บรูไน อินโดนีเซีย กัมพูชา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ข้อมูลในระบบ E-Arrival จะคล้ายกับระบบ ตม.6 แต่จะมีประโยชน์มากกว่า เนื่องจากจะได้รับข้อมูลล่วงหน้าของชาวต่างชาติที่จะ เดินทางเข้าไทยได้ถึง 2-3 วัน
2. พิจารณาให้ฝ่ายความมั่นคงเพิ่มความเข้มงวดในการดำเนินการตาม มาตรา 36 ของ พระราชบัญญัติตรวจคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 เพิ่มเติม กรณีเมื่อมีชาวต่างชาติเข้าพักอาศัยในโรงแรมหรือเคหะสถานใดจะต้องมีการแจ้งตามระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะคนชาติของประเทศภูมิภาคยุโรป ตะวันออก ซึ่งปรากฏการกระทำผิดในไทยในห้วง 3-4 ปีที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่อง
ด้าน สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอแนะว่า เห็นควรให้ความเห็นชอบการมอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติโดยเร็ว ทั้งนี้ ควรพิจารณาดำเนินมาตรการป้องกันปัญหาความมั่นคงชายแดนที่อาจเกิดขึ้น โดยเฉพาะปัญหา การเข้าเมืองผิดกฎหมาย การก่อความไม่สงบ การค้ามนุษย์ และปัญหายาเสพติด
รวมทั้งเห็นควรให้ความเห็นชอบการมอบหมายให้หน่วยงานความมั่นคงที่เกี่ยวข้องกำกับติดตามและ ประเมินผลกระทบจากการออกประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ภายหลังครบระยะเวลาที่ประกาศไว้ (6 เดือน)
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศและกระทรวงมหาดไทยควรหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาเสนอขยายอายุมาตรการฯ หากการดำเนินการดังกล่าวก่อให้เกิดผลดีแก่ประเทศไทย และหากในกรณีที่มาตรการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ ควรเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาทบทวน ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว รวมทั้งควรสื่อสารผลลัพธ์ของมาตรการฯ ให้สาธารณชนและทุกภาคส่วนได้รับทราบด้วย
สำหรับมติครม. ที่เห็นชอบในหลักการการขอยกเว้นการยื่นรายการตาม แบบ ตม.6 ที่บริเวณด่านตรวจคนเข้าเมือง เป็นการชั่วคราว มีสาระสำคัญ เป็นการขยายให้คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางของด่านตรวจคนเข้าเมืองสะเดา จังหวัดสงขลา ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบ ตม. 6 เป็นการชั่วคราวต่อไปอีกช่วงระยะเวลาหนึ่ง (ระหว่างวันที่ 1 พฤษภาคม 2567 - 15 ตุลาคม 2567)
ทั้งนี้กำหนดให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางของด่านตรวจคนเข้าเมืองทางบก ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตามแบบ ตม.6 จำนวน 7 ด่าน ได้แก่
รวมทั้งกำหนดให้คนต่างด้าวเดินทางเข้ามาในหรือออกไปนอกราชอาณาจักรผ่านช่องทางของด่านตรวจคนเข้าเมืองทางน้ำที่เดินทางมากับเรือสำราญและกีฬา ได้รับการยกเว้นการยื่นรายการตาม แบบ ตม.6 จำนวน 5 ด่าน ดังนี้