วันที่ 14 ส.ค. 63 ผู้สื่อข่าวรายงานว่าอาจารย์นิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 14 คน ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์ในนาม คณาจารย์ผู้สอนวิชากฎหมายคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อหาระบุว่า
ตามที่ผู้บริหารจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีประกาศไม่อนุมัติให้จัดกิจกรรมในวันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม 2563
1. เพื่อความรอบคอบ และเป็นไปภายใต้กรอบของกฎหมาย การจัดการพื้นที่ และการดูแลความปลอดภัย
2. ลดความสุ่มเสี่ยงต่อการกระทําผิด และขยายวงความขัดแย้งจนอาจนําไปสู่ความรุนแรง
3. เพื่อสวัสดิภาพ และความปลอดภัยของนิสิตตลอดจนประชาคมจุฬาฯ จุฬาฯ มีจุดยืนสนับสนุนการทํากิจกรรมนิสิตเสมอ โดยต้องอยู่ภายใต้กรอบแห่งรัฐธรรมนูญและกฎหมาย รักษาไว้ ซึ่งความสงบเรียบร้อย และศีลธรรมอันดี และเป็นกิจกรรมที่ได้รับอนุญาต
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จุฬาฯ ประกาศห้ามใช้พื้นที่จัดกิจกรรมการเมืองวันนี้
เชิญอธิการบดีถกปม"ม็อบนักศึกษา"
"อนุทิน"พร้อมรับฟัง 10 ข้อเสนอม็อบธรรมศาสตร์ แต่ต้องไม่ขัดรัฐธรรมนูญ
ธนกร แนะใช้รัฐศาสตร์กับพลังนศ.แต่ใช้นิติศาสตร์กับคนจาบจ้วง
ข้าพเจ้าคณาจารย์ คณะนิติศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดังรายนามต่อไปนี้ เห็นว่า
1. นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ รวมทั้งเสรีภาพในการแสดงออกทางการเมืองและแสรีภาพในการชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธ ตามที่รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรา 31และมาตรา 44
2. ในกรณีที่การชุมนุมมีความสุ่มเสี่ยงต่อการกระทําผิดกฎหมายดังที่กล่าวอ้าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในฐานะหน่วยงานของรัฐซึ่งมีหน้าที่ต้องเคารพสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ จึงต้องส่งเสริมให้มีการใช้ เสรีภาพในการแสดงออกและการชุมนุม มีใช้ปิดกั้นการจัดชุมนุมหรือจํากัดการแสดงออกเป็นการล่วงหน้า (prior restraint) ดังเช่นการไม่อนุมัติให้จัดกิจกรรมเช่นนี้ หากต่อมา แม้มีการกระทําความผิดจริง ก็เป็น หน้าที่ของเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐที่จะบังคับใช้กฎหมายเพื่อตาเนินคดีในภายหลัง (subsequent punishment)
3. เพื่อการดูแลความปลอดภัย สวัสดิภาพของนิสิตและประชาคมจุฬาฯ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงต้องส่งเสริมให้มีการใช้เสรีภาพ พร้อม ๆ กับการเลือกใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อรักษาความปลอดภัยแก่ผู้ ชุมนุม นิสิต บุคลากร และประชาคมจุฬาฯ เช่น การจัดให้มีการรักษาความปลอดภัย โดย รปภ. มหาวิทยาลัย และอาจขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ตํารวจ ทั้งนี้ เพื่อประสานประโยชน์ระหว่างการ ส่งเสริมการใช้เสรีภาพและการรักษาสวัสดิภาพความปลอดภัยให้ได้อย่างสมดุล
4. พื้นที่ที่นิสิตจะจัดกิจกรรมการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมือง คือ ลานพระบรมรูปสองรัชกาล แม้เป็นพื้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ก็ถือเป็นพื้นที่ของหน่วยงานของรัฐ และที่สําคัญ พื้นที่ดังกล่าว เคยเปิดให้มีการชุมนุมสาธารณะบ่อยครั้ง อาทิ การชุมนุมของกลุ่มจุฬาฯ รักชาติ เมื่อเดือนมีนาคม 2557มหาวิทยาลัยควรเป็นพื้นที่เสรี สนับสนุนการแสดงออกทางความคิดและการถกแถลง อันเป็นรากฐานแห่ง ความก้าวหน้าของศาสตร์วิทยาการต่าง ๆ
ด้วยเหตุนี้ กลุ่มข้าพเจ้าจึงคัดค้าน การไม่อนุมัติให้จัดกิจกรรมดังกล่าว
1. รองศาสตราจารย์อรพรรณ พนัสพัฒนา
2. รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์เดช สรุโฆษิต
3. อาจารย์ ดร. ปราโมทย์ เสริมศีลธรรม
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภศิษฐ์ หวีแจ่มทรัพย์
5. อาจารย์วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
7. อาจารย์ ดร. เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง
8. รองศาสตราจารย์ ดร.เอื้ออารีย์ อึ้งจะนิล
9. ศาสตราจารย์ ทัชชมัย ฤกษะสุต
10. อาจารย์ณัฏฐพร รอติเจริญ
11. อาจารย์ฐิตินันท์ เต็งอํานวย
12. อาจารย์ลักฐเมษ ภิรมย์พานิช
13. อาจารย์ ตร.รวินท์ ลีละพัฒนะ
14. อาจารย์ ดร.พัชร นิยมศิลป์