เปิดขั้นตอนการอุทธรณ์สู้คดีของ“เปรมชัย”กรณีติดสินบนคดีเสือดำ เผยตามระบบของศาลอาญาคดีทุจริตฯ หากชั้นอุทธรณ์สั่งยืนตามศาลชั้นต้นสั่งจำคุก ต้องส่งตัวเข้าคุกทันที เหตุมีแค่ 2 ศาล คือ ศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์
หลังศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบภาค 7 พิพากษาจำคุก นายเปรมชัย กรรณสูต ในคดีติดสินบนเจ้าพนักงาน จากคดีฆ่าเสือดำ โดยให้จำคุกเป็นเวลา 1 ปี ไม่รอลงอาญา และศาลอนุญาตให้ประกันตัวเพื่ออุทธรณ์สู้คดี ด้วยวงเงินประกัน 200,000 บาท ภายใต้เงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ นั้น
ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบ พ.ศ. 2559 ข้อ 27 ระบุว่า ในการยื่นคําร้องขออนุญาตฎีกาของจําเลย ซึ่งไม่ได้ถูกคุมขัง จําเลยต้องมาแสดงตนต่อเจ้าพนักงานศาล โดยให้นําหมวด 3 มาใช้บังคับด้วยโดยอนุโลม
ข้อ 28 คําร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาไว้พิจารณาต้องแสดงถึง
1. ปัญหาข้อเท็จจริงหรือปัญหาข้อกฎหมายที่ขออนุญาตฎีกา และ
2. ปัญหาที่ขออนุญาตฎีกานั้นเป็นปัญหาสําคัญดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 46 หรือในข้อบังคับนี้ ซึ่งศาลฎีกาควรรับวินิจฉัย
ข้อ 29 ในกรณีที่อัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย ตามมาตรา 46 วรรคสี่ คําร้องตามมาตรา 44 เพียงแสดงว่า อัยการสูงสุดหรือพนักงานอัยการซึ่งอัยการสูงสุดมอบหมายได้ลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาของพนักงานอัยการว่ามีเหตุอันควรที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัย
ข้อ 30 ให้ศาลชั้นต้นมีอํานาจตรวจคําร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาไว้พิจารณาและฎีกาและมีคําสั่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 หากผู้ฎีกาไม่ปฏิบัติตามคําสั่ง ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องและฎีกาดังกล่าว พร้อมสํานวนไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งโดยเร็วต่อไป
กรณีตามวรรคหนึ่ง ถ้าองค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่าคําสั่งของศาลชั้นต้นถูกต้อง ให้มีคําสั่งไม่รับคําร้องและไม่รับฎีกา หรือถ้าไม่มีคําร้องก็ให้สั่งไม่รับฎีกา
ข้อ 31 ในกรณีที่มีการขอขยายระยะเวลาใดๆ เช่น การยื่นคําร้องหรือฎีกา หากศาลชั้นต้นเห็นสมควรอนุญาตให้ขยาย ให้ศาลชั้นต้นสั่งตามที่เห็นสมควร มิฉะนั้นให้รีบส่งคําร้องขอขยายระยะเวลา พร้อมสํานวนความไปยังศาลฎีกาเพื่อพิจารณาสั่งโดยเร็ว
การขอขยายระยะเวลาตามวรรคหนึ่ง หากจําเลยเป็นผู้ต้องคําพิพากษาให้ประหารชีวิต การอนุญาตให้ขยายระยะเวลาควรคํานึงถึงกําหนดระยะเวลาตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมาย
วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 262
ข้อ 32 เมื่อศาลชั้นต้นได้รับคําร้องและฎีกาตามข้อ 28 แล้ว ให้รีบส่งสําเนาคําร้องและฎีกานั้นให้คู่ความอีกฝ่ายแล้วส่งคําร้องพร้อมฎีกาและสํานวนความไปยังศาลฎีกาโดยเร็ว ทั้งนี้ ไม่จําเป็นต้องรอคําคัดค้านของคู่ความฝ่ายนั้น แต่ในกรณีที่คู่ความอีกฝ่ายได้ยื่นคําร้องและฎีกาด้วย ให้ศาลชั้นต้นดําเนินการเกี่ยวกับคําร้องดังกล่าวให้เสร็จสิ้นเสียก่อนแล้วจึงส่งคําร้องและฎีกาของคู่ความทุกฝ่ายไปยังศาลฎีกาในคราวเดียวกัน
ถ้ามีการยื่นคําคัดค้านภายหลังที่ได้ดําเนินการตามวรรคหนึ่งแล้ว ก็ให้ส่งคําคัดค้านนั้นไปยังศาลฎีกาเพื่อประกอบการพิจารณาวินิจฉัย
ในกรณีที่จําเลยต้องคําพิพากษาให้ประหารชีวิต ให้ศาลชั้นต้นรีบส่งคําร้องและฎีกา พร้อมสํานวนคดีไปยังศาลฎีกาในทันที โดยทางไปรษณีย์ด่วนที่สุดหรือวิธีการอื่นที่ได้ผลไม่ช้ากว่านั้น
ข้อ 33 การขอแก้ไขคําร้องหรือฎีกาให้กระทําได้ภายในกําหนดระยะเวลา ตามมาตรา 44 หรือตามที่ศาลมีคําสั่งให้ขยายออกไป
ข้อ 34 การพิจารณาคําร้องตามมาตรา 45 องค์คณะผู้พิพากษาพึงพิจารณาวินิจฉัย และมีคําสั่งให้แล้วเสร็จภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้รับสํานวนหรือตามระเบียบของประธานศาลฎีกา
ข้อ 35 ปัญหาสําคัญอื่นตามมาตรา 46 วรรคสอง (7) ได้แก่ กรณี ดังต่อไปนี้
1.คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบมีความเห็นแย้งในสาระสําคัญ
2.คําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลอุทธรณ์แผนกคดีทุจริตและประพฤติมิชอบได้วินิจฉัยข้อกฎหมายสําคัญที่ไม่สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศที่มีผลผูกพันกับประเทศไทย
ข้อ 36 ในกรณีที่องค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่าปัญหาตามคําร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาทั้งหมดหรือบางข้อเป็นปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย ให้มีคําสั่งอนุญาตให้ฎีกาและสั่งรับฎีกาทั้งหมดหรือบางข้อไว้พิจารณาแล้วส่งให้ศาลชั้นต้นอ่านคําสั่งดังกล่าวให้คู่ความฟัง
จําเลยฎีกาอาจยื่นคําแก้ฎีกาต่อศาลชั้นต้นได้ภายในกําหนดสิบห้าวันนับแต่วันฟังคําสั่ง และภายในกําหนดเจ็ดวันนับแต่วันที่จําเลยฎีกายื่นคําแก้ฎีกา หรือนับแต่ระยะเวลาที่กําหนดไว้ สําหรับการยื่นคําแก้ฎีกาได้สิ้นสุดลง ให้ศาลชั้นต้นส่งคําแก้ฎีกาไปยังศาลฎีกาหรือแจ้งให้ทราบว่าไม่มีคําแก้ฎีกา
เมื่อศาลฎีกาได้รับคําแก้ฎีกาหรือแจ้งความเช่นว่าแล้ว ให้นําคดีลงสารบบความโดยพลัน
การขอขยายระยะเวลายื่นคําแก้ฎีกาให้นําความในข้อ 31 มาใช้บังคับโดยอนุโลม
ข้อ 37 ในกรณีที่องค์คณะผู้พิพากษาเห็นว่าคําร้องมิได้ปฏิบัติตามข้อ 30 หรือปัญหาตามคําร้องทั้งหมดมิใช่ปัญหาสําคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัย ให้มีคําสั่งยกคําร้องและไม่รับฎีกา
โดยแสดงเหตุผลโดยย่อ แล้วส่งสํานวนความคืนศาลชั้นต้นเพื่อแจ้งให้คู่ความทราบโดยเร็ว
ข้อ 38 ในกรณีที่มีคู่ความหลายฝ่ายต่างยื่นคําร้องแสดงเหตุที่ศาลฎีกาควรรับฎีกาไว้พิจารณาให้วินิจฉัยโดยทําเป็นคําสั่งฉบับเดียวกันก็ได้
ข้อ 39 ผู้พิพากษาซึ่งเป็นองค์คณะที่พิจารณาสั่งอนุญาตให้ฎีกาคดีใดอาจเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีนั้นอีกก็ได้
*รายงาน โดย...ทีมข่าวการเมือง ฐานเศรษฐกิจ