โครงการวิจัยทูเดย์ โพลล์ (TODAY POLL) โดย ดร.ปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการโครงการวิจัยทูเดย์โพลล์ ดำเนินการวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง “คะแนนนิยมของประชาชนต่อแคนดิเดตผู้ว่า กทม. ปี 2565 ครั้งที่ 2” กรณีศึกษาประชาชนอายุ 18 ปี ขึ้นไป ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่ากรุงเทพมหานครในปี 2565
ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 1-30 เมษายน พ.ศ.2565 ลงพื้นที่เก็บข้อมูลในพื้นที่ 50 เขตทั่วกรุงเทพมหานคร ด้วยวิธีการลงพื้นที่สัมภาษณ์รายบุคคลกับกลุ่มตัวอย่างจำนวน 24,810 ตัวอย่าง ประกอบด้วย เพศชาย ร้อยละ 42.72 เพศหญิง ร้อยละ 53.26 และเพศทางเลือก ร้อยละ 4.02% ด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ ที่ค่าความเชื่อมั่นร้อยละ 97% และค่าความคลาดเคลื่อนบวกลบร้อยละ 3 มีรายละเอียด ดังนี้
ในการเก็บข้อมูลครั้งนี้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างจำนวนมากขึ้นกว่าครั้งก่อนตัดสินใจแล้วว่าจะเลือกผู้สมัครท่านใด หรือ ร้อยละ 82.85 มีเพียง ร้อยละ 17.15 ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร
โดยปัญหาวิกฤติของกรุงเทพมหานครที่อยากให้ผู้ว่าฯกทม. และ สก. คนใหม่แก้ปัญหามากที่สุด พบว่า อันดับแรก คือ ปัญหาเศรษฐกิจ การทำมาหากิน ปากท้อง ร้อยละ 41.01รองลงมา คือ ปัญหาจราจร ขนส่งมวลชน (12.58%) , สวัสดิการและคุณภาพชีวิต (12.12%) , ความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน (11.83%) และความสะอาด และสิ่งแวดล้อม (10.65%) เป็นต้น
เมื่อสอบถามว่าหากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งท่านจะเลือกใคร โดยรายชื่อผู้สมัครผู้ว่า กทม. ที่ประชาชนกลุ่มที่ตัดสินใจแล้วระบุ พบว่า
อันดับแรก จะเลือก นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ หมายเลข 8 ผู้สมัครอิสระ ร้อยละ 21.14
อันดับสอง ได้แก่ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ หมายเลข 4 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 19.18
อันดับสาม ได้แก่ พล.ต.อ. อัศวิน ขวัญเมือง ร้อยละ 15.28
อันดับสี่ ได้แก่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร หมายเลข 1 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 13.75
อันดับห้า ได้แก่ นายสกลธี ภัททิยกุล หมายเลข 3 ผู้สมัครอิสระ ร้อยละ 8.81
รองลงมา คือ น.ต.ศิธา ทิวารี หมายเลข 11 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 8.21 และ น.ส.รสนา โตสิตระกูล หมายเลข 7 ผู้สมัครอิสระ ร้อยละ 8.16 ส่วนร้อยละ 5.47 ระบุชื่อผู้สมัครท่านอื่น
จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า การตัดสินใจของชาว กทม. มีการเปลี่ยนแปลง และมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับการศึกษาครั้งก่อน โดยประชาชนให้ความสนใจถึงนโยบาย ความมุ่งมั่นตั้งใจในการทำงาน รวมถึงสิ่งที่จับต้องได้ มีความเป็นไปได้ และสามารถทำให้เกิดขึ้นจริง มากกว่าคำพูดขายฝันที่มักจะพูดกันตอนหาเสียง
ที่น่าสนใจ คือ กลุ่มตัวอย่างเกินครึ่ง หรือ ร้อยละ 55.52 ระบุว่า สมาชิกในบ้านจะเลือกผู้สมัครท่านเดียวกันตนเองเลือกแสดงให้เห็นว่า ยังมีจำนวนโหวตที่อาจจะพลิกผลโพลได้ ดังนั้น กลยุทธ์ของผู้สมัครผู้ว่า กทม. ที่อาจจะสามารถเปลี่ยนใจคนที่ตัดสินใจแล้ว
และโน้มน้าวคนที่กำลังพิจารณาอยู่นั้น คือ การแสดงความจริงใจที่จะเข้ามาทำงานเพื่อ กทม. รวมถึงทีมงานที่มีความน่าเชื่อถือ มีความสามารถ มีประสิทธิภาพ และโปร่งใส
โดยกลุ่มตัวอย่างระบุเพิ่มเติมว่า ปัญหาที่อยากให้เร่งแก้ไขที่สุดคือ ปัญหาเศรษฐกิจ ปากท้อง การทำมาหากิน และคุณภาพชีวิต เพราะ ตอนนี้ ได้รับผลกระทบโดยตรง และปัญหาก็หนักขึ้นเรื่อย ๆ จากปัญหาที่สะสมมาเป็นระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งค่าครองชีพที่สูงขึ้น แต่รายได้เท่าเดิมหรือลดลง
สุดท้ายนี้ จากใจ ชาว กทม. ที่อยากฝากถึงว่าที่ผู้ว่า กทม. คือ ควรทำงานโดยยึดหลัก “ประชาชนเป็นศูนย์กลาง” อย่าทำให้ชาว กทม. ผิดหวังจากการเลือกตั้งครั้งนี้ในประเทศประชาธิปไตยที่การเลือกตั้งห่างหายไปนานหลายปี โดยการเลือกตั้งครั้งนี้อาจจะเป็นตัวชี้วัดว่า “ผู้ใหญ่ทางการเมือง” จะสามารถเรียกความเชื่อมั่น และความศรัทธาของประชาชนทั้งประเทศกลั