เลขาฯศาลยุติธรรม เผยมีกว่า 5 พันคดี ฝ่าฝืนเคอร์ฟิว

11 เม.ย. 2563 | 03:24 น.
อัปเดตล่าสุด :12 เม.ย. 2563 | 11:55 น.

เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เผยสถิติคดีผู้กระทำผิดฝ่าฝืน พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในช่วงที่ผ่านมา ช่วงเคอร์ฟิวมีคดีมากกว่า 5,000 คดี

นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม เปิดเผยเมื่อวันที่ 10 เม.ย.ที่ผ่านมา ถึงข้อมูลสถิติคดีความผิดตามพระราชกําหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 และพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542 ที่เข้าสู่การพิจารณาของศาลชั้นต้นทั่วประเทศ ซึ่งศูนย์ข้อมูลคดี สำนักแผนงานและงบประมาณ สำนักงานศาลยุติธรรม ได้รวบรวมสถิติคดีดังกล่าวภายหลังรัฐบาลประกาศเคอร์ฟิว ห้ามบุคคลใดออกนอกเคหสถานระหว่างเวลา 22.00 น. ถึงเวลา 04.00 น. โดยไม่มีความจำเป็น ตั้งแต่เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2563 ที่ผ่านมา เพื่อลดการสัญจรของ พี่น้องประชาชนและเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่หรือโควิด-19  โดยพบว่าในวันที่ 9 เมษายน 2563 มีสถิติคดีผู้กระทำความผิด ดังนี้

เลขาฯศาลยุติธรรม เผยมีกว่า 5 พันคดี ฝ่าฝืนเคอร์ฟิว

กลุ่มศาลอาญา ศาลจังหวัด และศาลแขวง  1. จำนวนคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณา ทั้งหมด 1,213 คดี 2. จำนวนคดีที่พิพากษาแล้วเสร็จ ทั้งหมด 1,113 คดี (คิดเป็น 91.76%) 3. ข้อหาที่มีการกระทำความผิด 3.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  จำนวน 1,312 คน  (สัญชาติไทย 1,245 คน / สัญชาติอื่น 67 คน) 3.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 จำนวน 27 คน  (สัญชาติไทย 22 คน / สัญชาติอื่น 5 คน) 

4. จังหวัดที่มีผู้กระทำความผิด สูงสุด 3 อันดับ ในแต่ละข้อหา 4.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  อันดับ 1 จังหวัด กรุงเทพมหานคร  จำนวน 111 คน อันดับ 2 จังหวัด นนทบุรี  จำนวน   87 คน อันดับ 3 จังหวัด นครราชสีมา  จำนวน   65 คน 4.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558  อันดับ 1 จังหวัด ชลบุรี  จำนวน  16 คน  อันดับ 2 จังหวัด สมุทรสาคร  จำนวน    5 คน   อันดับ 3 จังหวัด สระแก้ว จำนวน    2 คน

กลุ่มศาลเยาวชนและครอบครัว 1. จำนวนคำร้องที่ขอตรวจสอบการจับ รวมทั้งสิ้น 76 คำร้อง 2. ข้อหาที่เข้าสู่การตรวจสอบจับกุม ได้แก่ พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จำนวน 80 คน (สัญชาติไทย 75 คน / สัญชาติอื่น 5 คน) 3. ผลการตรวจสอบการจับ ชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 80 คน 

ในส่วนของภาพรวมสถิติคดีสะสมภายหลังประกาศเคอร์ฟิว 7 วัน (3 – 9 เมษายน 2563) มีดังนี้ กลุ่มศาลอาญา ศาลจังหวัด และศาลแขวง  1.  จำนวนคดีที่ขึ้นสู่การพิจารณา ทั้งหมด 5,071 คดี 2.  จำนวนคดีที่พิพากษาแล้วเสร็จ ทั้งหมด 4,830 คดี (คิดเป็น 95.19%)

3.  ข้อหาที่มีการกระทำความผิด 3.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  จำนวน 5,504 คน  (สัญชาติไทย 5,197 คน / สัญชาติอื่น 307 คน) 3.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 จำนวน 40 คน  (สัญชาติไทย 35 คน / สัญชาติอื่น 5 คน) 3.3) พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542  จำนวน 1 คน  (สัญชาติไทย 1 คน / สัญชาติอื่น  -  คน)

4.  จังหวัดที่มีผู้กระทำความผิด สูงสุด 3 อันดับ ในแต่ละข้อหา 4.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548  อันดับ 1 จังหวัด กรุงเทพมหานคร  จำนวน  334 คน อันดับ 2 จังหวัด ปทุมธานี  จำนวน  303 คน  อันดับ 3 จังหวัด ภูเก็ต จำนวน  255 คน 4.2) 

พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 อันดับ 1 จังหวัด ชลบุรี  จำนวน 19 คน อันดับ 2 จังหวัด สมุทรสาคร  จำนวน 11 คน อันดับ 3 จังหวัด บุรีรัมย์ จำนวน 3 คน 4.3) พระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ. 2542  มีเพียงจังหวัดนราธิวาส  จำนวน 1  คน 

กลุ่มศาลเยาวชนและครอบครัว 1. จำนวนคำร้องที่ขอตรวจสอบการจับ รวมทั้งสิ้น 322 คำร้อง 2. ข้อหาที่เข้าสู่การตรวจสอบจับกุม 2.1) พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 จำนวน 326 คน (สัญชาติไทย 315 คน / สัญชาติอื่น 11 คน) 2.2) พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558จำนวน 3 คน (สัญชาติไทย 3 คน / สัญชาติอื่น  -  คน) 3. ผลการตรวจสอบการจับ จำนวน 331 คน  3.1) ชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 329 คน 3.2) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำนวน 2 คน 

เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการใช้ดุลพินิจลงโทษจำเลยผู้ฝ่าฝืน พรก. ฉุกเฉิน นั้น แม้ว่าศาลจะคำนึงถึงสถานการณ์ความปลอดภัยสาธารณะในช่วงนี้ แต่ก็ไม่ละเลยสิทธิและเสรีภาพของจำเลย ศาลจะบังคับใช้กฎหมายอย่างถึงที่สุดหรืออาจจะกักขังในเคหะสถานโดยติดกำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) เพื่อกำกับและติดตามความประพฤติตามคำสั่งศาล ซึ่งที่ผ่านมา ส่วนควบคุมการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับตรวจสอบหรือจำกัดการเดินทางของบุคคลผู้ได้รับการปล่อยชั่วคราวโดยศาล หรือ “ศูนย์ EM” ได้มีการจัดเวรผู้ปฏิบัติงานในศูนย์ช่วงเวลากลางคืนทำการตรวจสอบผู้สวมใส่กำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) และได้ตรวจสอบพบว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 5 – 9 เมษายน 2563 เวลา 22.00 - 4.00 น. มีผู้สวมใส่กำไลข้อเท้าอิเล็กทรอนิกส์ (EM) ใช้ความเร็วในการเคลื่อนไหวเกิน 40 กิโลเมตร/ชั่วโมง จำนวนทั้งสิ้น 143 คนซึ่งหากพบว่ามีกรณีที่น่าจะเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของศาล ต้องเรียกมาไต่สวน จึงอยากย้ำเตือนให้เคารพกฎหมายอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะช่วงที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ และในสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ซึ่งทุกคนต้องร่วมมือกันในการช่วยลดเชื้อเพื่อหยุดโรค