ประกาศอัตราเงินสะสม-เงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง 2 ขยัก 0.25% และ 0.5%

23 พ.ย. 2567 | 10:08 น.
อัปเดตล่าสุด :23 พ.ย. 2567 | 10:28 น.

ราชกิจจาฯ ประกาศอัตราเงินสะสมและเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง 1 ต.ค. 2568 – 30 ก.ย. 2573 เก็บลูกจ้าง-นายจ้าง ฝ่ายละ 0.25% ตั้งแต่ 1 ต.ค. 2573 เป็นต้นไป เก็บฝ่ายละ 0.5% พร้อมกําหนดหลักเกณฑ์-วิธีจ่ายเงินกรณีลูกจ้างออกจากงาน-ตาย มีผล 1 ต.ค. 2568

เมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน ๒๕๖๗ เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ กฎกระทรวงกําหนดอัตราเงินสะสมและเงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง พ.ศ. ๒๕๖๗ 

อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา ๑๓๑ วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้  กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ เป็นต้นไป

ให้นายจ้าง และลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างตามมาตรา วรรคหนึ่ง จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบเข้ากองทุนเพื่อเป็นทุนสงเคราะห์ลูกจ้างในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย ตามบัญชีอัตราเงินสะสมและเงินสมทบ ดังต่อไปนี้ 

ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ ถึงวันที่ ๓๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๗๓ ให้เป็นไป ตามอัตราต่อไปนี้

คลิกดูจากราชกิจจานุเบกษา

 ผู้จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ :

-เงินสะสมของลูกจ้าง อัตราเงินสะสมและเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ๐.๒๕

-เงินสมทบของนายจ้าง อัตราเงินสะสมและเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง๐.๒๕

ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๗๓ เป็นต้นไป ให้เป็นไปตามอัตราต่อไปนี้

ผู้จ่ายเงินสะสมและเงินสมทบ :

-เงินสะสมของลูกจ้าง อัตราเงินสะสมและเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ๐.๕

-เงินสมทบของนายจ้าง อัตราเงินสะสมและเงินสมทบเป็นร้อยละของค่าจ้างของลูกจ้างซึ่งเป็นสมาชิกกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง ๐.๕

                              ประกาศอัตราเงินสะสม-เงินสมทบกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้าง 2 ขยัก 0.25% และ 0.5%

 

ขณะเดียวกัน ได้ประกาศกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการสงเคราะห์แก่ลูกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๘ 

นายจ้างต้องกําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการจ่ายเงินสงเคราะห์แก่ลูกจ้าง ในกรณีที่ลูกจ้างออกจากงานหรือตาย โดยจัดทําเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งอย่างน้อยต้องมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้

(๑) อัตราเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบของนายจ้าง

(๒) การจัดเก็บเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบของนายจ้าง

(๓) การตรวจสอบเงินสะสมของลูกจ้างและเงินสมทบของนายจ้าง 

(๔) การคํานวณดอกผลจากเงินสะสมและเงินสมทบที่ลูกจ้างจะได้รับ

(๕) การจ่ายเงินเมื่อลูกจ้างออกจากงานหรือตาย รวมถึงระยะเวลาการจ่ายเงิน ดังกล่าว และการกําหนดบุคคลผู้จะพึงได้รับเงินสงเคราะห์โดยพินัยกรรมหรือทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่นายจ้างกรณีลูกจ้างตายหรือเป็นบุคคลที่ศาลมีคําสั่งให้เป็นคนสาบสูญ

ทั้งนี้ ต้องไม่ตัดสิทธิของลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร 
ทุกครั้งที่มีการจ่ายค่าจ้าง ให้ลูกจ้างจ่ายเงินสะสม โดยให้นายจ้างหักจากค่าจ้างและ ให้นายจ้างจ่ายเงินสมทบ ตามอัตราที่กําหนด

ทั้งนี้ การจ่ายเงินสะสมและเงินสมทบต้องไม่ต่ำกว่าอัตราที่กองทุนสํารองเลี้ยงชีพกําหนด

นายจ้างมีหน้าที่นําเงินสะสมและเงินสมทบฝากไว้กับธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่น โดยจัดให้มีบัญชีเงินฝากเป็นชื่อของลูกจ้างแต่ละคน และมีเงื่อนไขที่ได้ตกลงไว้ต่อธนาคารพาณิชย์ หรือ สถาบันการเงินอื่น ดังต่อไปนี้

(๑) กรณีสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นกรณีนายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างลาออก ลูกจ้างเกษียณอายุ หรือตกลงเลิกสัญญา ให้นําหนังสือยืนยันการสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้างที่นายจ้างออกให้แก่ลูกจ้างแสดงต่อธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นสําหรับถอนเงินสงเคราะห์ 

(๒) กรณีลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือเป็นบุคคลที่ศาลมีคําสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้บุคคลผู้จะพึงได้รับ เงินสงเคราะห์ตามข้อ 4 นําเอกสารสําเนาใบมรณบัตรหรือหลักฐานที่ศาลสั่งให้เป็นคนสาบสูญแสดงต่อ ธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นสําหรับถอนเงินสงเคราะห์

นายจ้างต้องแจ้งชื่อธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่น ชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีให้ลูกจ้างทราบภายในเจ็ดวัน นับแต่วันที่มีการหักเงินสะสมครั้งแรก

ลูกจ้างมีสิทธิตรวจสอบบัญชีและเอกสารเกี่ยวกับเงินสะสมและเงินสมทบของลูกจ้าง และให้นายจ้างมีหน้าที่จัดทําระบบสําหรับการตรวจสอบเงินสะสมและเงินสมทบของลูกจ้าง หรือ แสดงรายการตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่เกี่ยวกับเงินสะสมและเงินสมทบให้ลูกจ้างทราบภายในสิบห้าวัน นับแต่วันที่ลูกจ้างยื่นคำขอ 

กรณีสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ไม่ว่าจะเป็นกรณีนายจ้างเลิกจ้าง ลูกจ้างลาออก ลูกจ้างเกษียณอายุ หรือตกลงเลิกสัญญา ให้นายจ้างคืนบัญชีเงินฝากที่ใช้สําหรับเก็บเงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าว พร้อมทั้งออกหนังสือยืนยันการสิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ให้แก่ลูกจ้าง ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่สิ้นสภาพการจ้าง เพื่อให้ลูกจ้างนําไปถอนเงินสงเคราะห์จากธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่น 

กรณีลูกจ้างถึงแก่ความตายหรือเป็นบุคคลที่ศาลมีคําสั่งให้เป็นคนสาบสูญ ให้เงิน สะสม เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าวตกแก่บุคคลผู้จะพึงได้รับเงินสงเคราะห์โดยพินัยกรรม หรือทําเป็นหนังสือมอบไว้แก่นายจ้าง หากลูกจ้างมิได้กําหนดบุคคลดังกล่าว หรือได้กําหนดไว้แต่บุคคลนั้น ตายก่อน ให้เงินสะสม เงินสมทบ และดอกผลของเงินดังกล่าวตกแก่ทายาทของลูกจ้างตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 

ทั้งนี้ ให้นายจ้างอํานวยความสะดวกแก่บุคคลดังกล่าวเมื่อได้รับการร้องขอ เพื่อให้บุคคลนั้นสามารถดําเนินการถอนเงินสงเคราะห์จากธนาคารพาณิชย์ หรือสถาบันการเงินอื่นได้

ให้ไว้ ณ วันที่ ๑๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๖๗ 

พิพัฒน์ รัชกิจประการ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน


คลิกดูเพิ่มเติมจากราชกิจจานุเบกษา