เมื่อวันที่ 5 ธ.ค.2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ พระราชกฤษฎีกา พระราชทานอภัยโทษในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ ของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๔
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไว้ ณ วันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๔เป็นปีที่ 5 ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า
โดยที่ทรงพระราชดําริเห็นว่า ในโอกาสวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จ พระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ ๕ ธันวาคม ๒๕๖๔ เพื่อเป็นการแสดงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมควรพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องราชทัณฑ์ เพื่อให้โอกาสแก่บุคคลเหล่านั้นกลับประพฤติตน เป็นพลเมืองดี อันจะเป็นคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติสืบไป
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๑๗๕ และมาตรา ๑๗๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๒๖๑ ทวิ วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๑๗ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า “พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษในโอกาส วันคล้ายวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร วันชาติ และวันพ่อแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๔”
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
มาตรา ๓ ในพระราชกฤษฎีกานี้
“ผู้ต้องกักขัง” หมายความว่า ผู้ต้องโทษกักขังแทนโทษจําคุกหรือผู้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ซึ่งมีคําพิพากษาหรือคําสั่งของศาลถึงที่สุดก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
“ผู้ทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ” หมายความว่า ผู้ต้องโทษปรับซึ่งศาลมีคําสั่งอนุญาตให้ทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ ตามมาตรา ๓๐/๑ แห่งประมวลกฎหมายอาญา ก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ โดยผู้นั้นได้ปฏิบัติตามคําสั่งศาลและมิได้กระทําผิดเงื่อนไขแต่อย่างใด
“ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดซึ่งเป็นผู้ได้รับการพัก การลงโทษตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือกฎหมายว่าด้วยเรือนจําทหาร หรือได้รับการลดวันต้องโทษจําคุกตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์ ซึ่งมิได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขแห่งการพักการลงโทษ หรือ การลดวันต้องโทษจําคุก ก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
“นักโทษเด็ดขาด” หมายความว่า ผู้ซึ่งในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับเป็นนักโทษเด็ดขาด ตามกฎหมายว่าด้วยราชทัณฑ์หรือนักโทษตามกฎหมายว่าด้วยเรือนจําทหาร
“ผู้กระทําความผิดซ้ำ” หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดซึ่งเคยต้องโทษจําคุกและพ้นโทษ แล้วกลับมากระทําความผิดอีกภายในห้าปีนับแต่วันที่พ้นโทษจําคุกคราวก่อน โดยความผิดทั้งสองคราว ไม่ใช่ความผิดที่กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ
“กําหนดโทษ” หมายความว่า กําหนดโทษที่ศาลได้กําหนดไว้ในคําพิพากษาและระบุไว้ ในหมายแจ้งโทษเมื่อคดีถึงที่สุด หรือกําหนดโทษตามคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายให้ลงโทษ หรือ กําหนดโทษดังกล่าวที่ได้ลดโทษลงแล้วโดยการได้รับพระราชทานอภัยโทษหรือโดยเหตุอื่น
“ต้องโทษจําคุกเป็นครั้งแรก” หมายความว่า ต้องโทษเพราะถูกศาลพิพากษาให้ลงโทษจําคุก ไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี โดยมิได้ถูกศาลพิพากษาให้เพิ่มโทษฐานกระทําความผิดอีก ตามมาตรา ๙๒ หรือมาตรา ๔๓ แห่งประมวลกฎหมายอาญาหรือตามกฎหมายอื่น และไม่เป็น ผู้กระทําความผิดซ้ำ
มาตรา ๔ ผู้ซึ่งจะได้รับพระราชทานอภัยโทษตามพระราชกฤษฎีกานี้ ต้องมีตัวอยู่ในความควบคุมของทางราชการ หรือ ถูกกักขังไว้ในสถานที่หรือที่อาศัยที่ศาลหรือทางราชการกําหนด ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับติดต่อกันไปจนถึงวันที่ศาลออกหมายสั่งปล่อยหรือลดโทษ หรือ นายกรัฐมนตรีมีคําสั่งปล่อย หรือ ลดโทษตามที่บัญญัติไว้ในพระราชกฤษฎีกานี้ เว้นแต่ผู้ทํางานบริการสังคม หรือ ทํางานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ และผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ
มาตรา ๕ ผู้ต้องโทษดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป
(๑) ผู้ต้องกักขัง
(๒) ผู้ทํางานบริการสังคมหรือทํางานสาธารณประโยชน์แทนค่าปรับ
กรณีผู้ต้องกักขังตามวรรคหนึ่ง (๑) ซึ่งเป็นนักโทษเด็ดขาด และยังไม่ได้รับโทษกักขัง แทนโทษจําคุก หรือยังไม่ได้ถูกกักขังแทนค่าปรับ ให้ผู้ต้องกักขังนั้นได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป ในส่วนของโทษกักขังแทนโทษจําคุกหรือในส่วนของการกักขังแทนค่าปรับ แล้วแต่กรณี
มาตรา ๖ ผู้ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษลดโทษลง ๑ ใน ๒ จากกําหนดโทษที่ยังเหลืออยู่นับแต่วันที่ได้รับการปล่อยตัวคุมประพฤติ เว้นแต่ผู้ได้รับ การปล่อยตัวคุมประพฤติเป็นผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดตามมาตรา ๗ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษ ปล่อยตัวไป
มาตรา ๗ ภายใต้บังคับมาตรา ๙ มาตรา 90 มาตรา 9 มาตรา ๑๓ และ มาตรา ๑๔ นักโทษเด็ดขาดดังต่อไปนี้ ให้ได้รับพระราชทานอภัยโทษปล่อยตัวไป
(๑) ผู้ต้องโทษจําคุก ไม่ว่าในกรณีความผิดคดีเดียวหรือหลายคดี ซึ่งมีโทษจําคุก ตามกําหนดโทษที่จะต้องได้รับต่อไปเหลืออยู่ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ
(๒) ผู้มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใด ดังต่อไปนี้
(ก) เป็นคนพิการโดยตาบอดทั้งสองข้าง มือหรือเท้าด้วนทั้งสองข้าง หรือเป็นบุคคล ซึ่งแพทย์ของทางราชการไม่น้อยกว่าสองคนได้ตรวจรับรองเป็นเอกฉันท์ว่าเป็นคนทุพพลภาพมีลักษณะ อันเห็นได้ชัด
(ข) เป็นคนเจ็บป่วยด้วยโรคอัมพาต โรคสมองเสื่อม โรคสมองพิการ โรคจิต โรคปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง โรคตับวายเรื้อรัง โรคไตวายเรื้อรัง โรคมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเอดส์) โรคโลหิตจางจากไขกระดูกไม่สร้างเม็ดโลหิต หรือโรคเรื้อน หรือเป็นคนเจ็บป่วยซึ่งมีภาวะ ติดเตียงหรือมีโรคที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตที่จําเป็นต้องรักษาพยาบาลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทางราชการ ได้ทําการรักษามาแล้วไม่น้อยกว่าสามเดือนในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ และแพทย์
มีรายงานว่า พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2564 นี้ จะทำให้มี “ผู้ต้องขัง” ได้รับการปล่อยตัวประมาณ 20,000 คน จากเรือนจำทั่วประเทศ
ขณะที่ “นักโทษเด็ดขาด” ที่เข้าเกณฑ์ลดวันต้องโทษ มีประมาณ 200,000 คน
ส่วน “ผู้ต้องขังเด็ดขาด” มีประมาณ 224,674 คน จากผู้ต้องขังทั้งหมด 282,620 คน
คลิกอ่านเพิ่มเติม : พระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษแก่ผู้ต้องขัง 2564