วันที่ 21 สิงหาคม 2567 กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แจ้งเตือน 8 จังหวัด ประกอบไปด้วย แม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย น่าน พะเยา แพร่ เพชรบูรณ์ ตาก ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ และพิษณุโลก เฝ้าระวังแผ่นดินถล่ม และน้ำป่าไหลหลาก ในระหว่างวันที่ 21-23 สิงหาคม 2567 โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยดินถล่ม ได้แก่
ทั้งนี้เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวมีฝนตกหนักวัดปริมาณน้ำฝนในรอบ 24 ชั่วโมงได้มากกว่า 100 มม. ประกอบกับมีฝนตกสะสมต่อเนื่องมาหลายวันทำให้ชั้นดินอุ้มน้ำไว้มากและเริ่มมีน้ำหลากในหลายพื้นที่และอาจจะส่งผลให้เกิดดินถล่มได้
ส่วนทางด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) กระทรวงมหาดไทย กำชับทุกจังหวัดเตรียมพร้อมรับมือสถานการณ์อุทกภัย โดยนายไชยวัฒน์ จุนถิระพงศ์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ในระยะนี้ยังคงมีฝนตกหนักในหลายพื้นที่ของประเทศไทย เนื่องด้วยร่องมรสุมพาดผ่านตอนบนภาคเหนือ และประเทศลาว ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย รวมถึงมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้ในระดับบน ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
นอกจากนี้ ยังมีมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย เริ่มมีกำลังแรงขึ้น ส่งผลให้หลายพื้นที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง และดินสไลด์ขึ้นได้ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงภัยและพื้นที่รับน้ำ เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมรับมือกับสาธารณภัยที่อาจจะเกิดขึ้นในหลายพื้นที่
กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จึงได้กำชับทุกจังหวัดเตรียมความพร้อมรับมือสถานการณ์ภัย โดยประสานพื้นที่จัดเจ้าหน้าที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์เพื่อแจ้งเตือนประชาชนได้ทันท่วงที จัดเตรียมพื้นที่รองรับน้ำและเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำและเตรียมป้องกันสถานที่สำคัญไม่ให้ได้รับผลกระทบจากเหตุน้ำท่วม
พร้อมวางแผนติดตั้งเครื่องจักรกลสาธารณภัยในพื้นที่เสี่ยงล่วงหน้า ตลอนจนกำชับศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต ทั้ง 18 ศูนย์เขต เตรียมพร้อมเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัย ยานพาหนะ เครื่องมือและอุปกรณ์ ให้พร้อมสนับสนุนการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยของจังหวัดในพื้นที่ที่รับผิดชอบและบริหารจัดการกระจายทรัพยากรเครื่องมือเครื่องจักรกลด้านสาธารณภัยเข้าประจำจุดเสี่ยงอันตรายและพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยให้ครอบคลุมทั่วถึงทุกพื้นที่ อีกทั้งเตรียมพร้อมกำลังเจ้าหน้าที่ชุดเผชิญสถานการณ์วิกฤต (ERT) ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านการกู้ภัยทางน้ำกว่า 180 นาย ให้พร้อมเผชิญเหตุและช่วยเหลือประชาชนทันที
นอกจากนี้ ยังได้ประสานจังหวัดให้ประชาสัมพันธ์ประชาชนทราบถึงแนวโน้มสถานการณ์ หลักเกณฑ์และแนวทางการให้ความช่วยเหลือจากภาครัฐผ่านช่องทางที่เข้าถึงประชาชนได้โดยตรง อาทิ หอกระจายข่าว เครือข่ายภาคประชาชน ตลอดจนให้การช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยให้จังหวัดจัดเตรียมศูนย์พักพิงชั่วคราวเพื่อรองรับผู้ประสบภัยในกรณีที่สถานการณ์รุนแรงและจำเป็นต้องอพยพประชาชนออกจากพื้นที่
ประชาชนสามารถติดตามรายงานคาดการณ์สาธารณภัยและประกาศแจ้งเตือนภัยในระดับพื้นที่ได้ผ่านช่องทางดังต่อไปนี้
หากได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัย สามารถแจ้งเหตุและขอความช่วยเหลือ