เปิดละเอียดคำพิพากษาคดีบ้านเอื้ออาทร คุก วัฒนา เมืองสุข 50 ปี ชดใช้ 89 ล้านบาท

04 มี.ค. 2565 | 11:38 น.
อัปเดตล่าสุด :04 มี.ค. 2565 | 18:44 น.

เปิดละเอียดคำพิพากษา “ศาลฎีกานัการเมือง” คดีทุจริตบ้านเอื้ออาทร พิพากษาเเก้โทษริบทรัพย์ “วัฒนา เมืองสุข” ให้ร่วมชดใช้เงิน 89 ล้าน ยืนจำคุก 99 ปี แต่รับโทษจริง 50 ปี

วันนี้ (4 ก.พ.65) ที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง สนามหลวง องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ นัดอ่านคำพิพากษาคดีทุจริตโครงการบ้านเอื้ออาทรของการเคหะแห่งชาติ หมายเลขดำ อม.อธ. 1/2565 ที่อัยการสูงสุด เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง นายวัฒนา เมืองสุข อายุ 64 ปี อดีต รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และพวกรวม 14 ราย

 

จำเลยในความผิดฐาน เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจหรือจูงใจเพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหามาให้ซึ่งทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเองหรือผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 และตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดของพนักงานในองค์การหรือหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2502 มาตรา 6, 11

องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานที่ศาลฎีกา แผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไต่สวน ประกอบการแถลงปิดคดีด้วยวาจาของจำเลยที่ 1 แล้วเห็นว่า คดีนี้โจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ มีประเด็นต้องวินิจฉัย คตส.ได้รับการแต่งตั้งให้ทำหน้าที่ ป.ป.ช. และมีการตั้งคณะทำงานร่วมกับผู้แทนของอัยการสูงสุดพิจารณาหลักฐานจนครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว จึงส่งให้อัยการสูงสุดพิจารณาฟ้องโดยชอบตามกฎหมาย 

 

ประเด็นวินิจฉัยต่อมาที่จำเลยที่ 1 อ้างว่าตัวเองไม่ได้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 148 จึงไม่มีอำนาจพิจารณาโครงการของการเคหะแห่งชาติ 

เห็นว่า ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 1 ดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรี กำกับดูแลหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และตามพ.ร.บ.การเคหะแห่งชาติ ให้รัฐมนตรีมีอำนาจกำกับดูแลหรือยับยั้งการกระทำใดที่อาจทำให้เกิดความเสียหาย จำเลยที่ 1 จึงเป็นเจ้าพนักงานมีอำนาจดูแลกำกับการเคหะแห่งชาติตามกฎหมาย


ประเด็นต้องวินิจฉัยต่อมา จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าพนักงานใช้อำนาจในตำแหน่งโดยมิชอบ ข่มขืนใจ หรือจูงใจ เพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหาให้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเอง หรือผู้อื่น ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 หรือไม่ 


คดีนี้ คตส.ได้มีการเรียกผู้ประกอบการมาให้การ โดยแจ้งว่าหากให้ความร่วมมือจะกันไว้เป็นพยาน ซึ่งผู้ประกอบการ 8 รายให้การยอมรับว่าได้รับการติดต่อจากตัวแทนจำเลยที่ 1 อ้างว่าหากอยากได้งานต้องมีการจ่ายค่าตอบแทน ซึ่งจำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าพยานเหล่านี้ คตส.ใช้วิธีการข่มขู่ จูงใจ หรือให้คำมั่นสัญญาว่าหากให้การเป็นประโยชน์จะกันไว้เป็นพยาน

 

พยานปากเหล่านี้จึงไม่อาจรับฟังได้ตามกฎหมาย เห็นว่าการสอบสวนเป็นวิธีการของเจ้าพนักงานในการแสวงหาหลักฐาน โดยไม่ปรากฏว่ามีการจูงใจหรือชี้นำพยานว่าต้องให้การไปในทางใด พยานให้การเป็นอิสระ จึงสามารถรับฟังพยานเหล่านี้ได้ 


คดีนี้จำเลยที่ 1 อุทธรณ์ว่าไม่ได้แต่งตั้ง นายอภิชาต จันทร์สกุลพร จำเลยที่ 4 เป็นที่ปรึกษา แต่จำเลยที่ 4 แอบอ้างและทำเองตามลำพัง เห็นว่า จำเลยที่ 4 มาพบจำเลยที่ 1 หลายครั้ง อีกทั้งยังไปแนะนำตัวกับจำเลยอื่นและผู้ประกอบการว่าเป็นที่ปรึกษาจำเลยที่ 1 ประกอบกับพยานที่เป็นเจ้าหน้าที่การเคหะเข้าเบิกความ และมีพยานเบิกความว่าได้ส่งเอกสารเชิญประชุมระบุชื่อจำเลยที่ 4 เป็นที่ปรึกษา 


แม้จำเลยที่ 1 ไม่ได้แต่งตั้งจำเลยที่ 4 อย่างเป็นทางการ แต่เป็นที่ทราบโดยทั่วไปว่าจำเลยที่ 4 กระทำในฐานะที่ปรึกษาจำเลยที่ 1 โดยมีจำเลยที่ 5 เป็นเลขานุการ จึงเชื่อว่าจำเลยที่ 4 เป็นที่ปรึกษาของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 5 เป็นเลขานุการ อย่างไม่เป็นทางการ


ต่อมาจำเลยที่ 1 สั่งการให้การเคหะฯ ออกประกาศฉบับใหม่ หากผู้ประกอบการรายใดยังไม่ได้รับการอนุมัติโครงการ ให้ผู้ประกอบการยื่นแบบโครงการ พร้อมแนบหลักประกันร้อยละ 5 ของโครงการ โดยจำเลยที่ 1 ยังเคยเรียกประชุมผู้ประกอบการแจ้งว่ามีค่าดำเนินการยูนิตละ 1 หมื่นบาท

 

หากผู้ประกอบการรายใดพร้อมจะได้รับอนุมัติโครงการ ซึ่งมีพยานโจทก์หลายรายให้การสอดคล้องกันว่า ได้ยินผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติโครงการ แจ้งว่า หากอยากได้งานให้ติดต่อจำเลยที่ 4 โดยมีจำเลยที่ 5 เป็นผู้ประสานงาน 


พยานจึงยอมจ่ายค่าตอบแทน โดยลดราคาเหลือ 9,000 บาทต่อยูนิต พยานจึงนำเช็คจำนวน 46 ล้านบาทไปให้ และได้รับอนุมัติโครงการสร้างบ้านเอื้ออาทร จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 อาศัยประกาศฉบับใหม่เรียกรับเงินจากผู้ประกอบการจริง และเชื่อว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นเป็นใจด้วย จึงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 ร่วมข่มขืนใจ หรือจูงใจ เพื่อให้บุคคลใดมอบให้หรือหาให้มาซึ่งทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่ตนเอง หรือผู้อื่น 


ประเด็นการริบทรัพย์สินนั้น เห็นว่า เมื่อเงินที่จําเลยที่ 1 กับพวกได้มําเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยการกระทําความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 148 ซึ่งขณะนั้นพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญา ของผู้ดํารงตําแหน่งทํางกํารเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 42 และ 43 ยังไม่มีผลใช้บังคับ และพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยกํารป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการริบทรัพย์สิน 


จึงต้องนํา ประมวลกฎหมายอาญาใช้บังคับแทน แม้โจทก์ไม่ได้อ้างประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (2) แต่เมื่อโจทก์มีคําขอให้ริบเงินแล้ว ศาลจึงมีอํานาจริบเงินได้ ทั้งต้องปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องและเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี อันมีผลถึงจําเลยอื่นที่ไม่ได้อุทธรณ์ด้วย 


สําหรับพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดํารงตําแหน่ง ทํางการเมือง พ.ศ. 2560 มาตรา 44 เป็นมาตราเพื่อการบังคับให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ศาลสั่งริบ จึงนํามาใช้บังคับให้จําเลยที่ 1 ส่งเงินที่ริบโดยชําระเป็นเงินแทนตามมูลค่าของเงินที่ศาลสั่งริบพร้อมด้วยดอกเบี้ยได้


ประเด็นการริบเงิน 89 ล้านบาท ตามอุทธรณ์โจทก์นั้น เห็นว่า การจ่ายเงินจำนวน 89 ล้านบาท ให้จำเลยที่ 7 เป็นการจ่ายเงินเพื่อตอบแทนข้อตกลงในการผลักดันโครงการบ้านเอื้ออาทรของบริษัท ช. โครงการอื่นนอกจากโครงการบ้าน เอื้ออาทร ส. เงินจำนวน 89 ล้านบาท จึงเป็นเงินที่สัมพันธ์กับเงินสินบนที่ใช้ในการอำนวยความสะดวกให้กับโครงการ บ้านเอื้ออาทรอื่นของบริษัท ช. เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่ได้มาจากการกระทำความผิดที่ศาลมีอำนาจริบได้


พิพากษาแก้เป็นว่า ไม่ปรับบทตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พ.ศ.2560 มาตรา 42,43 แต่ให้ปรับบทตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 33 (2) ริบเงิน 89 ล้านบาทด้วย


 โดยให้จำเลยผู้มีหน้าที่ต้องส่งเงิน 89 ล้านบาท ที่ริบชำระเป็นเงินแทนตามมูลค่าของเงินที่ ศาลสั่งริบภายในกาหนด 30 วัน นับแต่วันอ่านคาพิพากษานี้ หากจาเลยที่ 1 ที่ 4 ถึงที่ 8 และที่ 10 ไม่ชำระเงินภายใน ระยะเวลากาหนด ต้องชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ7.5 ต่อปี ของต้นเงินแต่ละจำนวนนับแต่วันที่ 24 ก.ย.63 เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 10 เม.ย.65 และอัตราร้อยละ 5 ต่อปี นับแต่วันที่11 เม.ย.64  เป็นต้นไปกว่าจะชำระเสร็จ 


แต่อัตราดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 11 เม.ย.64 หากกระทรวงการคลังออกพระราชกฤษฎีกาปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ย ให้ปรับเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยไปตามนั้น ทั้งนี้ต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามที่โจทก์ขอ 
โดยให้จำเลยที่ 1 และที่ 4 ถึงที่ 8 ร่วมกันชำระเงินแทนตามมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกคนละ 89 ล้านบาท จากคำพิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรง ตำแหน่งทางการเมืองกำหนดไว้ นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลฎีกาฯ


ให้ออกหมายจำคุกถึงที่สุดจำเลยที่ 1 และออกหมายจับจำเลยที่ 6,7 และ 10 มาฟังคำพิพากษาวันที่ 27 เม.ย.นี้ เวลา 14.00 น. 


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศาลใช้เวลาอ่าน 2 ชั่วโมง ภายหลังเจ้าหน้าที่ราชทัณฑ์ได้คุมตัว นายวัฒนา เมืองสุข ไปเรือนจำ