“หญิงหน่อย”กำชับทีมไทยสร้างไทยช่วยแก้น้ำแล้ง-น้ำท่วมทุ่งกุลาร้องไห้

14 พ.ย. 2564 | 11:55 น.
อัปเดตล่าสุด :14 พ.ย. 2564 | 19:02 น.

“หญิงหน่อย”เดินสายร้อยเอ็ด กำชับทีม “ไทยสร้างไทยร้อยเอ็ด” ช่วยบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบชลประทาน อ่างเก็บน้ำพลับพลา แก้ปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม ทุ่งกุลาร้องไห้กว่า 3 แสนไร่ ยกระดับการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้คนอีสาน

วันนี้(14 พ.ย.64) คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ได้เฟซบุ๊ก Sudarat Keyuraphan ระบุว่า  หน่อยไปร้อยเอ็ด รอบนี้ ได้กำชับทีม ไทยสร้างไทยร้อยเอ็ด ช่วยกันบูรณาการ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง พัฒนาระบบชลประทาน อ่างเก็บน้ำพลับพลาแก้ปัญหาน้ำแล้ง น้ำท่วม ทุ่งกุลาร้องไห้กว่า 3 แสนไร่  ยกระดับการท่องเที่ยว สร้างรายได้ให้คนในจังหวัดร้อยเอ็ด พื้นที่ใกล้เคียง

 

ที่บ้านโพนแท่น อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด หน่อย  พร้อม ดร.พงศกร อรรณนพพร  คุณต่อพงศ์ ไชยสาส์น คุณ ทองหล่อ พลโคตร กับสาระดีดี  ผู้บริหารพรรคฯ และ ทีมไทยสร้างไทยร้อยเอ็ด นำโดย น้องบิ๊ก ชัชวาล แพทยาไทย  น้อง เกม กิจประเสริฐ นพรัตน์ Kitprasert Nopparat    และน้องโจ  นายธนะรัช นพรัตน์-ครูโจ   สำรวจและรับฟังปัญหา ในพื้นที่แก้มลิงพันไร่ พร้อมรับฟัง แนวทางการพัฒนาพื้นที่ โครงการอ่างเก็บน้ำคลองพลับพลาจังหวัดร้อยเอ็ด

 

จากการรับฟังการบรรยายสรุป พบว่าการพัฒนาพื้นที่ จะช่วยให้ประบบชลประทานมีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยส่งน้ำไปยังพื้นที่ จังหวัดร้อยเอ็ด และจังหวัดใกล้เคียง แก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง พื้นที่การเกษตร ทุ่งกุลาร้องไห้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหลังการศึกษา จากคณะทำงานพรรคไทยสร้างไทยจังหวัดร้อยเอ็ด ประเมินถึงความเป็นไปได้ จึงขอความร่วมมือชลประทานให้ออกแบบ แนวทางการพัฒนาพื้นที่ ก่อนประสานไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

            “หญิงหน่อย”กำชับทีมไทยสร้างไทยช่วยแก้น้ำแล้ง-น้ำท่วมทุ่งกุลาร้องไห้  

ทั้งกรมชลประทาน กรมเจ้าท่า กรมพัฒนาที่ดิน หรือกระทั่งกรมโยธาธิการและผังเมือง ซึ่งทั้งหมดหากสามารถบูรณาการร่วมกันได้ แผนงานดังกล่าวก็จะเกิดขึ้นได้จริง สามารถดูแลพื้นที่ทั้งหมดของทุ่งกุลาร้องไห้ได้ สำหรับแผนงานดังกล่าวยังครอบคลุมไปถึงมิติของการท่องเที่ยว สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ซึ่งจะทำให้เกิดการจ้างงานสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่ด้วย

         “หญิงหน่อย”กำชับทีมไทยสร้างไทยช่วยแก้น้ำแล้ง-น้ำท่วมทุ่งกุลาร้องไห้

 

โดยฝ่ายนายช่างชลประทาน พื้นที่จังหวัดร้อยเอ็ด ขอกกับหน่อยว่า หากโครงการดังกล่าวถูกต่อยอดให้เกิดเป็นรูปธรรมได้จริง จะสามารถดูแลพื้นที่ทั้งจังหวัดร้อยเอ็ดรวมถึงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ ให้ได้รับประโยชน์ คุ้มค่ากับการลงทุน เบื้องต้นประเมินการใช้งบประมาณไว้ที่ 140 ล้านบาท ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่การเกษตรและสามารถ ทำการประมง การท่องเที่ยวไปพร้อมกัน โดยมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 3 แสนไร่

              “หญิงหน่อย”กำชับทีมไทยสร้างไทยช่วยแก้น้ำแล้ง-น้ำท่วมทุ่งกุลาร้องไห้