วันที่ 23 มิ.ย. 65 ศ.ดร.สุชาติ ธาดาธำรงเวช อดีตรมว.คลัง และอดีตหัวหน้าพรรคเพื่อไทย แสดงความเห็นเกี่ยวกับแนวทางการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศไว้ว่า หากต้องการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทย ที่เจริญเติบโตต่ำมานาน จะต้องทำ 2 อย่างคือ
(ก) ทำให้มีผู้นำที่น่าเชื่อถือเช่นมั่น (ข) เพิ่มการส่งออกไปพร้อมกับการเพิ่มการลงทุนในประเทศ โดยการส่งออกสินค้าบริการ และการท่องเที่ยวเป็น "รายได้" การลงทุนของรัฐบาล, ของเอกชนและประชาชน เป็น"รายจ่าย" (ในสมการ GDP = C+I+G+E-M: มีตัว E การส่งออกเท่านั้นที่เป็นรายได้, ที่เหลือทุกตัวเป็นรายจ่าย)
2.การส่งออก (ยังไม่รวมท่องเที่ยว) มีขนาดประมาณ 10 ล้านล้านบาท หรือ 60% ของ GDP หากทำให้ความเติบโต (growth) ของการส่งออก เติบโตไม่ต่ำกว่าปีละ 15% ก็จะมีรายได้ (GDP) ส่วนเพิ่มอีกปีละ 1.5 ล้านล้านบาท รัฐจึงต้องมีมาตราการด้านนี้ โดยหลักๆ คือ กำหนดค่าเงินบาทให้แข่งขันได้
3.รายได้ที่เพิ่มขึ้นนี้ จะไปเพิ่มรายจ่ายในการลงทุนของเอกชนและประชาชน และการลงทุนของรัฐบาล (เพราะรัฐได้ภาษีเพิ่มขึ้น) เช่น รัฐอาจทำรัฐบาลดิจิทัล, ลงทุนระบบน้ำ, ลงทุนระบบขนส่ง, ปรับระบบการศึกษา, เปลี่ยนโครงสร้างระบบราชการ, ทำระบบเกษตรก้าวหน้า (โดยอาจกู้เงินเพิ่มบางส่วน)
4.แต่หากจะใช้นโยบายเพิ่มการลงทุนอย่างเดียว (โดยไม่กำหนดเรื่องการส่งออก) อันนี้ รัฐบาลต้องไปกู้เงินมา ต้องเป็นหนี้เพิ่มขึ้น และต้องระวัง หากรายได้ (GDP) เพิ่มไม่ทัน อาจทำให้หนี้ต่างประเทศต่อ GDP สูงเกินไป
นักลงทุนก็จะขาดความเชื่อมั่น ถอนเงินทุน เช่น กรณีลาว, ศรีลังกา, ปากีสถาน และแอฟริกาหลายประเทศ ที่กำลังมีปัญหาขาดแคลนเงินตราต่างประเทศ เงินท้องถิ่นลดค่าลงมากเกินไป และเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมาก
5. ทุกประเทศในภูมิภาคนี้ ที่เคยมีความเจริญเติบโตเกิน 10% เป็นเวลาหลายๆปี (ญี่ปุ่น, เกาหลี, จีน) ล้วนเติบโตด้วยการส่งออกสินค้าธรรมดาๆ ราคาถูกๆ ด้วยค่าเงินที่แข่งขัน มาก่อนทั้งสิ้น
ได้กำไรแล้วจึงไปลงทุนปรับปรุงเทคโนโลยี แล้วส่งสินค้า Brand name รัฐบาลของประเทศนั้นๆ ก็ไปปรับปรุงโครงสร้างบริการพื้นฐาน เช่น ทำรถไฟความเร็วสูง, ทำถนน, ทำท่าเรือ ไม่มีประเทศใด (แม้แต่จีน) จะเจริญเติบได้ด้วยผลิต แล้วกินใช้กันเอง..ดร.สุชาติ กล่าว