วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 17.00 น. กรมอุตุนิยมวิทยา ออกประกาศกรมอุตุนิยมวิทยา ฉบับที่ 7 เรื่อง ฝนตกหนักถึงหนักมากบริเวณภาคใต้ มีผลกระทบตั้งแต่วันที่ 4-5 ธันวาคม 2567 โดยจังหวัดที่คาดว่าจะมีฝนตกหนักถึงหนักมากมีดังนี้
ทั้งนี้เนื่องจากในช่วงวันที่ 4-5 ธ.ค. 67 หย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซีย มีแนวโน้มเคลื่อนลงสู่ช่องแคบมะละกา ส่งผลทำให้มีแนวลมพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงเหนือและลมตะวันออกบริเวณภาคใต้ตอนล่างประกอบกับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดปคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง
ขอให้ประชาชนในบริเวณดังกล่าว ระวังอันตรายจากฝนตกหนักถึงหนักมากและฝนที่ตกสะสม ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากและน้ำล้นตลิ่ง โดยเฉพาะพื้นที่ลาดเชิงเขาใกล้ทางน้ำไหลผ่านและพื้นที่ลุ่มไว้ด้วย
สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตรและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
จึงขอให้ประชาชนติดตามประกาศจากกรมอุตุนิยมวิทยา และสามารถติดตามข้อมูลที่เว็บไซต์กรมอุตุนิยมวิทยา หรือที่ 0-2399-4012-13 และ 1182 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง กรมอุตุนิยมวิทยาจะออกประกาศฉบับต่อไปใน วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567 เวลา 05.00 น.
ด้านกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ได้แจ้งเตือน 12 จังหวัดในพื้นที่ภาคใต้ เฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมขัง ดินถล่ม น้ำล้นอ่างเก็บน้ำ และน้ำล้นตลิ่ง ในช่วงวันที่ 5 - 11 ธ.ค. 67
จังหวัดชุมพร 8 อำเภอ
จังหวัดสุราษฎร์ธานี 12 อำเภอ
จังหวัดนครศรีธรรมราช 18 อำเภอ
จังหวัดพัทลุง 6 อำเภอ
จังหวัดสงขลา 14 อำเภอ
จังหวัดปัตตานี 12 อำเภอ
จังหวัดยะลา 8 อำเภอ
จังหวัดนราธิวาส 13 อำเภอ
จังหวัดพังงา 2 อำเภอ
จังหวัดภูเก็ต
จังหวัดตรัง 6 อำเภอ
จังหวัดสตูล 5 อำเภอ
พื้นที่เฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดกลางและเล็กที่มีปริมาณน้ำมากกว่าร้อยละ 80 บริเวณจังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดสงขลา จังหวัดยะลา และอ่างเก็บน้ำที่มีสถิติปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากกว่าความจุเก็บกักที่มีความเสี่ยงน้ำล้นอ่างฯ และส่งผลกระทบให้น้ำท่วมบริเวณด้านท้ายน้ำ
สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่โดยเฉพาะเขื่อนบางลาง จังหวัดยะลา ปัจจุบันมีระดับน้ำในเขื่อนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในระดับที่มีความเสี่ยง อาจส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของเขื่อน ให้พิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม ไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบบริเวณท้ายเขื่อนน้อยที่สุด และให้คำนึงถึงความปลอดภัยของเขื่อนด้วย
พื้นที่เฝ้าระวังระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันและระดับน้ำล้นตลิ่งและท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำบริเวณแม่น้ำสายหลักและลำน้ำสาขาของ คลองชุมพร แม่น้ำหลังสวน แม่น้ำตาปี คลองท่าดี คลองชะอวด แม่น้ำตรัง คลองลำ คลองท่าแนะ คลองอู่ตะเภา แม่น้ำสายบุรี แม่น้ำปัตตานี แม่น้ำบางนรา แม่น้ำโก-ลก และคลองตันหยงมัส
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคตะวันออก
ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)
ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)
กรุงเทพและปริมณฑล