ครม. ผ่านแผนการคลังระยะปานกลาง ตั้งเป้าจีดีพี ปี 2563-2564 ขยายตัว 3.5-4.5

28 พ.ค. 2561 | 14:03 น.
อัปเดตล่าสุด :28 พ.ค. 2561 | 21:03 น.
-28 พ.ค.2561- นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมครม. เห็นชอบแผนการคลังระยะปานกลาง ปีงบประมาณ 2562-2564 และกรอบการบริหารหนี้สาธารณะตาม พ.ร.บ.วินัยการเงินการคลังของรัฐปี2561 หลังจาก พ.ร.บ.วินัยทางการเงินการคลังมีผลบังคับใช้ รัฐบาลจึงได้จัดทำแผนงานล่วงหน้า 3 ปี เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติ หลังจากระยะสั้นเน้นฟื้นฟูเศรษฐกิจให้เติบโตจากการขาดดุลงบประมาณ สำหรับคลังระยะปานกลาง ตั้งเป้าหมายให้เศรษฐกิจไทยปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.2-4.7 ในปี 2562 ขยายตัวร้อยละ 3.9-4.9 ในปี 2563-2564 ขยายตัวร้อยละ 3.5-4.5 ขณะที่หนี้สาธารณะของรัฐบาลต่อจีดีพีในปีงบประมาณ 2561 กำหนดกรอบความยั่งยืนให้อยู่ร้อยละ 42.6 จากนั้นปีงบประมาณ 2564 อยู่ที่ร้อยละ 47.3 โดยยังอยู่ภายใต้กรอบวินัยทางการคลังที่ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อจีดีพี
20171212024007 ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า รัฐบาลประมาณการรายจ่ายปีงบประมาณ 2561 จำนวน 2.9 ล้านล้านบาท และเพิ่มเป็น 3.3 ล้านล้านบาทในปีงบประมาณ 2564 จากนั้นการขาดดุลงบประมาณจะเริ่มลดลง และเพิ่มเข้าสู่สมดุลปี 2565 ด้วยการประมาณรายรายได้สุทธิปี 2561 จำนวน 2.45 ล้านล้านบาท และเพิ่มเป็น 2.55 ล้านล้านบาทในปี 2562 เพิ่มเป็นยอด 2.74 ล้านล้านบาทในปี 2563 เพิ่มเป็น 2.77 ล้านล้านบาทในปี 2564 การเพิ่มงบประมาณช่วงนี้ เพราะว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานอย่างต่อเนื่อง แต่จัดสรรผ่านการร่วมลงทุนแบบ PPP จากภาคเอกชนและกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน แต่จะทยอยลดการขาดดุลการคลังเพื่อไปสู่สมดุล ส่วนการใช้งบประมาณในลักษณะประชานิยมจะต้องรายงานแผนการใช้เงิน ผลรับ ผลเสีย การตั้งงบประมาณชำระหนี้คืนแต่ละปีอย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้ภาระนี้ต่อรายได้งบประมาณเกินร้อยละ 35
ec613f2f-90e1-4b1d-aec3-b9754a58ae87 ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า สำหรับเป้าหมายระยะกลางได้เน้นการบริหารรายได้และรายจ่ายให้อยู่ภายใต้กรอบความยั่งยืนทางการคลัง ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีและการปรับอัตราภาษีที่เหมาะสม เพื่อขยายฐานภาษีให้ครอบคลุมและเสียภาษีอย่างถูกต้อง เพราะไทยมีฐานภาษีเพียง 4 ล้านคนในปัจจุบัน รวมถึงการติดตามและเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการต่าง ๆ ที่ดำเนินการไปแล้ว การลดภาระด้านรายจ่ายของรัฐบาลที่เป็นรายได้ประจำ โดยเฉพาะรายจ่ายด้านบุคลากรและรายจ่ายที่มีลักษณะเป็นเงินอุดหนุนระยะสั้น ส่งเสริมการออมระยะยาวรองรับการเข้าสังคมผู้สูงอายุ รวมถึงการสนับสนุนและเร่งรัดการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานรูปแบบใหม่ที่จะลดภาระการลงทุนของรัฐบาล

นายณัฐพร กล่าวเพิ่มเติมว่า หนี้สาธารณะคงค้าง ณ สิ้นไตรมาส 2 ปีงบประมาณ 2561 ประกอบด้วย หนี้ที่รัฐบาลกู้ตรง 5.14 ล้านล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจ 918,047 ล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นสถาบันการเงิน (รัฐบาลค้ำประกัน 381,047 ล้านบาท และหนี้ของหน่วยงานภาครัฐอื่น 9,195 ล้านบาท) รวมยอดหนี้สาธารณะคงค้าง 6,453,832 ล้านบาท หรือร้อยละ 41.17 ของจีดีพี ซึ่งเป็นไปตามกรอบความยั่งยืนทางการคลังที่กำหนดให้สัดส่วนดังกล่าวไม่เกินร้อยละ 60