แจ้งเตือน 9 จังหวัด ระวังดินถล่ม 29 พ.ย. - 1 ธ.ค.นี้ เช็คพื้นที่เสี่ยง

29 พ.ย. 2567 | 07:30 น.
อัปเดตล่าสุด :29 พ.ย. 2567 | 07:48 น.

กรมทรัพยากรธรณี ประกาศแจ้งเตือนภาคใต้ 9 จังหวัด เฝ้าระวังดินถล่ม ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2567 เช็ครายละเอียด พื้นที่เสี่ยงทั้งหมดได้ที่นี่

กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แจ้งว่า เนื่องจากมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรงในขณะที่หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณช่องแคบมะละกาและประเทศมาเลเซีย

ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมาก วัดปริมาณน้ำฝนในรอบ 24 ชม.ได้มากกว่า 200 มิลลิเมตร ประกอบกับมีฝนตกสะสมต่อเนื่องหลายวันทำให้ชั้นดินอุ้มน้ำไว้มากอาจส่งผลให้เกิดแผ่นดินถล่มได้

ขอให้อาสาสมัครเครือข่ายในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล สงขลา พัทลุง ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส เฝ้าระวังภัยแผ่นดินถล่มและน้ำป่าไหลหลาก ในระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน - 1 ธันวาคม 2567 และขอให้เครือข่ายฯ ทธ. วัดปริมาณน้ำฝนอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการธรณีพิบัติภัย จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

พื้นที่เฝ้าระวังดินถล่ม 29 พ.ย.- 1 ธ.ค.นี้ 

ภาคใต้

สุราษฎร์ธานี : 

ท่าชนะ ไชยา กาญจนดิษฐ์ ดอนสัก พนม เกาะสมุย เกาะพงัน บ้านนาสาร วิภาวดี คีรีรัฐนิคม เวียงสระ พระแสง

นครศรีธรรมราช : 

สิชล ท่าศาลา ขนอม นบพิตํา พิปูน พรหมคีรี ร่อนพิบูลย์ ช้างกลาง ชะอวด นาบอน ทุ่งสง ฉวาง ลานสกา จุฬาภรณ์ ถ้ำพรรณรา ทุ่งใหญ่ บางขัน หัวไทร

ตรัง : 

ห้วยยอด เมืองตรัง ย่านตาขาว นาโยง ปะเหลียน วังวิเศษ สิเกา กันตัง หาดสําราญ รัษฎา สตูล : ทุ่งหว้า ละงู มะนัง เมืองสตูล ควนกาหลง ควนโดน

สงขลา : 

คลองหอยโข่ง ควนเนียง จะนะ เทพา นาทวี นาหม่อม เมืองสงขลา รัตภูมิ สะเดา สะบ้าย้อย หาดใหญ่ สิงหนคร ระโนด

พัทลุง : 

ป่าบอน ป่าพะยอม ตะโหมด ศรีนครินทร์ ศรีบรรพต กงหรา เมืองพัทลุง ควนขนุน เขาชัยสน ปากพะยูน บางแก้ว

ยะลา : 

เบตง กาบัง ธารโต ยะหา บันนังสตา รามัน เมืองยะลา กรงปินัง

ปัตตานี : 

โคกโพธิ์ กะพ้อ ทุ่งยางแดง ปะนาเระ มายอ แม่ลาน ยะรัง สายบุรี หนองจิก นราธิวาส : จะแนะ ศรีสาคร สุคิริน เจาะไอร้อง บาเจาะ ยี่งอ ระแงะ รือเสาะ แว้ง สุไหงปาดี เมืองนราธิวาส

แจ้งเตือน 9 จังหวัด ระวังดินถล่ม 29 พ.ย. - 1 ธ.ค.นี้ เช็คพื้นที่เสี่ยง

ข้อแนะนำ 

  • ติดตามข้อมูลสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝน โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีฝนตกหนักมากกว่า 100 มม./24 ชั่วโมง
  • พื้นที่ลุ่มต่ำ น้ำท่วมถึง ควรเก็บข้าวของ/สัตว์/สิ่งของต่างๆ ขนย้ายขึ้นที่สูง หรือที่ปลอดภัย
  • สังเกตสิ่งบอกเหตุต่างๆ เช่น สีของน้ำขุ่นข้น มีเศษซากไม้ลอยตามน้ำมา ฯลฯ
  • หลีกเลี่ยงการเดินทางข้ามทางน้ำ/เดินลัดลำน้ำ หรือลงน้ำหาปลา/สัตว์น้ำอื่น ๆ
  • ควรจัดเวรยามเฝ้าระวังตลอด 24 ชั่วโมง 
  • มีการแจ้งเตือนภัยตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และท้ายน้ำ
  • เตรียมไฟฉายหรืออุปกรณ์ส่องสว่างไว้ให้พร้อม
  • ตื่นตัวและเตรียมพร้อมไปยังจุดปลอดภัยอยู่เสมอ