น้ำท่วมหาดใหญ่ล่าสุด วันที่ 3 ธันวาคม 2567 เทศบาลนครหาดใหญ่ เปิดให้ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนหลังเหตุอุทกภัย ในเขตเทศบาลนครหาดใหญ่ลงทะเบียนขอรับความช่วยเหลือ รับเงินเยียวยาน้ำท่วมปี 2567 ตั้งแต่วันที่ 6-13 ธันวาคม 2567 สำหรับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนสามารถตรวจสอบจุดลงทะเบียน วัน-เวลาสถานที่ดังนี้
น้ำท่วมหาดใหญ่ เปิดลงทะเบียนรับเงินเยียวยาน้ำท่วมวันไหน เวลากี่โมง
- วันที่ 6-13 ธันวาคม 2567
- เวลา 09.00 น. - 16.30 น.
น้ำท่วมหาดใหญ่ ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาน้ำท่วมผ่านช่องทางใดบ้าง
- ลงทะเบียนออนไลน์ ผ่านทาง QR Code (ตลอด 24 ชั่วโมง)
- ณ จุดลงทะเบียน 7 จุด ดังนี้ (ไปจุดไหนก็ได้ตามความสะดวกของท่าน)
น้ำท่วมหาดใหญ่ จุดลงทะเบียนรับเงินเยียวยาน้ำท่วมอยู่ที่ไหนบ้าง
- โรงเรียนเทศบาล 3 (โศภนพิทยาคุณานุสรณ์)
- โรงเรียนธรรมศึกษามูลนิธิ
- ที่ทำการชุมชนศาลาลุงทอง
- โรงเรียนเทศบาล 2 (บ้านหาดใหญ่)
- หลังสถานีดับเพลิงศรีภูวนารถ
- วัดหาดใหญ่ใน
- สำนักงานเทศบาลนครหาดใหญ่
น้ำท่วมหาดใหญ่ ลงทะเบียนรับเงินเยียวยาน้ำท่วมต้องใช้เอกสารประกอบการลงทะเบียน แบ่งเป็น 3 กรณี ดังนี้
กรณีเจ้าของบ้านร้องขอด้วยตนเอง
- สำเนาบัตรประชาชนเจ้าบ้าน, ผู้อาศัยที่อยู่จริง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน คนละ 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าบ้าน, ผู้อาศัยที่อยู่จริง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน คนละ 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านหลังที่ประสบภัย พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
- หนังสือรับรองบ้านไม่มีเลขที่ (กรณีบ้านที่ประสบภัย ไม่มีบ้านเลขที่) พร้อมแนบสำเนาบัตรของผู้รับรองมาด้วย จำนวน 1 ฉบับ
- รูปถ่ายสถานที่เกิดเหตุ รูปถ่ายจุดที่ได้รับความเสียหายอย่างละเอียด (อย่างน้อย 4 ภาพ)
กรณีเจ้าของบ้านให้บุคคลอื่นยื่นแทน
- สำเนาบัตรประชาชนเจ้าบ้าน, ผู้อาศัยที่อยู่จริง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน คนละ 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านหลังที่ประสบภัย พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านผู้อาศัยที่อยู่จริง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
- สำเนาบัตรประชาชนของผู้ยื่นแทน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นแทน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
- หนังสือมอบอำนาจ จำนวน 1 ฉบับ พร้อมติดอากรแสตมป์ จำนวน 30 บาท
- หนังสือรับรองบ้านไม่มีเลขที่ (กรณีบ้านที่ประสบภัย ไม่มีบ้านเลขที่) พร้อมแนบสำเนาบัตร ของผู้รับรองมาด้วย จำนวน 1 ฉบับ
- รูปถ่ายสถานที่เกิดเหตุ รูปถ่ายจุดที่ได้รับความเสียหายอย่างละเอียด (อย่างน้อย 4 ภาพ)
กรณีบ้านเช่า
- สำเนาบัตรประชาชนผู้เช่า, ผู้อาศัยที่อยู่จริง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน คนละ 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เช่า, ผู้อาศัยที่อยู่จริง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน คนละ 1 ฉบับ
- สำเนาทะเบียนบ้านหลังที่ประสบภัย พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง จำนวน 1 ฉบับ
- สัญญาเช่าบ้าน จำนวน 1 ฉบับ ( กรณีไม่มีสัญญาเช่าบ้าน ให้ใช้หนังสือรับรองบ้านเช่า จำนวน 1 ฉบับพร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้านของผู้ให้เช่า อย่างละ 2 ฉบับ)
- รูปถ่ายสถานที่เกิดเหตุ รูปถ่ายจุดที่ได้รับความเสียหายอย่างละเอียด (อย่างน้อย 4 ภาพ)
ขณะที่สถานการณ์ภาพรวมน้ำท่วมสงขลา ข้อมูลอัปเดตล่าสุดวันที่ 3 ธันวาคม 2567 นายวิทยา จันทน์เสนะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา เผยว่าประชาชนได้รับผลกระทบ 16 อำเภอ เสียชีวิต 10 ราย พร้อมเตือนประชาชนเตรียมรับมือฝนระลอกใหม่ระหว่าง 3 - 12 ธันวาคม 2567
สำหรับสถานการณ์อุทกภัย วาตภัย และดินโคลนถล่ม 2567 น้ำท่วมสงขลา ระหว่างวันที่ 26 พฤศจิกายน - 3 ธันวาคม 2567 กระทบกับประชาชนในพื้นที่ โดยพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 16 อำเภอ 125 ตำบล 949 หมู่บ้าน 249 ชุมชน ประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวน 235,896 ครัวเรือน รวม 691,016 ราย มีผู้เสียชีวิตสะสมแล้ว 10 ราย ส่วนใหญ่เกิดจากการจมน้ำหรืออุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในพื้นที่น้ำท่วม
ส่วนสถานการณ์ความเสียหายด้านทรัพย์สินและสิ่งสาธารณะประโยชน์ได้รับผลกระทบอย่างหนัก โดยบ้านเรือนประชาชนเสียหายทั้งหมด 19 หลัง รวมถึงพื้นที่การเกษตรถูกน้ำท่วมกว่า 59,096 ไร่ ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรในพื้นที่อย่างมาก นอกจากนี้ยังมีสัตว์เลี้ยงที่ได้รับผลกระทบกว่า 74,700 ตัว และถนนที่ได้รับความเสียหาย 245 สาย ซึ่งทำให้การคมนาคมในบางพื้นที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ รวมถึงวัดและสถานศึกษา 113 แห่ง และ 512 แห่งตามลำดับที่ถูกน้ำท่วม ทำให้การดำเนินชีวิตในพื้นที่ดังกล่าวหยุดชะงัก
ทั้งนี้จังหวัดสงขลา ได้ออกมาเตือนประชาชนในพื้นที่เสี่ยง หลัง กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ออกประกาศเกี่ยวกับฝนตกหนักระลอกใหม่ในช่วงระหว่างวันที่ 3 - 12 ธันวาคม 2567 ซึ่งอาจจะทำให้สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ภาคใต้ รวมถึงจังหวัดสงขลายังคงรุนแรงต่อเนื่อง โดยคาดว่าอาจเกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่และมีน้ำท่วมขังในบางจุด อีกทั้งน้ำจากพื้นที่สูงจะไหลลงสู่พื้นที่ต่ำ ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำและลำคลองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ประชาชนในพื้นที่เสี่ยงภัยต้องเฝ้าระวังและเตรียมตัวรับมือสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้น
ที่มาข้อมูล-ภาพ
- เทศบาลนครหาดใหญ่
- จังหวัดสงขลา