วันนี้ (29 ก.ย.) นายชำนาญ รวิวรรณพงษ์ อดีตประธานแผนกคดีล้มละลายในศาลฎีกา เข้ายื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ขอให้ตรวจสอบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในความผิดเกี่ยวกับการทำหน้าที่กรณีเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการจากการทูลเกล้าแต่งตั้งผู้พิพากษาอาวุโส โดยนายชำนาญระบุว่า
กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นหลังจากที่ประชุมคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ได้มีมติแต่งตั้งให้ตนเป็นผู้พิพากษาอาวุโสในศาลอุทธรณ์คดีชำนาญการพิเศษ เมื่อเดือน ก.ค.ปีที่แล้ว และได้นำความกราบบังคมทูล และมีคำสั่งให้ตนไปช่วยราชการในตำแหน่งดังกล่าวแล้ว
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
"อนุพงษ์" เผย 1 ต.ค.เคาะวันเลือกตั้งท้องถิ่น
"บิ๊ก ฉ.-บิ๊ก ป." 2 เรื่องราว ดีลลับๆ
ศาลสั่งคุก 3 ปี "วงศ์ศักดิ์ สวัสดิ์พาณิชย์"อดีตอธิบดีกรมการปกครอง ไม่รอลงอาญา
"พล.อ.ณรงค์พันธ์ จิตต์แก้วแท้" ผบ.ทบ.คนใหม่ ประกาศสานต่อภารกิจ "บิ๊กแดง"
แต่ต่อมาองคมนตรีได้มีหนังสือส่งกลับคืนมาให้ ก.ต. พิจารณาทบทวนใหม่ ซึ่งท่านอาจจะเข้าใจผิดว่ามีอำนาจ ส่งเรื่องกลับมาให้ ก.ต.พิจารณา
แต่ตามรัฐธรรมนูญไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้อำนาจองคมนตรีส่งเรื่องที่ ก.ต.มีมติโดยชอบด้วยกฎหมาย และได้นำความกราบบังคมทูลแล้ว กลับคืนมาให้ ก.ต.พิจารณาทบทวน และไม่มีกฎหมายใดให้ ก.ต.มีอำนาจทบทวนมติเดิมที่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้องคมนตรีมีหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 10 วรรคสอง คือมีหน้าที่ถวายความเห็นต่อองค์พระมหากษัตริย์เท่านั้น และหาก ก.ต. ปล่อยให้องคมนตรี ก็ถือว่าให้เข้ามาแทรกแซงองค์กรตุลาการ
นายชำนาญ กล่าวอีกว่า หลังจากนั้นที่ประชุม ก.ต. ก็ได้มีมติใหม่ว่าตนไม่เหมาะสมที่จะดำรงตำแหน่งดังกล่าว และให้พ้นจากราชการ ทั้งที่ไม่มีกฎหมายรองรับ ตนขอให้ นางเมทินี ชโลธร ประธานศาลฎีกาตรวจสอบการกระทำของ ก.ต.กลุ่มนี้ ไม่ใช่ให้ดำรงตำแหน่งสูงขึ้นหรือเป็นผู้พิพากษาอาวุโส ซึ่งทำไม่ได้ จึงเป็นเหตุที่ตนต้องทำหนังสือของนายกฯเพื่อให้ทราบถึงเรื่องดังกล่าว แต่ก็ไม่มีการตอบกลับมาและไม่มีการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวในฐานะที่นายกฯเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ วันนี้ตนจึงมายื่นให้ ป.ป.ช.ดำเนินการตรวจสอบ