19 ตุลาคม 2563 ที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย ได้เดินทางมายื่นคำร้องต่อ สคร. ในฐานะที่กำกับ ดูแลการดำเนินนโยบายการบริหารและพัฒนารัฐวิสาหกิจให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อขอให้สั่งการไปยัง รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตาม ม.36 แห่ง พรบ.ร่วมทุนฯ2562 ให้ทบทวนการแก้ไข TOR โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มให้กลับไปเหมือนเดิม
ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยคณะกรรมการคัดเลือกตาม ม.36 แห่ง พรบ.ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน 2562 โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี(สุวินทวงศ์) ที่ได้มีมติเมื่อวันที่ 21 ส.ค.63 เปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาใหม่(TOR) หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ผิดปกติและส่อไปในทางที่มิชอบด้วยกฎหมาย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
จับตา ศาลฯนัดบีทีเอส-รฟม.ไต่สวน ปมรื้อทีโออาร์สายสีส้ม วันนี้
รฟม.ย้ำไม่เกิดค่าโง่ ปมแก้ทีโออาร์ "สายสีส้ม"
รฟม.ลั่น ชนะคดี!ปมแก้ ทีโออาร์ รถไฟฟ้า "สายสีส้ม"
รฟม.แจ้งปิดเบี่ยงจราจรบนถนนเทียมร่วมมิตร เพื่อวางท่อระบายน้ำ-แก้ปัญหาน้ำท่วมขัง
เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง TOR ภายหลังการขายซองประกวดราคาไปแล้ว ถือว่าเป็นสาระสำคัญ และไม่เคยมีการดำเนินการลักษณะเช่นนี้กับโครงการขนาดใหญ่ที่เป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชนมาก่อน ซึ่งปกติทั่วไปจะใช้วิธีการพิจารณาจะแยกซองเทคนิค หากผ่านตามเกณฑ์ จึงจะเปิดซองการเงิน โดยผู้ที่ให้ผลตอบแทนสูงสุดจะได้รับการคัดเลือก
แต่คราวนี้กลับคัดเลือกโดยใช้ข้อเสนอทางเทคนิคร่วมกับซองการเงิน ซึ่งจะเป็นช่องทางที่ส่อไปในทางไม่สุจริต ไม่เป็นธรรม หรืออาจเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มบริษัทใดบริษัทหนึ่งหนึ่งเป็นการเฉพาะหรือไม่ เพราะจะเป็นการเปิดโอกาสการใช้ดุลยพินิจของคณะกรรมการคัดเลือกได้มากกว่าแบบเดิม ซึ่งจะทำให้ได้ผู้ชนะการประมูลไม่ใช่ผู้ที่ให้ผลตอบแทนต่อรัฐสูงสุดก็ได้ ซึ่งก็จะไม่เป็นไปตามข้อเสนอหรือการตั้งข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ที่เน้นการประมูลต้องทำให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุด และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติมอบหมายให้ รฟม. กระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 พรบ.การร่วมลงทุนฯ 2562 รับข้อสังเกตของ สคร. และความเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตาม พรบ.การร่วมลงทุนฯ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด
ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลง TOR ใหม่หลังจากที่มีการขายซองประกวดราคาไปแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการขัดต่อมติของคณะรัฐมนตรีเมื่อ 28 ม.ค.63 และยังขัดต่อการรักษาวินัยการเงินการคลังของรัฐ ตาม ม.6(3) และ ม.32 ของ พรบ.ร่วมทุนฯ 2562 ประกอบกับข้อ 8(4) ของคณะกรรมการนโยบายร่วมทุนฯ อีกด้วย ดังนั้น เมื่อ รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ใช้อำนาจเปลี่ยนแปลง TOR ซึ่งจะยังผลให้ไม่เป็นไปตามมติ ครม.และกฎหมายดังกล่าวแล้ว เมื่อเกิดการฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาล หากแพ้คดีขึ้นมาเสียค่าโง่ขึ้นมา สคร.จะปฏิเสธความรับผิดชอบไปไม่ได้ นายศรีสุวรรณ กล่าว