มติพรรคร่วมฝ่ายค้าน รับหลักการวาระแรก ร่างแก้ไข รธน.

15 พ.ย. 2564 | 07:14 น.
อัปเดตล่าสุด :15 พ.ย. 2564 | 14:30 น.

พรรคร่วมฝ่ายค้านมติเอกฉันท์ รับหลักการวาระแรก ในการพิจารณาร่างแก้ไข รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พร้อมมีมติร่วมอีก 6 ประเด็น

วันที่ 15 พ.ย.2564 ที่พรรคเพื่อไทย หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมพรรคร่วมฝ่ายค้าน นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ได้เผยถึงมติในที่ประชุมร่วมกัน โดยเน้นไปที่การประชุมรัฐสภาร่วม ว่า พรรคร่วมฝ่ายค้าน   มีมติร่วมกันในการแก้ไขร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาขน ที่จะประชุมร่วมกันในวันที่ 16 พฤศจิกายน  พรรคร่วมฝ่ายค้านมีมติเป็นเอกฉันท์  ทุกพรรคควรรับหลักการวาระแรก

 

นอกจากนี้ ที่ประชุม  ยังมีมติร่วมกันอีก 6 ประเด็น คือ หยุดยั้งการสืบทอดอำนาจ และทำให้รัฐธรรมนูญ เป็นประชาธิปไตยมากขึ้น  , ต้องยกเลิกยุทธศาสตร์ชาติ และปฎิรูปประเทศ , ปรับโครงสร้างระบบรัฐสภาให้เหลือ แต่ ส.ส. , มีกลไกในการตรวจสอบอำนาจอธิปไตยของประชาชน ให้มีผู้ตรวจการของสภา ศาลทหาร ศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ ปรับหน้าที่และอำนาจของศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรอิสระ , การยกเลิกการสืบทอดอำนาจ 

มติพรรคร่วมฝ่ายค้าน  รับหลักการวาระแรก   ร่างแก้ไข รธน.

นพ.ชลน่าน กล่าวอีกว่า ฝ่ายค้านให้ความสำคัญกับสถานการณ์บ้านเมือง และห่วงใยต่อเหตุการณ์หลังศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยคดีแกนนำราษฎร ชุมนุมเข้าข่ายการล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขหรือไม่ ซึ่งหากเป็นไปโดยมิชอบ เป็นเครื่องมือทางการเมือง จะเกิดความแตกแยกและวุ่นวาย ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งม็อบ และการยุบพรรค ต้องมีความชอบธรรม ส่วนตัวยอมรับเป็นห่วงในการใช้ความรุนแรงต่อผู้ชุมนุม เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น และขอตำหนิผู้กระทำ ตนห่วงใยอนาคตของผู้ชุมนุมที่เป็นอนาคตของประเทศ ขอให้ทุกฝ่ายใช้เวทีในการพูดคุยกัน ในการหาทางออกให้ประเทศ เพื่อปลดชนวนความจัดแย้งทั้งหมด

มติพรรคร่วมฝ่ายค้าน  รับหลักการวาระแรก   ร่างแก้ไข รธน.

ทางด้านนายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า การลงมติวาระที่ 1 ใช้การขานชื่อทีละคน และการประชุมสภาฯ วันที่ 17 พฤศจิกายน พรรคร่วมรัฐบาลต้องเห็นความสำคัญของกฎหมายภาคประชาชน ต้องรับหลักการในวาระที่ 1 ส่วนวาระอื่น ๆ แปรญัตติได้ ส.ส. ควรเข้าใจเพราะประชาชนจับตาอยู่
ขณะเดียวกันนายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล กล่าวว่า เนื่องจากตอนนี้มี ส.ว. หลายคนที่ออกมาให้ความเห็นในเชิงบิดเบือนเนื้อหาสาระร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอโดยประชาชน  ประเด็นแรก คือ มีการกล่าวหาว่าร่างรัฐธรรมนูญนั้น มุ่งล้ม-เลิก-ล้าง-โละ ล้างการตรวจสอบ แต่ความจริงเราต้องการให้เกิดประชาธิไตยมากขึ้น สามารถตรวจสอบองค์กรอิสระ ศาล ตุลาการ กองทัพ ต้องถ่วงดุลโดยประชาชน และผู้ตรวจสอบไม่ผิด ประเด็นที่สอง โจมตีว่าเกิดการรวมอำนาจไปที่ ส.ส. แต่ความจริงสนับสนุนให้อำนาจของประชาชนสูงสุดอย่างเป็นรูปธรรม จึงต้องสนับสนุนรัฐธรรมนูญ ฉบับประชาชน

 

ส่วนความรุนแรงในการชุมนุม เมื่อวานนี้ (14 พ.ย.) ตนอยากจะย้ำรัฐบาลและตำรวจ ควรกระตือรือร้นในการสอบสวนข้อเท็จจริง เอาคนกระทำผิดที่ใช้กระสุนจริง มาเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมโดยเร็วที่สุด เพื่อกระบวนการทางกฎหมายจะไม่วิกฤตไปกว่านี้ อย่าเอาแต่ป้ายสีประชาชน หรือหาว่าประชาชนต้องการล้มล้าง