การประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 29 ตุลาคม 2567 มีมติอนุมัติ หลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลให้แก่บุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานานและกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาจักร เพื่อแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลของเด็ก นักเรียน นักศึกษา และบุคคลไร้สัญชาติที่เกิดในประเทศไทยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน และกลุ่มบุตรที่เกิดในประเทศกว่า 483,626 คน
สำหรับเบื้องลึกของเรื่อง สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) แจ้งสาระสำคัญว่า ที่ผ่านมา สมช. ได้ดำเนินการร่วมกับกระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวแก้ไขปัญหาผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคล
โดยได้มีการสำรวจและจัดทำทะเบียนประวัติกลุ่มเป้าหมายและผ่อนผันให้อาศัยอยู่ชั่วคราวในพื้นที่ที่กำหนด มีการรับรองสถานะให้กลุ่มเป้าหมายสามารถอาศัยอยู่ในประเทศอย่างถาวรมาแล้ว
สำหรับปัจจุบันชนกลุ่มน้อย/กลุ่มชาติพันธุ์ (กลุ่มเป้าหมาย 19 กลุ่ม) ที่อยู่ในไทย มีจำนวนทั้งสิ้น 825,635 คน ได้ดำเนินการให้สถานะคนต่างด้าวเข้าเมืองโดยชอบด้วยกฎหมาย (ใบสำคัญถิ่นที่อยู่) และอนุมัติให้สัญชาติไทยแก่กลุ่มเป้าหมายไปแล้ว 342,009 คน ยังคงเหลือกลุ่มเป้าหมายที่รอการพิจารณากำหนดสถานะมากถึง 483,626 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 8 กรกฎาคม 2567) โดยมีรายละเอียด ดังนี้
อย่างไรก็ตามการดำเนินการของทั้งสองกลุ่มนั้น หากนับเฉพาะผู้ที่กำลังรอพิจารณากำหนดสถานะ รวมกว่า 483,626 คน หากไม่มีการแก้ไขหลักเกณฑ์คาดว่าจะใช้เวลาถึง 44 ปี ถึงดำเนินการเสร็จสิ้น
สมช. รายงานถึงสภาพปัญหาในปัจจุบันเกี่ยวแก้ไขปัญหาผู้มีปัญหาสถานะและสิทธิของบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานานและกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาจักร มีดังนี้
1.การยื่นคำขอเจ้าหน้าที่ ต้องมีการสอบสวนผู้ขอและพยานบุคลที่น่าเชื่อถือ ประกอบพยานหลักฐาน เอกสารต่าง ๆ ต้องมีการตรวจสอบประวัติอาชญากรรมและพฤติการณ์ด้านความมั่นคงไปยังหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีการตรวจสอบหลายขั้นตอน โดยต้องผ่านการพิจารณาจาก คกก. ที่เกี่ยวข้องก่อนนำเสนอ นายกรัฐมนตรี และ รมว.มหาดไทย พิจารณาอนุญาต
2.เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่มีความรู้เชี่ยวขาญมีไม่เพียงพอรองรับจำนวนคนยื่นขอพิจารณาสถานะเป็นจำนวนมาก และมีการโยกย้ายสับเปลี่ยนการทำงาน
ดังนั้น สมช. จึงเสนอขออนุมัติหลักเกณฑ์เพื่อเร่งรัดการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลฯ เพื่อใช้ทดแทนหลักเกณฑ์ตามมติ ครม.เดิม โดยยึดกรอบหลักการเดิม (กลุ่มเป้าหมายเดิม) แต่เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขหลักเกณฑ์เพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปด้วยความรวดเร็ว
หลักเกณฑ์การพิจารณากำหนดสถานะบุคคล แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย
1.กรณีกลุ่มบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน
พิจารณาให้หนังสือรับรองการได้รับอนุญาตให้มีถิ่นที่อยู่ในราขอาญาจักรโดยให้ถือว่าหนังสือรับรองดังกล่าวเทียบเท่าใบสำคัญถิ่นที่อยู่ มีรายละเอียดดังนี้
- การยกเลิกหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติทั่วไปของผู้ยื่นคำขอ จากเดิมที่กำหนดหลักเกณฑ์เฉพาะของแต่ละกลุ่มเป้าหมาย (4 กลุ่ม) เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์ในภาพรวม เช่น ไม่สามารถกลับประเทศต้นทาง/ไม่มีจุดเกาะเกี่ยวใด ๆ กับประเทศต้นทาง หรือไม่ปรากฏหลักฐานการมีและใช้สัญชาติอื่น
- ปรับเปลี่ยนการยืนยันและรับรองคุณสมบัติของผู้ยื่นคำขอ จากเดิมเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการสอบสวนผู้อื่นคำขอและจะต้องตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นให้ผู้ยื่นคำขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเอง เช่น ความประพฤติ และประวัติอาชญากรรม
- ปรับเปลี่ยนผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุญาต จากเดิมจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการและคณะกรรมการที่เกี่ยวข้อง และเสนอ รมว.มหาดไทย และ นายกฯ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต เป็น ในกรณีผู้ยื่นคำขอมีภูมิลำเนาในเขต กทม. ให้ ผอ.สำนักกิจการความมั่นคงภายใน เป็นผู้พิจารณาอนุญาต กรณีจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. ให้นายอำเภอ เป็นผู้พิจารณาอนุญาต โดยให้มีตำรวจระดับผู้กำกับการขึ้นไปที่จังหวัดแต่งตั้งร่วมรับรองความประประพฤติของผู้อื่นคำขอ และให้อธิบดีกรมการปกครอง มีอำนาจดำเนินการทั่วราชอาณาจักร
สำหรับการปรับลดระยะเวลาในการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ นั้น เดิมจะใช้ระยะเวลาในการพิจารณานานถึง 270 วัน แต่ในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่จะลดระยะเวลาลงเหลือ 5 วันเท่านั้น แบ่งเป็น
ทั้งนี้ หากภายปรากฏว่าบุคคลที่ได้รับอนุญาตขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้าม หรือมีลักษณะไม่เป็นไปหลักเกณฑ์ที่กำหนดอาจถูกถอนการอนุญาตตาม ม.17 แห่ง พ.ร.บ. คนเข้าเมือง พ.ศ.2522
2.กรณีกลุ่มบุตรของชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย
สำหรับกลุ่มบุตรของชนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในราชอาณาจักรไทย จะพิจารณาให้สัญชาติไทย มีรายละเอียดดังนี้
- ปรับเพิ่มรายละเอียกลุ่มเป็น "บุตรของขนกลุ่มน้อยหรือกลุ่มชาติพันธุ์ที่เกิดในราชอาณาจักร" ให้มีความชัดเจน โดยต้องเป็นบุตรของบุคคลที่ได้รับการสำรวจจัดทำทะเบียนประวัติไว้ในอดีตจนถึงปี 2542 และที่สำรวจเพิ่มเติมปี 2548-54
- ปรับเปลี่ยนการยืนยันและรับรองคุณสมบัติของผู้อื่นคำขอ จากเดิมเจ้าหน้าที่จะต้องดำเนินการสอบสวนผู้ยื่นคำขอและจะต้องตรวจสอบประวัติอาชญากรรมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นให้ผู้ยื่นคำขอยืนยันและรับรองคุณสมบัติของตนเอง เช่น ความประพฤติ และประวัติอาชญากรรม
- ปรับเปลี่ยนการอนุญาต โดยจะใช้ภูมิลำเนาของผู้อื่นคำขอในเขตและจังหวัดอื่นนอกเขต กทม. เป็นเกณฑ์ โดยในเขต กทม. ให้ ผอ.สำนักบริหารการทะเบียน เป็นผู้พิจารณาอนุญาต ส่วนจังหวัดอื่น นอกเขต กทม. ให้นายอำเภอเป็นผู้พิจารณาอนุญาต โดยให้มีตำรวจระดับผู้กำกับการขึ้นไปที่จังหวัดแต่งตั้งตั้งร่วมรับรองความประพฤติของผู้อื่นคำขอ และอธิบดีกรมการปกครอง มีอำนาจดำเนินการทั่วราชอาณาจักร
สำหรับการปรับลดระยะเวลาในการดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ นั้น เดิมจะใช้ระยะเวลาในการพิจารณานานถึง 180 วัน แต่ในการปรับปรุงหลักเกณฑ์ใหม่จะลดระยะเวลาลงเหลือ 5 วันเท่านั้น แบ่งเป็น
ทั้งนี้ สมช. แจ้งว่า ในการประชุมสภาความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อวันที่ 7 ส.ค.2567 ซึ่งมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกฯ ในขณะนั้นเป็นประธาน และมีสมาชิกจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น รมว.กลาโหม รมว.มหาดไทย และรมว.ยุติธรรม เข้าร่วมประชุม ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ฯ ดังกล่าวแล้ว