นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า กระทรวงคมนาคม ได้มอบนโยบายให้ทุกหน่วยงานจัดเตรียมแผนอำนวยความสะดวกปลอดภัยรองรับการเดินทางของประชาชนในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
ทั้งนี้ได้สั่งการให้ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนการเดินขบวนรถไฟฟ้าให้เพียงพอและขยายระยะเวลาการให้บริการ
นอกจากนี้ตลอดจนจัดเตรียมมาตรการด้านความปลอดภัย เพื่ออำนวยความสะดวกและรองรับการเดินทางของประชาชนที่จะเดินทางไปร่วมกิจกรรมในคืนเคานต์ดาวน์ตามสถานที่ที่เป็นแลนด์มาร์กสำคัญของกรุงเทพมหานคร ได้แก่ บริเวณไอคอนสยาม วันแบ็งค็อก และเซ็นทรัลเวิลด์
ขณะเดียวกัน รฟม. พร้อมด้วยผู้รับสัมปทานเดินรถไฟฟ้ามหานครทั้ง 4 สาย ได้แก่
สำหรับการขยายเวลาสิ้นสุดการให้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง สายสีน้ำเงิน สายสีเหลือง และสายสีชมพู ในวันที่ 31 ธันวาคม 2567 เวลา 06:00 น. ถึงวันที่ 1 มกราคม 2568 เวลา 02:00 น. โดยรถไฟฟ้าเที่ยวสุดท้ายจะออกจากสถานีต้นทาง/ปลายทาง ในเวลา 02.00 น.
นายสุรพงษ์ กล่าวต่อว่า ยังได้ยกเว้นค่าบริการที่จอดรถ และขยายเวลาให้บริการอาคารและลานจอดแล้วจรของรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง สายสีน้ำเงิน สายสีเหลือง และรถไฟฟ้าสายสีเขียว ตั้งแต่เวลา 05:00 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ถึงเวลา 01:00 น. ของวันที่ 2 มกราคม 2568
ขณะเดียวกันรวมถึงรถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู ตั้งแต่เวลา 05:00 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม 2567 ถึงเวลา 02:00 น. ของวันที่ 2 มกราคม 2568 เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนใช้บริการขนส่งสาธารณะในการเดินทางไปเฉลิมฉลองเทศกาลปีใหม่ 2568 โดยนำรถส่วนบุคคลมาจอดและเดินทางต่อด้วยรถไฟฟ้า
ทั้งนี้ประชาชนสามารถนำรถมาจอดที่อาคารและลานจอดแล้วจรได้ ดังนี้ - รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ประกอบด้วย
อาคารจอดแล้วจร 4 แห่ง
รถไฟฟ้า MRT สายสีน้ำเงิน ประกอบด้วย อาคารจอดแล้วจร 4 แห่ง
ลานจอดแล้วจร 11 แห่ง
รถไฟฟ้าสายสีเขียว โดยมีลานจอดแล้วจรในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงแบริ่ง - สมุทรปราการ จำนวน 1 แห่ง
อาคารจอดแล้วจรในแนวสายทางรถไฟฟ้าสายสีเขียว ช่วงหมอชิต - สะพานใหม่ - คูคต จำนวน 2 แห่ง
รถไฟฟ้า MRT สายสีเหลือง อาคารจอดแล้วจร จำนวน 1 แห่ง
รถไฟฟ้า MRT สายสีชมพู อาคารจอดแล้วจร จำนวน 1 แห่ง
นายวิทยา พันธุ์มงคล รองผู้ว่าการ (ปฏิบัติการ) รักษาการแทนผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า รฟม. ได้กำชับให้ผู้รับสัมปทานรถไฟฟ้าทุกสาย จัดเตรียมมาตรการต่างๆ ในระบบรถไฟฟ้า เพื่อรองรับการเดินทางของประชาชน โดยจัดเตรียมขบวนรถเสริมให้เพียงพอต่อการให้บริการในกรณีที่มีผู้โดยสารหนาแน่นในระบบรถไฟฟ้าและไม่ให้มีผู้โดยสารตกค้าง
“ได้เน้นย้ำประชาสัมพันธ์ให้ผู้โดยสารทราบถึงเวลาเปิด – ปิดให้บริการรถไฟฟ้า และขบวนรถไฟฟ้าเที่ยวสุดท้ายให้ผู้โดยสารทราบอย่างทั่วถึง การเตรียมความพร้อมของเจ้าหน้าที่สถานีให้พร้อมปฏิบัติงานและจัดเตรียมช่องทางพิเศษ” นายวิทยา กล่าว
สำหรับจําหน่ายเหรียญโดยสาร/บัตรโดยสาร เตรียมไว้ในสถานีที่คาดว่าจะมีผู้ใช้บริการจำนวนมาก เช่น
ด้านการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์การใช้ระบบรถไฟฟ้าอย่างปลอดภัย รวมถึงเตรียมแผนการเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้น
สำหรับมาตรการรักษาความปลอดภัย รฟม. ได้จัดวางอัตรากำลังพนักงานรักษาความปลอดภัย พนักงานกู้ภัย พนักงานรักษาเขตทาง พนักงานพิสูจน์ทราบ (EOD) พนักงานผู้บังคับสุนัข (K-9) และเจ้าหน้าที่ตํารวจพร้อมสุนัขตรวจค้นพัสดุภัณฑ์ระเบิดจากกองบังคับการสายตรวจและปฏิบัติการพิเศษ ปฏิบัติหน้าที่พิสูจน์ทราบวัตถุต้องสงสัยร่วมกับแผนกพิสูจน์ทราบ (EOD)
อย่างไรก็ตามรฟม.ได้เพิ่มความเข้มงวดและความถี่ในการตรวจตรา เฝ้าระวังและอำนวยความสะดวกโดยรอบสถานีรถไฟฟ้า อาคารและลานจอดแล้วจร รวมถึงมีการจัดพนักงานสื่อสารประจำศูนย์วิทยุพสุธาตรวจตราทาง CCTV และรับแจ้งเหตุผิดปกติทางหมายเลขโทรศัพท์แจ้งเหตุฉุกเฉินด้วย