วันที่ 15 พ.ค. 65 นายสกลธี ภัททิยกุล ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ว่ากทม. เบอร์ 3 ในนามอิสระ เปิดเผยในงานดีเบต “โค้งสุดท้าย...ศึกชิงผู้ว่าฯ กทม. 2565” จัดโดยเนชั่น กรุ๊ป ว่า 4 เรื่อง 4 ปีที่จะเห็นถ้าผู้ว่ากทม.ชื่อสกลธี คือ จะเห็นผู้ว่าที่หาเงินได้ ใช้เงินเป็น เพราะที่ผ่านรอการอุดหนุนอย่างเดียว เมื่อเราหาเงินได้ ใช้เงินเป็น กทม.จะเจริญกว่านี้แน่นอน
พร้อมกันนี้ยังยกตัวอย่าง วิธีการหาเงิน อาทิ การเก็บภาษีโรงแรม หรือ CITY Tax ปีละ 3 พันล้านบาท การจัดการขยะที่หากยังเก็บขยะเหมือนเดิมก็มีรายได้เท่าเดิม ดังนั้นต้องให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วม ซึ่งคาดว่าจะมีรายได้จากขยะเพิ่ม 5000 พันล้านบาท
โดยในส่วนของการเก็บภาษีโรงแรม หรือ CITY Tax นายสกลธี ตอบคำถามจากภาคการท่องเที่ยวที่ถามว่า “จะช่วยพัฒนาการท่องเที่ยวกทม.ให้มีความยั่งยืนอย่างไร”ว่า เป็นข้อได้เปรียบของเมืองไทยที่คนไทย คนกทม ให้การต้อนรับชาวต่างชาติอย่างดี เรามีขนบวัฒนธรรม สถานที่ที่น่าสนใจในกทม. มีชุมชนที่มีเสน่
ถ้าได้เป็นผู้ว่ากทม. จะมีการปรับสถานที่ท่องเทียว ซึ่งข้อมูลปี 59 กทม.มีนักท่องเที่ยว จำนวนกว่า 60 ล้านคน ซึ่งในต่างประเทศหลายประเทศมีการบวกภาษีโรงแรม หรือ City tax เอาไว้ แต่กทม.เราไม่เคยเก็บ โดยค่าเฉลี่ยของนักท่องเที่ยวมานอนกทม.ประมาณ 4.7 คืน/คน เราคิดภาษีแค่ 100 บาท จาก 30 ล้านคนเพราะหากมากันเป็นคู่ กทม.จะได้ปีละ 3 พันล้านบาท หรือหมื่นกว่าล้านในรอบ 4 ปี เพื่อนำไปทำถนน คลอง ท่อ ต่อยอดการท่องเที่ยว
นายสกลธี กล่าวด้วยว่า เมื่อได้เงินมาแล้ว การกระจายงบประมาณในแต่ละเขตต้องเท่าเทียม ทุกสวนสาธารณะจะได้รับการพัฒนาเท่าเทียมกัน เงินของกทม.ต้องลงได้ทุกจุดทุกตารางนิ้ว ทั้งพื้นที่ที่รัฐอและเอกชน พร้อมกับยืนยันในเรื่องการจะดูแลคนกทม.ตั้งแต่เกิดยันแก่ เรื่องการจราจร สิ่งแวดล้อม สวนสาธารณความปลอดภัย
ส่วนคำถามที่ถามถึงการดูแลการชุมนุมในกทม. นายสกลธี ยอมรับว่าตัวเองก็เคยร่วมชุมนุม เข้าใจ กทม.เป็นเพียงหน่วยสนับสนุนเท่านั้น แต่ถ้าการชุมนุมถูกที่ถูกทาง ผู้ว่ากทม.สกลธียินดีสนับสนุน
การเข้าสิทธิ์คนพิการ
นายสกลธี บอกถึงนโนบายดูแลผู้พิการว่า สิ่งที่สำคัญให้คนพิการ คือสิทธิ์ของการใช้ชีวิตอย่างมีศักดิ์ศรี เขาไม่ได้ต้องการความสงสารแต่เขาต้องการใช้ชีวิต อยู่ในสังคมได้ด้วยตนเองเหมือนคนปกติคนหนึ่ง ในยุคของผู้ว่าสกลธี อารยสถาปัตยกรรมทั้งหลายที่เป็นอุปสรรคของคนพิการต้องหมดไป สิ่งอำนวยความสะดวกการคมนาคมขนส่ง ฟุตบาทางเท้าต้องได้รับการแก้ไข
การให้ความรู้กับคนพิการ ในระดับประถมไม่มีปัญหา แต่มัธยมมีน้อยมากที่จะรับคนพิการ ซึ่งผู้ว่าสกลธีจะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลังจะทำให้ทุกคนเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียม รวมถึงเรื่องของการประกอบอาชีพ ซึ่งตามกฎหมาย หน่วยงานรัฐต้องจ้างงานคนพิการอย่างน้อย 1% ช่วงเป็นรองผู้ว่ามีการจ้างเพียง 300 กว่าตำแหน่ง ถ้าเป็นผู้ว่าจะจ้างให้ครบ 1% เป็นหน่วยงานแรกของไทย และการจ้างต้องไม่มีข้อจำกัด ต้องจ้างตามวุฒิ ให้เขาประกอบอาชีพอย่างมีศักดิ์ศรี
การแก้ปัญหาหาบเร่แผงลอย
นายสกลธี กล่าวว่า เรื่องสตรีทฟูดเป็นเรื่องสมดุล เพราะต้องเป็นผู้ว่ากทม.ของคนทุกคน การค้าขายในที่สาธารณะมีแน่นอน แต่ทางเท้าคงขายไม่ได้ทุกจุด จุดที่จะทำการค้าต้องมีทางเท้ากว้างขวาง ไม่กระทบสิทธิ์คนใช้ทาง นอกจากนี้ต้องหาพื้นที่ต้องทำให้ผู้ค้าอยู่ยั่งยืนทั้งระบบ
โดยในช่วงที่เป็นรองผู้ว่ากทม. ได้รับความร่วมมือจากธนาคารออมสิน มีเงินยละ 5 พันบาท ในการช่วยเหลือคนยากจน เมื่อมีเงินต้องมีความรู้ มีโรงเรียนฝึกอาชีพ สอนทำอาหาร หลายๆอย่าง เมื่อมีเงิน มีความรู้ต้องมีสถานที่ขาย ในที่ที่ให้ต้องเหมาะสมในหลายๆจุด นำที่ของหน่วยงานราชการ ใต้ทางด่วน การรถไฟ ธนารักษ์ การท่าเรือ ประสานเอามาช่วยได้ ทุกคนจะได้รับการดูแลเท่าเทียมกันหากได้เป็นผู้ว่า
ในตอนท้าย นายสกลธี ย้ำว่า ถ้าวันที่ 22 พ.ค. เลือกสกลธีเป็นผู้ว่าจะมีข้อดีดังนี้
“ถ้าถามว่าจะไหวหรอถ้าไม่มี สก. ผมบอกเลยว่า ถ้าเป็นเรื่องดีแม้จะไม่มีสก.หน้าไหนก็ขวางผู้ว่าสกลธีไม่ได้แน่นอน ผมเชื่อว่าทุกคนยังมีความลังเล เพราะครั้งนี้มีผู้สมัครเป็น10 คนที่มีความสามารถทัดเทียมกัน แต่ผมขอโอกาส เลือกสกลธี เลือกให้ขาดครับ”