กองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (กองทุน ววน.) โดย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) และหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมสนับสนุนงานวิจัยองค์ความรู้ทางวิชาการการพัฒนาศักยภาพพื้นที่เมืองชายแดน “แม่ฮ่องสอนโมเดล” พัฒนาพื้นที่ พัฒนาคน เครือข่ายความร่วมมือการพัฒนาที่ยั่งยืนเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน
เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต สังคมสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจเมืองชายแดน ผ่านการประชุมเชิงปฏิบัติการแม่ฮ่องสอนโมเดล ( Mae Hong Son Model) สู่การยกระดับต้นแบบการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าเมืองชายแดน โดยมีกลุ่มเป้าหมายผู้บริหารและเจ้าหน้าที่หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองแม่ฮ่องสอน นักวิจัยในกรอบการวิจัย ภาครัฐ ภาคราชการ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม
นายชูชีพ พงษ์ไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตั้งอยู่ในพื้นที่ชายแดนทางภาคเหนือของประเทศไทย ซึ่งมีเอกลักษณ์โดดเด่นจากวัฒนธรรมที่หลากหลายของชนเผ่าและทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์
แต่ด้วยลักษณะภูมิประเทศที่เป็นภูเขาสลับซับช้อน ทำให้การเข้าถึงและการพัฒนามีข้อจำกัดเมื่อเทียบกับพื้นที่อื่น ๆ ในประเทศ และด้วยการมองเห็นศักยภาพในการพัฒนาอย่างยั่งยืน “Mae Hong Son Model” จึงได้รับการออกแบบบเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาที่เหมาะสมกับบริบทเฉพาะของพื้นที่
โดยเน้นการยกระดับองค์ความรู้ในพื้นที่ การสร้างต้นแบบการพัฒนาที่สอดคล้องกับเศรษฐกิจสังคมและสิ่งแวดล้อมของพื้นที่ รวมถึงการเสริมสร้างความเข้มแข็งของพื้นที่และสร้างความมั่นคงระดับประเทศ แนวทางการพัฒนาเมืองชายแดนในมิติที่หลากหลาย พื้นที่ชายแดนของไทยโดยเฉพาะในภาคเหนือ มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาร่วมกันแทนที่จะแข่งขันกันเพียงลำพัง
แนวทางการพัฒนานี้ต้องเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาโครงข่ายถนน ถือเป็นสิ่งสำคัญในการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้า
โดยเส้นทางเหล่านี้เชื่อมโยงกลุ่มจังหวัดภาคเหนือและอาเซียน นอกจากนี้ยังสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศ การพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการยกระดับเศรษฐกิจในพื้นที่ การพัฒนาผู้ผลิตรายย่อยในพื้นที่ผ่านการจัดอบรมด้านการตลาดและเทคโนโลยี โดยเฉพาะการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า
รวมถึงการสร้างเครือข่ายพื้นที่ที่เข้มแข็ง การพัฒนาคลัสเตอร์ การสร้างเครือข่ายทั้งในรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการเพื่อขยายตลาดและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทำให้การค้าขยายตัวได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ด้านรองศาสตราจารย์ ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่หรือ บพท. กล่าวว่า กิจกรรมประชุมเชิงปฏิบัติการ Mae Hong Son Model จัดขึ้นเพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และประชาชนในพื้นที่
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า ยกระดับเศรษฐกิจชุมชน และสร้างประชาคมที่แข็งแกร่งผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมที่แท้จริงด้วยเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืน Mae Hong Son Model จึงเป็นต้นแบบที่นำศักยภาพของท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เสริมสร้างความมั่นคงให้กับชุมชนและส่งเสริมความเชื่อมโยงในระดับภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม
เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับศักยภาพของพื้นที่ในด้านต่าง ๆ อาทิ การเกษตร การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และทรัพยากรธรรมชาติ สร้างความเข้าใจในความต้องการและโอกาสในการพัฒนาส่งเสริมฐานการเรียนรู้ของพื้นที่ โ
โดยกำหนดเป้าหมายตัวชี้วัดและระยะเวลาการดำเนินงานที่ชัดเจน สร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกพื้นที่ให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่องและยั่งยืน “การยกระดับเศรษฐกิจร่วมของพื้นที่เมืองชายแดน”
ภายใต้แผนงานย่อยรายประเด็น “การพัฒนาเศรษฐกิจและกระจายความเจริญในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ” ประจำปีงบประมาณ 2567 ของแผนด้าน ววน. 2566-2570 กองทุน ววน.โดย สกสว. ที่ดำเนินการโดย บพท.
สำหรับแนวทางการพัฒนาเมืองชายแดนในมิติที่หลากหลายพื้นที่ชายแดนของไทย โดยเฉพาะในภาคเหนือ ที่มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาร่วมกัน แทนที่จะแข่งขันกันเพียงลำพัง แนวทางการพัฒนาจึงต้องเน้นการเสริมสร้างความร่วมมือและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจ ได้แก่
1. การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาโครงข่ายถนนถือเป็นสิ่งสำคัญในการอำนวยความสะดวกด้านการขนส่งสินค้า โดยเส้นทางเหล่านี้เชื่อมโยงกลุ่มจังหวัดภาคเหนือและอาเซียน
นอกจากนี้ยังสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในพื้นที่เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดทั้งในและต่างประเทศ
2. การส่งเสริมทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาผู้ผลิตรายย่อยในพื้นที่ผ่านการจัดอบรมด้านการตลาดและเทคโนโลยี โดยเฉพาะการใช้แพลตฟอร์มออนไลน์เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้า รวมถึงการสร้างเครือข่ายชุมชนที่เข้มแข็ง ซึ่งเริ่มจากการหาตัวแทนในพื้นที่เพื่อพัฒนาศักยภาพและความเชี่ยวชาญในระยะยาว
3. การพัฒนาเครือข่ายการค้า การสร้างเครือข่ายทั้งในรูปแบบทางการและไม่เป็นทางการเพื่อขยายตลาดและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ทำให้การค้าขยายตัวได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ศาสตราจารย์ ดร.รัศมี ชูทรงเดช เมธีวิจัยอาวุโส และ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการอำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริม วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม หรือ สกสว. ร่วมบรรยายพิเศษ เรื่อง“รู้อดีต เข้าใจปัจจุบัน นำพาอนาคตชายแดนแม่ฮ่องสอนสู่โมเดลการพัฒนาเมืองชายแดน จากฐานการเรียนรู้” ระบุว่าการพัฒนาเมืองชายแดนต้องมองตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต
ผ่านการฉายภาพจังหวัดแม่ฮ่องสอนในแต่ละช่วงเวลา ทั้งจากอดีต หลักฐานทางประวัติศาสตร์โบราณคดี เรื่อยลงมาจนถึงการพัฒนาในระยะเวลา 30 ปีที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน และหากจะพัฒนาต่อสู่อนาคต ควรมองอย่างไร ร่วมถึงงานองค์ความรู้วิชาการงานวิจัยที่ควรจะต้องดำเนินการ ทั้งนี้ต้องมีการวิเคราะห์ภาพทั้งระบบ
1. พื้นที่ ประกอบด้วย ภูมิประเทศ โครงสร้างพื้นฐาน เส้นทาง
2. คน กลุ่มชาติพันธุ์และความหลากหลาย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (หน่วยราชการ เอกชน องค์กรระหว่างประเทศ ชุมชน)การจัดองค์กรการเคลื่อนย้าย (ค้าขาย เครือญาติ สงคราม แรงงานขุดแร่ธาตุ)
3. ทรัพยากร ที่มีทั้งมิติทางธรรมชาติด้านป่าไม้ แร่ธาตุ พื้นที่ทางเกษตร รวมถึงพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวต่างๆ
4. นโยบายที่เกี่ยวข้อง กฎหมายที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งบริบทภายในประเทศภายนอกประเทศที่สัมพันธ์กับการพัฒนาเมืองชายแดน
5. เครือข่ายผู้เกี่ยวข้อง เครือข่ายวัฒนธรรมร่วม “Soft Power” เครือญาติสองแผ่นดิน เครือข่ายทุนในประเทศ ระหว่างประเทศ
โจทย์ที่เป็นแนวทางพัฒนาเน้นเสริมสร้างความร่วมมือและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างเป็นธรรม การเข้าใจพื้นฐานมรดกวัฒนธรรมร่วม การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การพัฒนาเครือข่ายการค้าของเมืองชายแดน และโมเดลทิศทางการวิจัย
ควรจะประกอบด้วย งานวิจัยชั้นแนวหน้า งานวิจัยเชิงพื้นที่ งานวิจัยท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการพัฒนานักวิจัยเฉพาะทาง บูรณาการ (Hybrid) & ท้องถิ่น เพื่อเกิดวิจัยข้ามพรมแดน เครือข่ายวิชาการระดับนานาชาติ และสุดท้ายต้องพัฒนา Regional integrated Research (ระดับชาติ & นานาชาติ)
การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อบูรณาการองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และสร้างกลไกความร่วมมือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกพื้นที่ เพื่อร่วมกันวางแผนและกำหนดทิศทางการพัฒนาพื้นที่ชายแดนแม่ฮ่องสอน จากฐานการเรียนรู้สู่การปฏิบัติให้เกิดขึ้นอย่างแท้จริง ตลอดจนนำไปสู่การสร้างงาน สร้างรายได้ไห้กับพื้นที่อย่างต่อเนื่องและยังยืน
จากการรวบรวมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน ภาศวิชและประชาชนในพื้นที่ และเพื่อพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า ยกระดับเศรษฐกิจพื้นที่ สร้างประชาคมที่แข็งแกร่งผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมที่แท้จริงด้วยเป้าหมายในการพัฒนาอย่างยั่งยืน Mae Hong Son Model จึงเป็นต้นแบบที่นำศักยภาพของท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้อย่างเหมาะสม เสริมสร้างความมั่นคงให้กับพื้นที่และส่งเสริมความเชื่อมโยงในระดับภูมิภาคอย่างเป็นรูปธรรม