วันนี้( 8 เม.ย.65) เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพ่ร่ ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการจับ ควบคุม ค้น และปล่อยชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๖๕
โดยที่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้บัญญัติให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติหรือผู้ที่คณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริตแห่งชาติมอบหมายมีอํานาจในการจับ ควบคุม ค้น และปล่อยชั่วคราว เพื่อให้ การปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายอันเป็นหน้าที่และอํานาจของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามกฎหมายนี้ และ ตามกฎหมายอื่น เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการสมควรกําหนดให้มี ระเบียบเกี่ยวกับการจับ ควบคุม ค้น และปล่อยชั่วคราว
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๕ วรรคสอง และมาตรา ๕๓ ประกอบมาตรา ๓๔ มาตรา ๓๔ และมาตรา ๔๐ แห่งพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต พ.ศ. ๒๕๖๑ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ จึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ว่าด้วยการจับ ควบคุม ค้น และปล่อยชั่วคราว พ.ศ. ๒๕๖๕”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกําหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา เป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเป็นผู้รักษาการ ตามระเบียบนี้
ในกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับการบังคับใช้หรือการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. มีอํานาจตีความและวินิจฉัยชี้ขาด คําวินิจฉัยของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ให้เป็นที่สุด
หมวด ๑ บททั่วไป
ข้อ ๔ ในการจับ ควบคุม ค้น และการปล่อยชั่วคราวตามระเบียบนี้ เป็นการกระทํา ที่กระทบกระเทือนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลตามที่กฎหมายคุ้มครอง ให้พึงกระทําด้วยความระมัดระวัง และยึดถือหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขที่พระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและระเบียบนี้กําหนด โดยให้นํา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในส่วนที่เกี่ยวข้องมาใช้บังคับโดยอนุโลม
ในกรณีที่ระเบียบนี้และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามิได้กําหนดวิธีปฏิบัติไว้ เป็นการเฉพาะ ให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนดวิธีปฏิบัติเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับประมวลกฎหมายวิธี พิจารณาความอาญา และให้ถือปฏิบัติตามมติคณะกรรมการ ป.ป.ช. ต่อไป
ข้อ ๕ เพื่อประโยชน์ในการบังคับใช้ระเบียบนี้ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ มีผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายการดําเนินคดีที่ต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ว ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงาน ตามระเบียบนี้ ให้เบิกจากงบประมาณของสํานักงาน ป.ป.ช. โดยให้เป็นไปตามระเบียบ หลักเกณฑ์ วิธีการที่คณะกรรมการ ป.ป.ช. กําหนดว่าด้วยการนั้น
ข้อ ๖ เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและ เกิดผลสัมฤทธิ์ ให้สํานักงาน ป.ป.ช. โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ ป.ป.ช. ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
(๑) กําหนดขั้นตอนและวิธีปฏิบัติในการจัดทําทะเบียนประวัติของผู้ถูกจับ
(๒) กําหนดแบบหนังสือหรือคําสั่งต่าง ๆ ที่ใช้ปฏิบัติงาน
(๓) กําหนดและจัดหาสถานที่ที่ใช้สําหรับควบคุมตัวบุคคลผู้ถูกจับ
(๔) จัดทําคู่มือหรือคําอธิบายเกี่ยวกับการปฏิบัติงานสําหรับพนักงานไต่สวน พนักงาน เจ้าหน้าที่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
(๕) ดําเนินการอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบนี้
ข้อ ๗ ในการปฏิบัติตามระเบียบนี้ กรรมการ ป.ป.ช. หรือพนักงานเจ้าหน้าที่อาจประสาน ขอความร่วมมือไปยังสํานักงานตํารวจแห่งชาติหรือหน่วยงานในสังกัด หรือหน่วยงานอื่นของรัฐ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานของรัฐดังกล่าวตามที่เห็นสมควร เพื่อสนับสนุนหรือเข้าร่วมปฏิบัติการ ในเรื่องที่เกี่ยวกับการจับ การควบคุม การค้น การปล่อยชั่วคราว การเก็บรักษาหรือการจัดการ ของกลาง หรือการดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องด้วยก็ได้ ในการนี้ ให้สํานักงาน ป.ป.ช. เป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย
การประสานความร่วมมือ การสนับสนุนหรือการเข้าร่วมปฏิบัติการตามวรรคหนึ่ง เช่น การสนธิกําลัง บุคลากร สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ อาวุธยุทธภัณฑ์ ยานพาหนะ เครื่องมือ เครื่องใช้ การข่าว การแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือการดําเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้อง
ข้อ ๘ ในระหว่างการแสวงหาข้อเท็จจริง รวมทั้งรวบรวมพยานหลักฐานเบื้องต้น ของพนักงานสอบสวน ก่อนส่งคําร้องทุกข์หรือกล่าวโทษให้คณะกรรมการ ป.ป.ช. ตามมาตรา ๖๑ นั้น พนักงานสอบสวนยังคงมีหน้าที่และอํานาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาในการจับ ควบคุม ค้น และปล่อยชั่วคราว
คลิกอ่านเพิ่มเติม: ระเบียบป.ป.ช.ว่าด้วยการจับ ควบคุม ค้น และปล่อยชั่วคราว พ.ศ. 2565