รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ปัจจุบันเนื่องจากสถานการณ์ที่ประเทศประสบปัญหาทางด้านการก่อสร้างที่เปลี่ยนไป ทางภาควิชาวิศวกรรมโยธาจึงได้ปรับเปลี่ยนเนื้อหาหลักสูตรจากหลักสูตรวิศวกรรมการก่อสร้างเป็นหลักสูตรวิศวกรรมโยธา และได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ภาควิชาวิศวกรรมโยธา”
จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเนื้อหาหลักจะเป็นการคำนวณ การวิเคราะห์ การออกแบบ และด้านการบริหารการก่อสร้าง รวมทั้ง มีการพัฒนาหลักสูตรอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรม ทั้งในด้านอุปกรณ์การเรียน การสอน การวิจัย ทําให้บัณฑิตที่จบการศึกษา เป็นที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากภาครัฐและเอกชนเป็นอย่างดี
รศ.ดร.ชลิดา อู่ตะเภา หัวหน้าภาควิชาคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) กล่าวว่า ภาควิชาได้ดําเนินการจัดการเรียนการสอน และการวิจัยในด้านวิศวกรรมโยธาให้มีประสิทธิภาพ เพื่อสามารถผลิตวิศวกรโยธาที่มีความเชี่ยวชาญในด้านการก่อสร้าง การบริหาร สิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์และออกแบบคํานวณ การพัฒนาด้านวัสดุ เทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัย โดยมีแขนงวิชาในหลักสูตร ประกอบด้วย วิศวกรรมชลศาสตร์, การสํารวจ, การบริหารงานก่อสร้าง, วิศวกรรมการขนส่งและจราจร, วิศวกรรมแหล่งนํ้า, วิศวกรรมโครงสร้าง, คอนกรีตเสริมเหล็ก, ไม้และเหล็ก นอกจากนี้ยังได้รับการยอมรับจากหน่วยงานภายนอก ภาคอุตสาหกรรม โดยเราสอนทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติอย่างเข้มข้นดังนั้นบัณฑิตที่จบไปจึงสามารถทำงานได้ทันที
“วิศวกรรมโยธา เป็นงานที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งรอบตัว ทั้งการก่อสร้างถนน สะพาน อุโมงค์ ซึ่งทักษะสำคัญเบื้องต้น ผู้เรียนต้องคำนวณได้ระดับหนึ่ง รู้เรื่องกฎหมาย หรือพ.ร.บ.เกี่ยวกับการก่อสร้าง การทำงานอยู่ในกรอบและกฎระเบียบ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นสิ่งสำคัญ เพราะผู้คนที่เกี่ยวข้องล้วนให้ความไว้วางใจให้ดูแลความปลอดภัย การทำงานจึงต้องอดทนได้ทุกสภาพแวดล้อม ทั้งอากาศและฝนตก และอาจจะมีความเสี่ยงระหว่างการทำงาน”
โดย SCImago Institutions Rankings (SIR) เป็นหน่วยงานการจัดอันดับสถาบันที่มีผลงานวิจัยในระดับนานาชาติ ซึ่งดำเนินการจัดอันดับองค์กรที่มีผลงานวิจัยทั่วโลก 7,533 แห่งทั่วโลก ซึ่งจะไม่ได้นับเฉพาะมหาวิทยาลัย แต่จะนับรวมสถาบันเฉพาะทางด้วย เช่น สถาบันเทคโนโลยี วิทยาลัย โรงพยาบาล สถาบันวิจัย เป็นต้น ซึ่งเป็นการจัดอันดับมหาวิทยาลัยรวมทั้งสถาบันวิจัยในแง่ของความสามารถในการเผยแพร่ผลงานวิชาการทุกประเภทของสถาบัน หรือมหาวิทยาลัยบนฐานข้อมูล