หลังจากมีการโหวตคว่ำร่างรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 17 พ.ย.2564 เป็น “เอฟเฟ็กต์” ทางสังคมอีกจุดหนึ่ง นั่นคือผลักดันให้คนในสังคมต้องเลือกข้าง
ขณะเดียวกันร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนถูกคว่ำ คนก็วิเคราะห์กันต่อว่า แล้วเกมนอกสภาจะเดือดขึ้นมากกว่าเดิมไหม เพราะอาจจะเล่นข้างในไม่ได้ ไปเล่นข้างนอก สุดท้ายแล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนคว่ำ ใครได้ใครเสีย
ตอนนี้ต้องบอกว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชนที่มีการขับเคลื่อนและดำเนินการอย่างเป็นระบบมา 2 ระลอก กลายเป็นร่างรัฐธรรมนูญที่เสนอไปสู่สภา ผู้เรียกร้องและเห็นด้วย ต่างตกอยู่ในสภาวะเดียวกัน นั่นคือ “หมดหวัง”
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกเคยดำเนินการมารอบหนึ่งแล้ว และกลไกแบบนี้ก็ค่อนข้างยากที่จะผ่าน นอกจากมีการเลือกตั้งปรับเปลี่ยนส.ส. ปรับเปลี่ยนวุฒิสภาใหม่ถึงจะเห็น แม้ว่ารัฐธรรมนูญจะเสนอช่องให้ประชาชนเสนอก็ตาม
ปรากฏการณ์ของไอลอว์ และ ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ ผู้ก่อตั้งกลุ่มรัฐธรรมนูญก้าวหน้า ในการเสนอร่างรัฐธรรมนูญที่ไปหาล่ารายชื่อจากประชาชน เจอเรื่องราวเดียวกันคือถูกคว่ำ “หมดหวัง”
สื่อกระแสหลักที่ผ่านการกลั่นกรองจากอารมณ์ของคนในสังคม จากอารมณ์ 2 เหตุการณ์ที่ห่างกัน 1 ปี นั่นคือเรื่องสำคัญ และจะผลักดันให้เกิดอีกเรื่องหนึ่งในอนาคต แต่ถ้าดูกติกาที่กำหนดในรัฐธรรมนูญค่อนข้างเขียนเปิดกว้างให้ภาคประชาชนสามารถมีสิทธิ์ในการแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ โดยเฉพาะตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540
เพราะฉะนั้นกติกาใหญ่ของรัฐธรรมนูญไม่ได้ปิด เปิดกว้าง แต่ถูกล็อกโดยรัฐสภา
ร่างกฎหมายที่เสนอโดยพรรคร่วมรัฐบาล มีอะไรบ้าง
กฎหมายที่เสนอโดยฝ่ายค้าน 15 ฉบับ
แม้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันจะเปิดทางให้คนทั่วไปสามารถเสนอรายชื่อร่วมกันที่เห็นพ้องให้สภาพิจารณาแก้ไข พ.ร.บ. หรือรัฐธรรมนูญ แต่ในทางปฏิบัติและความเป็นจริงประชาชนหมดหวัง เพราะฉะนั้น
รัฐธรรมนูญฉบับที่ผ่านมาเสนอโดยประชาชนไม่ผ่านนั้น เขาบอกว่าอาจจะเพิ่มดีกรีของการชุมนุม เรียกร้องนอกสภา เพราะฉะนั้นเป็นปัจจัยที่ตอนนี้ฝ่ายความมั่นคงกำลังจับตาแบบไม่กระพริบตา สิ่งที่ทำได้คือ ทุกฝ่ายต้องช่วยกันในบรรยากาศที่สังคมกำลังเลือกข้าง
ตอนนี้ความขัดแย้งทางความคิดของผู้คนในสังคมไทย กำลังถูกส่งผ่านจากรุ่นสู่รุ่น และกำลังถูกส่งผ่านความคิดเห็นในทางการเมือง และการคิดที่จะสร้างสังคมที่ดีให้กับประเทศอย่างไรแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง ความแตกต่างระหว่างซ้ายข้างหนึ่ง และขวาอีกข้างหนึ่ง
ปรากฏการณ์ปัจจุบันสั่งให้ “เลือกข้าง” และเป็นปรากฏการณ์ “สงครามทางความคิด” หาคนอยู่ตรงกลางลำบาก ถ้าอยู่ตรงกลางจะถูกบีบให้เลือกข้างใดข้างหนึ่ง เหมือนครั้งก่อนที่ให้เลือกว่าจะเอา หรือ ไม่เอาคุณทักษิณ
ตอนนี้อารมณ์ของคนที่อยู่ตรงกลางเริ่มจะลำบาก
ปรากฏการณ์ในช่วงที่ผ่านมาเราจะเห็นแนวแตกต่างทางความคิดของผู้คนในรุ่นนั้น นั่นคือ รุ่นใหญ่ ปัจจุบันแนวคิดแห่งความแตกต่างทางความคิดส่งผ่านไปให้ระหว่างผู้ใหญ่กับเยาวชนที่เป็นอนาคตของชาติ โดยมีผู้ที่ใหญ่กว่าคอยเป็นแบคอัพทั้ง 2 ฝ่าย เมื่อก่อนจะเรียกว่า “ซ้ายตกขอบ” หรือว่า “ขวาตกขอบ”
ปรากฏการณ์หนึ่งที่สะท้อนออกมา “คว่ำรัฐธรรมนูญ” กลายเป็นแรงกดดันอย่างหนักหน่วงที่จะนำไปสู่สังคมแห่งการเลือกข้าง และสังคมแห่งความแตกต่างทางความคิด เพราะแนวคิดของการความรัฐธรรมนูญนั้นนำไปสู่เกมนอกสภาหรือนำไปสู่การเดินเกมอื่นๆ ที่จะตามมา
ถ้ามองดูเพื่อนเผินๆ ในเกมสภา ที่ลงมติคว่ำรัฐธรรมนูญฉบับที่เสนอโดย “ไอติม” ปรากฏการณ์นี้ ความเป็นจริงแห่งชีวิตรอบนี้ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับไอติมชนะ
ปรากฏการณ์รอบนี้ของ ไอติม-พริษฐ์ วัชรสินธุ มีความชัดเจนมากว่าการเดินจากชายคาของประชาธิปัตย์ ไปสู่ชายคาของพรรคก้าวไกล การคว่ำรัฐธรรมนูญครั้งนี้อาจจะแพ้ แต่หลายปัจจัยชนะ
เมื่อรัฐสภาคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน พรรคที่ขับเคลื่อนเรื่องนี้มาอย่างต่อเนื่อง และเปิดหน้าโดยไม่อายฟ้า อายใคร คือ ก้าวไกล โดย ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เปิดเผยว่า จะนำางแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปเป็น นโยบายหาเสียงเพื่อให้สามารถแก้ไขสังคมไปต่อได้
“อีกไม่กี่เดือน ไม่กี่ปี คงมีการเลือกตั้ง ส.ส. ตามมา คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ส.ส.ที่สนับสนุนแนวคิดร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ จะนำไปออกแบบเป็นนโยบาย รณรงค์ผ่านการหาเสียงเลือกตั้งครั้งจะมาถึง และประชาชนที่สนับสนุนร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญแบบนี้ จะได้ตัดสินใจลงคะแนนเลือกพวกท่านมาเป็น ส.ส.เสียงข้างมาก และช่วยกันแก้รัฐธรรมนูญให้สำเร็จจงได้ต่อไป”
การประกาศของ พิธา นั่นคือ การตักปลาขึ้นมาจากบ่อ มาอยู่ที่พรรค และปลาที่ตักนั้น คือประชาชนที่ร่วมการเห็นชอบในการเสนอชื่อ
ในขณะเดียวกันกลุ่มเกมการเมืองต่างๆ ที่กำลังเดินเกมนอกสภา การเมืองคู่ขนานก็จะกลับมาเป็นหนึ่งในพลังให้ก้าวไกล กลุ่มเกมการเมืองที่กำลังขับเคลื่อนกันนอกสภาหลังจากนี้ไป มีการประเมินออกมาว่า จะเต็มไปด้วยพลัง เป็นโครงข่ายของคณะราษฎรทั้งหมด
ฝ่ายความมั่นคงยังประเมินค่อนข้างดีคิดว่ายังควบคุมได้ยังไม่ถึงขั้นรุนแรง
เจาะลึกว่าด้วยเรื่องเกมการเมืองนอกสภาที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้ ว่าฝ่ายความมั่นคงได้ประเมินสถานการณ์ม็อบไว้อย่างไรว่า ถ้าเกิดเกมนอกสภาแล้วจะเป็นเช่นไร เอฟเฟ็กต์ การคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน เอฟเฟ็กต์ การคว่ำร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน
สถานการณ์ตอนนี้นายกฯ บอกว่าพอเถอะ ให้เกมหลังจากนี้ไป เราพาประเทศให้รอด แต่บรรยากาศในการผลักให้คนในสังคมเดินไปซ้ายสุดขั้ว และขวาสุดขอบนั้น มันจะพอกันหรือไม่ อันนี้เป็นโจทย์ที่ท้าทายในสติปัญญาและอารมณ์ของคนในชาติทุกคน
เขาบอกว่าเหตุการณ์รุนแรง ไม่ว่าจะในประเทศไทยที่ผ่านมา หรือ ทั่วโลก ที่สอนพวกเราก็คือ สังคมที่สุดขั้ว ข้างใดข้างหนึ่ง สังคมไทยตอนนี้กำลังเดินไปสู่เส้นทางนั้น
เราทุกคนต้องช่วยกัน เพราะไม่อยากเห็นความขัดแย้งเกิดขึ้นอีก บทเรียนที่ตามมานั้นสร้างความเสียหายและสร้างความรุนแรงให้ประเทศชาติมามากพอสมควรแล้ว
ติดตามการวิเคราะห์ปรากฏการณ์ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม โดย บากบั่น บุญเลิศ และ วีระศักดิ์ พงษ์อักษร ในรายการเนชั่นอินไซด์ ทางเนชั่น ทีวี ช่อง 22 จันทร์-ศุกร์ เวลา 17.30 – 18.00 น.