"กากแคดเมียม" ยังคงเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างต่อเนื่อง หลังพบว่ามีการลักลอบขนย้ายจากโรงงานในจังหวัดตาก มาไว้ที่โรงงานในพื่้นที่จังหวัดสมุทรสาคร ชลบุรี และกรุงเทพมหานคร
โดยหนึ่งในผู้หาสำคัญก็คือนายเจษฎา เก่งรุ่งเรืองชัย กรรมการบริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ซึ่งพบกาดาแคดเมียมซุกซ่อนอยู่ในโรงงาน
ล่าสุดนายเจษฎา เก่งรุ่งเรืองชัย กรรมการบริษัท เจ แอนด์ บี เมททอล จำกัด ,นางวรรณา เก่งรุ่งเรืองชัย ภรรยา และทนายความเข้าให้ปากคำพนักงานสอบสวน กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (บก.ปทส.) ตามหมายเรียกครั้งที่ 2 วันนี้ (18 เม.ย. 67)
นายเจษฎา ระบุว่า กากอุตสาหกรรมที่ตนมีถูกต้องทั้งหมด และได้นำเอกสารหลักฐานมาชี้แจงกับพนักงานสอบสวน
พล.ต.ต.วัชรินทร์ พูสิทธิ์ ผู้บังคับการตำรวจปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า นายเจษฎาเข้ามาพบพนักงานสอบสวนตั้งแต่เวลา 08.30 น. โดยเข้ามาสอบถามข้อหาต่าง ๆ ที่มีการร้องทุกข์ของอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร และการกล่าวโทษโดยพนักงานสอบสวน เพื่อเตรียมข้อมูลมาชี้แจงในภายหลัง เบื้องต้นพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหานายเจษฎา 4 คดี ประกอบด้วย
อย่างไรก็ดี จากการคุยนอกรอบกับนายเจษฎา เจ้าตัวเปิดเผยว่า การซื้อขายกากแคดเมียมมีการทำสัญญากับบริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ จำกัด ซึ่งขายให้ตามน้ำหนัก กิโลกรัมละ 1.25 บาทโดยในสัญญา บริษัท เจ แอนด์ บี ฯ เป็นผู้ซื้อที่จะรับไปกำจัด
อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามต่อไปนายเจษฎายอมรับว่า ตอนแรกจะพยายามส่งออกไปหลอมที่ สปป.ลาว โดยมีคนจีนรอรับซื้อ ซึ่งที่ สปป.ลาวมีบริษัทที่สามารถแยกแคดเมียม ทองแดง และสังกะสีได้ แต่ก่อนที่จะส่งกากแคดเมียมไป สปป.ลาว มี นายจาง ติดต่อเข้ามาซื้อกากแคดเมียม 5,000 ตัน จึงขายให้กิโลกรัม 8.25 บาท ซึ่งนายจางจัดรถมารับไปเก็บไว้ที่จังหวัดชลบุรี และนายจางพยายามขายต่อให้คนอื่น แต่ปิดบังไม่ให้นายเจษฎารู้ว่าจะขายให้ใคร
ส่วนกากแคดเมียมล็อตที่จะส่งไป สปป.ลาว ยังอยู่ในระหว่างการเจรจา ไม่มีการตกลงที่แน่ชัด แต่ตำรวจเชื่อว่าการประเมินราคาไม่น่าจะต่ำกว่ากิโลกรัมละ 8.25 บาท ตามที่ขายให้กับนายจาง
พล.ต.ต.วัชรินทร์ ระบุว่า การที่บริษัทนำกากแร่ไปขายต่อ ถือว่าผิดวัตถุประสงค์ในสัญญาซื้อขาย เพราะบริษัทมีใบอนุญาตกำจัดกากแคดเมียน อีกทั้งสัญญาซื้อขายก็ระบุว่ารับซื้อมากำจัด ซึ่งนายเจษฎาก็ยืนยันว่ามีเครื่องมือในการกำจัดกากแร่ แต่การต้องส่งไป สปป.ลาว เพราะเครื่องมืออยู่ระหว่างซ่อมแซมทำให้ยังไม่สามารถใช้กำจัดกากแร่ได้
ทั้งนี้ ตำรวจยังเชื่อว่า วัตถุประสงค์ในการซื้อกากแร่จากบริษัท เบาด์ แอนด์ บียอนด์ เพราะต้องการซื้อมาขายต่อ มากกว่าจะซื้อมากำจัด
ต่อคำถามที่ว่าการอนุญาตให้ขนย้ายกากแร่มาไว้ที่โรงงานบริษัท เจ แอนด์ บีฯ 13,800 ตัน ทั้งที่ปลายทางพื้นที่จัดเก็บไม่พอ จนสุดท้ายต้องเอาไปฝากไว้ตามโกดังต่าง ๆ หน่วยงานไหนจะต้องเป็นคนตรวจสอบ ระหว่างอุตสาหกรรมจังหวัดตาก (ต้นทาง) หรืออุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร (ปลายทาง)
พล.ต.ต.วัชรินทร์ ยืนยันว่า ต้องเป็นปลายทาง โดยเมื่อแรกขนย้ายมาถึงจังหวัดสมุทรสาครแล้วก็เป็นหน้าที่ของอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาครที่ต้องเข้าไปตรวจสอบ ซึ่งนายเจษฎาให้การว่า อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาครเคยเข้ามาตรวจสอบแล้ว 1 ครั้ง
ส่วนการที่อุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาครมาตรวจแล้ว แต่จำนวนกากแร่ไม่ตรงกับที่มีการสำแดงไว้จะเข้าข่ายละเลยหรือไม่ ต้องมีการตรวจสอบ ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบแล้ว ส่วนตำรวจก็สืบสวนไปด้วยในทางข้าง และจะนำข้อมูลไปเทียบเคียงกับของกระทรวง ซึ่งหากบก.ปทส.พบเจ้าหน้าที่รัฐเกี่ยวข้องก็จะส่งเรื่องให้ บก.ปปป. โดยตอนนี้ได้ประสานให้กับ บก.ปปป. เรียบร้อยแล้ว
พล.ต.ต.วัชรินทร์ ยืนยันว่า ในชั้นสอบถาม นายเจษฎายืนยันว่าการขนกากแคดเมียม ไม่ได้จ่ายเงินให้เจ้าหน้าที่รัฐ ส่วนกระแสข่าวที่ว่าเจ้าหน้าที่รัฐระดับรองอธิบดีเกี่ยวข้อง ตำรวจยังไม่มีข้อมูลถึงขั้นนั้น โดยการจะกล่าวหาผู้ใดต้องมีข้อมูลที่ชัดเจน